ทำไม สหรัฐอเมริกา จึงเป็นประเทศแห่ง อุตสาหกรรมไอที ? ตอนที่ 1 /โดย ลงทุนแมน
เราก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่เปลี่ยนโลกของการสื่อสารไปตลอดกาล
การเกิดขึ้นของคอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน อินเทอร์เน็ต ไปจนถึงโซเชียลมีเดีย
ล้วนค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของเราไปทีละน้อย
ท้ายที่สุด แทบทุกแง่มุมในชีวิตของเรากับโลกไอที ก็ล้วนข้องเกี่ยวจนราวกับเป็นโลกใบเดียวกัน
ซึ่งประเทศที่มีบทบาทในการพัฒนาเทคโนโลยีเหล่านี้มากที่สุด จะเป็นที่ไหนไม่ได้
นอกจาก “สหรัฐอเมริกา”
สหรัฐอเมริกาส่งออกบริการด้านไอทีคิดเป็นสัดส่วนถึง 1 ใน 4 ของโลก
บริษัทยักษ์ใหญ่ระดับ Top 5 ของโลก เป็นบริษัทไอทีสัญชาติอเมริกันถึง 4 แห่ง
และศูนย์รวมอุตสาหกรรมไอทีอย่าง “ซิลิคอนแวลลีย์”
คือยอดเขาแห่งเทคโนโลยี ที่คนทั้งโลกจับตามอง..
เส้นทางอุตสาหกรรมไอทีของสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างไร ?
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม สหรัฐอเมริกา จึงเป็นประเทศแห่ง อุตสาหกรรมไอที ?
“การเน้นการศึกษา” คือคุณสมบัติสำคัญที่สุดที่ผู้ตั้งรกรากในยุคอาณานิคมหล่อหลอมให้กับชาวอเมริกัน
นับตั้งแต่เข้ามาตั้งรกรากในศตวรรษที่ 17
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่สหรัฐอเมริกาจะมีมหาวิทยาลัยหลายแห่ง
ที่ถูกก่อตั้งขึ้นมาก่อนการตั้งประเทศด้วยซ้ำ
ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยเยล หรือมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
นอกจากการศึกษา ยังมีอีกหนึ่งสิ่งที่ถูกสั่งสมมาควบคู่กันก็คือ “การทำงานหนัก”
การมุ่งเน้นด้านการศึกษา ทำให้มีองค์ความรู้ที่พร้อมสำหรับการต่อยอด
ส่วนการทำงานหนัก เป็นการปลูกฝังว่า ใคร ๆ ก็สามารถประสบความสำเร็จ
และสั่งสมความมั่งคั่ง จนเปลี่ยนฐานะเป็นคนร่ำรวยได้ ถ้ามีความพยายามมากพอ..
คุณสมบัติทั้งหมดล้วนหล่อหลอมให้ผู้อพยพที่เข้ามายังดินแดนแห่งเสรีภาพนี้
มีความเชื่อมั่นในความพยายาม มองโลกในแง่ดี และมั่นใจในอนาคต
ซึ่งเป็นคุณสมบัติของชาวอเมริกันที่โดดเด่นเหนือใคร และยังคงมีอยู่มาจนถึงยุคปัจจุบัน
แม้สหรัฐอเมริกาจะตามหลังประเทศในยุโรปในการปฏิวัติอุตสาหกรรม
แต่ก็สามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำอุตสาหกรรมของโลกได้ภายในระยะเวลาไม่ถึง 100 ปี
การเป็นศูนย์รวมของผู้อพยพที่มีความคิดก้าวหน้า กล้าเสี่ยง
เปี่ยมไปด้วยความพยายามและความรู้ มีรัฐบาลที่สนับสนุนในเรื่องสิทธิบัตร
ทำให้เกิดสิ่งประดิษฐ์มากมายที่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต
และก้าวข้ามทุกขีดจำกัดของความเป็นมนุษย์
โดยเฉพาะโลกของการสื่อสาร..
นับตั้งแต่วันที่ Alexander Graham Bell เป็นผู้ประดิษฐ์โทรศัพท์
สิ่งที่เปลี่ยนสัญญาณเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า และเดินทางไปไกลตามสายไฟฟ้า
จนนำมาสู่การก่อตั้งบริษัท AT&T ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19
ด้วยความที่สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศกว้างใหญ่ การจะส่งเสียงจากฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก
ข้ามทวีปไปยังฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก จำเป็นจะต้องมีสิ่งที่ช่วยขยายสัญญาณไฟฟ้า
นำมาสู่การประดิษฐ์ “หลอดสุญญากาศ” หรือ หลอดอิเล็กตรอน
ซึ่งมีหลักการคือการให้กระแสไฟฟ้า ผ่านไส้หลอดที่เป็นโลหะ จนไส้หลอดร้อน และเกิดการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน ความสามารถในการควบคุมการไหลของอิเล็กตรอนนี้เอง
ทำให้สามารถขยายสัญญาณอ่อน ๆ ให้แรงขึ้น และส่งสัญญาณไปได้ไกลกว่าเดิม
การสื่อสารผ่านโทรศัพท์ทางไกลครั้งแรก เกิดขึ้นในปี 1915 ระหว่างนครนิวยอร์ก เมืองใหญ่ทางตะวันออก กับซานฟรานซิสโก เมืองท่าที่กำลังเติบโตทางฝั่งตะวันตก
หลอดสุญญากาศนี้เองที่เป็นรากฐานและจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรม “อิเล็กทรอนิกส์”
ที่ปฏิวัติโลกของอุปกรณ์ไฟฟ้า และเทคโนโลยีการสื่อสาร
องค์ความรู้ด้านอิเล็กทรอนิกส์จุดประกายให้เกิดการวิจัยและพัฒนา
ในมหาวิทยาลัยทั่วสหรัฐอเมริกา หนึ่งในนั้นคือมหาวิทยาลัยในเมืองพาโล อัลโต
บริเวณหุบเขาทางตอนใต้ของอ่าวซานฟรานซิสโก ที่ชื่อว่า “มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด”
มหาวิทยาลัยที่เพิ่งก่อตั้งในปี 1891 แห่งนี้ จะเป็นผู้พลิกโฉมบริเวณรอบอ่าวซานฟรานซิสโก
หรือเรียกว่า “เบย์แอเรีย” จากย่านที่เต็มไปด้วยสวนผักและสวนผลไม้
ให้กลายเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
โดยบุคลากรคนสำคัญที่มีส่วนผลักดันก็คือ ศาสตราจารย์ Frederick Terman
คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่ได้ชักชวนเพื่อนนักวิจัยด้านอิเล็กทรอนิกส์
ให้มาร่วมงานที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ และบุกเบิกการเรียนการสอนอย่างเข้มข้น
พร้อม ๆ กับการพัฒนากระบวนการผลิตนักศึกษาให้เป็นนักธุรกิจ ด้วยการจัดตั้ง
Business Incubator for SMEs ที่ช่วยบ่มเพาะให้ลูกศิษย์ก่อตั้งบริษัทอิเล็กทรอนิกส์
เป็นของตัวเอง โดยใช้บ้านพักของอาจารย์ที่ยังว่างอยู่เป็นที่จัดตั้งบริษัท
แล้วความพยายามก็ประสบผลสำเร็จในปี 1939
เมื่อศิษย์เก่าวิศวกรรมไฟฟ้าจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด 2 คน
คือ Bill Hewlett และ David Packard ได้นำหลอดสุญญากาศมาพัฒนาเป็น
Electronics Oscillator จนประสบความสำเร็จ และได้ก่อตั้งบริษัท Hewlett Packard หรือ HP ขึ้นที่โรงรถในเมืองพาโล อัลโต โดยลูกค้าคนสำคัญที่ซื้ออุปกรณ์นี้ไปทำภาพยนตร์ก็คือ Walt Disney Production
Hewlett Packard นับเป็นบริษัทอิเล็กทรอนิกส์แห่งแรก ๆ ที่ลงหลักปักฐานในย่านเบย์แอเรีย
หลังจากบริษัทได้ทำสัญญากับกองทัพสหรัฐฯ ดึงดูดเม็ดเงินจากการลงทุนให้สะพัดไปทั่วย่านแห่งนี้
หลอดสุญญากาศยังถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากมาย รวมไปถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรก ๆ แต่หลอดสุญญากาศก็มีข้อเสีย
การต้องให้ความร้อนแก่โลหะจึงจะมีการปล่อยอิเล็กตรอน
ทำให้หลอดต้องใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมหาศาล และมีราคาแพง
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง จึงมีการประดิษฐ์สิ่งที่จะมาทดแทนหลอดสุญญากาศ
เรียกว่า “ทรานซิสเตอร์”
ทรานซิสเตอร์ถูกประดิษฐ์ขึ้นในห้องทดลองของบริษัท AT&T ที่รัฐเวอร์จิเนีย ทางตะวันออกของสหรัฐอเมริกา มีคุณสมบัติเป็นสารกึ่งตัวนำ หรือ Semiconductor ทำให้ปล่อยสัญญาณไฟฟ้าที่อ่อนกว่า และควบคุมสัญญาณได้ดีกว่าหลอดสุญญากาศ
หนึ่งในผู้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลก็คือ William Shockley ได้ออกมาตั้งบริษัทของตัวเองเพื่อพัฒนาทรานซิสเตอร์ให้ดียิ่งขึ้น ใช้ชื่อว่า Shockley Semiconductor
และก็เป็น ศาสตราจารย์ Frederick Terman แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ที่ได้ชักชวนให้ Shockley มาเลือกทำเลที่ตั้งของบริษัทอยู่ในย่านเบย์แอเรีย ซึ่งก็คือเมืองเมาน์เทนวิว
ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด จึงทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างภาคเอกชนกับนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย
Shockley ได้ตัดสินใจจ้างวิศวกรปริญญาเอก 8 คน จากมหาวิทยาลัยชื่อดังฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกา ทั้งฮาร์วาร์ดและ MIT ให้มารวมตัวกันในบริษัทที่เมาน์เทนวิว
นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้เบย์แอเรียเริ่มมีนวัตกรรมที่ก้าวล้ำนำหน้าภูมิภาคอื่น ๆ ของสหรัฐอเมริกา
ในช่วงแรกสารกึ่งตัวนำที่นิยมใช้ก็คือธาตุเจอร์เมเนียม (Ge) ซึ่งหายาก และมีราคาสูง
แต่ต่อมาพบว่ายังมีธาตุอีกชนิดหนึ่งซึ่งสามารถนำมาทำสารกึ่งตัวนำได้ดี และพบได้ง่ายกว่าเจอร์เมเนียมมาก ธาตุนั้นก็คือ ซิลิคอน (Si)
การใช้ซิลิคอนมาทำสารกึ่งตัวนำนี้เอง เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้หุบเขาย่านเบย์แอเรีย
ถูกเรียกว่า “ซิลิคอนแวลลีย์” ในเวลาต่อมา..
หลังจากรวมตัวได้ไม่นาน วิศวกรทั้ง 8 คน ก็ตัดสินใจลาออกมาตั้งบริษัททรานซิสเตอร์ของตัวเองในปี 1957 ซึ่งต่อมาก็ได้บริษัทผลิตกล้องถ่ายรูป Sherman Fairchild เป็นผู้สนับสนุนทางการเงิน จึงใช้ชื่อบริษัทว่า Fairchild Semiconductor
การเข้ามาร่วมลงทุนของ Fairchild เป็นการปูทางให้นักลงทุนผู้มั่งคั่ง
เข้ามามีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดเป็นธุรกิจเงินร่วมลงทุน
หรือ Venture Capital (VC) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วนักลงทุนเหล่านี้
ก็มักจะนั่งในตำแหน่งคณะกรรมการบริหาร และคอยให้คำปรึกษาด้านต่าง ๆ แก่บริษัท
ถึงแม้จะดีกว่าหลอดสุญญากาศ แต่ทรานซิสเตอร์ยังจำเป็นต้องต่อกับส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น
ตัวต้านทาน และตัวเก็บประจุ
เหล่าวิศวกรใน Fairchild Semiconductor จึงเกิดความคิดที่จะวางทรานซิสเตอร์จำนวนมาก ๆ และส่วนประกอบอื่น ๆ ไว้ในแผ่นซิลิคอนเพียงตัวเดียว
ความคิดนี้บรรลุผลสำเร็จในปี 1959
และสิ่งนั้นถูกเรียกว่า “แผงวงจรรวม” (Integrated Circuit) หรือ “ชิป”
ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานร่วมกันระหว่างส่วนประกอบต่าง ๆ ภายในอุปกรณ์
ให้สามารถติดต่อและรับส่งข้อมูลถึงกัน และทำงานประสานกันได้อย่างลงตัว
ต่อมาวิศวกรที่เคยทำงานที่นี่ทั้ง 8 คนก็ได้ออกมาตั้งบริษัทของตัวเอง
ซึ่งความสามารถทางเทคโนโลยีจะทำให้เกิดธุรกิจย่อยขึ้นมาอีกกว่า 120 ธุรกิจ
2 ใน 8 คนก็คือ Robert Noyce และ Gordon Moore
ที่ได้ออกมาก่อตั้งบริษัทผลิตชิป ในปี 1968
โดยใช้ชื่อบริษัทว่า “Intel” โดยมีสำนักงานแห่งแรกในเมืองเมาน์เทนวิว
จำนวนแผงวงจรที่สามารถวางลงในชิปหนึ่งตัว เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ในทุก ๆ 1 ปีครึ่ง
ทำให้ประสิทธิภาพในการเก็บข้อมูลของชิปทุก ๆ 1 ปีครึ่ง ถูกพัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดด
ซึ่งมีมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดเป็นผู้ผลักดันงานวิจัยร่วมกับบริษัทเอกชน
ในที่สุดก็เกิดชิปที่มีขนาดเล็ก และมีแผงวงจรรวมมหาศาลที่เรียกว่า “ไมโครโพรเซสเซอร์”
การพัฒนาไมโครโพรเซสเซอร์จะเปิดทางให้การผลิตคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงจนคนทั่วไปสามารถมีไว้ครอบครอง และถูกเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
หรือ PC (Personal Computer)
หนึ่งในผู้พัฒนาคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเครื่องแรก ๆ
คือผู้ช่วย 2 คน ที่เคยทำงานให้กับบริษัท Hewlett Packard
ผู้ช่วย 2 คนนั้นมีชื่อว่า “Steve Wozniak” และ “Steve Jobs”..
ติดตามซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม สหรัฐอเมริกา จึงเป็นประเทศแห่ง อุตสาหกรรมไอที ? ตอนที่ 2 และอ่านบทความในซีรีส์นี้ย้อนหลังได้ที่ Blockdit - blockdit.com/download
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://atlas.cid.harvard.edu/explore?country=undefined&product=403&year=2018&productClass=HS&target=Product&partner=undefined&startYear=undefined
-https://www.forbes.com/sites/gilpress/2013/04/08/a-very-short-history-of-information-technology-it/?sh=82924872440b
-https://www.stanford.edu/about/history/
-https://www.capterra.com/history-of-software/
-https://www.internetsociety.org/wp-content/uploads/2017/09/ISOC-History-of-the-Internet_1997.pdf
-https://www.businessinsider.com/silicon-valley-history-technology-industry-animated-timeline-video-2017-5
-https://historycooperative.org/history-of-silicon-valley/
-https://endeavor.org.tr/wp-content/uploads/2016/01/How-SV-became-SV.pdf
「semiconductor industry pdf」的推薦目錄:
semiconductor industry pdf 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
รู้จัก SMIC หัวใจสำคัญ ของสงครามเทคโนโลยี จีน-สหรัฐฯ /โดย ลงทุนแมน
หลายปีที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกา และ จีน
ได้ต่อสู้กันอย่างดุเดือด เพื่อแย่งชิงความเป็นมหาอำนาจ
โดยเฉพาะในเรื่อง “เทคโนโลยี”
ซึ่งหนึ่งในวิธีที่รัฐบาลสหรัฐฯ ใช้เพื่อสกัดกั้นการเติบโตของเทคโนโลยีจีน
คือ แบนการใช้งานเทคโนโลยี หรือห้ามทำธุรกิจกับบริษัทจากจีน ไล่มาตั้งแต่ Huawei, Tencent และ ByteDance บริษัทแม่ของแอปวิดีโอสั้นยอดนิยม TikTok
และไม่นานมานี้ มีบริษัทจีนอีกรายหนึ่ง ชื่อว่า “SMIC”
ได้ถูกกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ประกาศขึ้นบัญชีดำ ไม่ให้ทำธุรกรรมกับบริษัทอเมริกันเช่นกัน
SMIC ประกอบธุรกิจอะไร
และมีความสำคัญต่อสงครามเทคโนโลยีขนาดไหน?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ย้อนกลับไปในปี 2019
บริษัทจีนรายแรกที่ถูกสหรัฐฯ ประกาศแบนไม่ให้บริษัทสัญชาติอเมริกันทำธุรกิจด้วย ก็คือ Huawei
ซึ่งเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และผู้พัฒนาอินเทอร์เน็ต 5G รายใหญ่ของโลก
โดยสหรัฐฯ ให้เหตุผลว่า Huawei อาจร่วมมือกับหน่วยงานความมั่นคงของจีน ใช้เทคโนโลยีล้วงเอาข้อมูลและทรัพย์สินทางปัญญาของชาวอเมริกัน
คำสั่งดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อ Huawei พอสมควร
เพราะการผลิตสมาร์ตโฟนและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้มีประสิทธิภาพสูงทัดเทียมกับคู่แข่งรายอื่น จำเป็นจะต้องใช้ “ชิป” ที่นำเข้าจากต่างประเทศ
เมื่อ Huawei ค้าขายกับบริษัทต่างประเทศได้ยากขึ้น จึงหันมาพึ่งผู้ผลิตชิปในจีนแทน
ซึ่งผู้เล่นรายใหญ่สุดของตลาดชิปในจีน คือ Semiconductor Manufacturing International Corporation หรือ “SMIC”
SMIC เป็นบริษัทเซมิคอนดักเตอร์สัญชาติจีน ที่รับจ้างผลิตแผงวงจร หรือ ชิป
ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 2000 หรือ 20 ปีที่แล้ว
ผลประกอบการล่าสุดของบริษัท
ปี 2017 รายได้ 93,000 ล้านบาท กำไร 5,400 ล้านบาท
ปี 2018 รายได้ 101,000 ล้านบาท กำไร 3,800 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 94,000 ล้านบาท กำไร 6,700 ล้านบาท
โดยที่ Huawei ถือเป็นลูกค้าหลักของบริษัท
ซึ่ง SMIC มีสัดส่วนยอดขายที่เป็นการขายชิปให้ Huawei สูงถึง 20% ของยอดขายทั้งหมดของบริษัท
แต่นอกจากเป็นซัปพลายเออร์ที่ผลิตชิปให้ Huawei แล้ว
SMIC ยังมีส่วนสำคัญต่ออุตสาหกรรมเทคโนโลยีจีนเป็นอย่างมาก
ก่อนหน้านี้ รัฐบาลจีนได้มีนโยบาย “Made in China 2025”
ซึ่งเป็นแผนที่จะใช้เทคโนโลยีขั้นสูง มาขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตในอนาคต
ซึ่งส่วนประกอบสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีล้ำสมัยประเภทต่างๆ คงหนีไม่พ้น ชิป
โดยรัฐบาลจีนตั้งเป้าหมายลดการนำเข้าชิปจากต่างประเทศ และเพิ่มสัดส่วนการผลิตชิปของบริษัทท้องถิ่น จากปัจจุบัน 16% เป็น 70% ของความต้องการตลาดในประเทศ ภายในปี 2025
ซึ่งนี่คงเป็นเหตุผลที่รัฐบาลสหรัฐฯ เริ่มเพ่งเล็ง SMIC เป็นพิเศษนั่นเอง..
โดยเมื่อเดือนธันวาคม 2020 ที่ผ่านมา
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ได้ประกาศขึ้นบัญชีดำ SMIC
ซึ่งการขึ้นบัญชีดำนี้ ส่งผลทำให้บริษัทที่ต้องการส่งออกชิ้นส่วนที่เป็นส่วนประกอบในการนำไปผลิตชิป ไปให้กับบริษัท SMIC จะต้องขอใบอนุญาตจากภาครัฐเสียก่อน
โดยสหรัฐฯ มีข้อกล่าวหาในลักษณะเดียวกันกับกรณี Huawei
คือ SMIC อาจนำชิ้นส่วนจากบริษัทอเมริกัน ไปผลิตอุปกรณ์เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานความมั่นคงของประเทศจีน
ซึ่งการถูกขึ้นบัญชีดำ ก็น่าจะทำให้ SMIC ผลิตชิปได้ยากลำบากขึ้น
และนอกจากนั้น มันอาจส่งผลให้การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตชิปของบริษัท รวมไปถึงประเทศจีน ชะลอความเร็วลงอีกด้วย
จริงๆ แล้ว ในปัจจุบัน เทคโนโลยีของ SMIC ก็ยังตามหลังบริษัทต่างชาติอยู่พอสมควร
โดย SMIC สามารถผลิตชิปได้ขนาดตั้งแต่ 14-350 นาโนเมตร
แต่ทว่า ชิปขนาดเล็ก 14-28 นาโนเมตร ซึ่งเป็นชิปขนาดเล็ก และทรงประสิทธิภาพ กลับมีสัดส่วนในการผลิตเพียงแค่ 14% เท่านั้น
ขณะที่บริษัทผู้นำในตลาดโลกอย่าง Taiwan Semiconductor Manufacturing หรือ TSMC จากไต้หวัน ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิปรายสำคัญให้กับ Apple และ Samsung สามารถผลิตชิปได้เล็กถึงขนาด 5 นาโนเมตร ซึ่งมีประสิทธิภาพ และประหยัดพลังงานกว่ามาก
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา รัฐบาลจีนก็ได้มีการสนับสนุนเงินทุนให้กับ SMIC เป็นมูลค่ากว่า 66,000 ล้านบาท รวมทั้งมีมาตรการยกเว้นภาษี เพื่อหวังให้อุตสาหกรรมผลิตชิปภายในประเทศ เติบโตแบบก้าวกระโดด จนเทียบเท่าบริษัทชั้นนำของโลกได้
อ่านถึงตรงนี้ เราคงพอเห็นแล้วว่า
เทคโนโลยีในอนาคต ที่ประเทศจีนวาดภาพเอาไว้
ไม่ว่าจะเป็น 5G, Internet of Things, AI หรือระบบอัตโนมัติ
ล้วนมีจุดเริ่มต้นมาจากธุรกิจผลิตชิป
จึงไม่น่าแปลกใจ ที่บริษัท SMIC จะตกเป็นเป้าหมายการโจมตี ในสงครามเทคโนโลยีครั้งนี้
เพราะสหรัฐฯ คงไม่ยอมปล่อยให้จีนพัฒนาเทคโนโลยีได้อย่างราบรื่น จนก้าวตามตัวเองทัน
ซึ่งเชื่อว่าต่อไป การแข่งขันระหว่างสองประเทศนี้ คงจะยิ่งดุเดือดเข้มข้นขึ้น
รวมทั้งต่างฝ่าย อาจมีนโยบายโจมตีขุมกำลังสำคัญทางเทคโนโลยีของฝั่งตรงข้าม อีกมากมาย
เพราะสุดยอดพลังอำนาจในโลกอนาคต
อาจไม่ใช่ อำนาจทางการทหาร หรืออำนาจทางการเมือง
แต่คือ อำนาจ ในเรื่องของเทคโนโลยี..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://edition.cnn.com/2020/12/22/tech/smic-us-sanctions-intl-hnk/index.html
-https://www.cnbc.com/2020/09/28/us-sanctions-against-chipmaker-smic-hit-china-tech-ambitions.html
-https://www.cnbc.com/2019/06/04/china-ramps-up-own-semiconductor-industry-amid-the-trade-war.html
-https://www.smics.com/uploads/Q3_2020%20Financials-1%20(1).pdf
-https://finance.yahoo.com/quote/0981.HK
-https://www.scmp.com/tech/big-tech/article/3084760/china-injects-us22-billion-local-chip-foundry-smic
semiconductor industry pdf 在 McKinsey on Semiconductors 的相關結果
While the semiconductor sector still lags far behind software, which was second only to biotechnology, it now outranks IT services, aerospace and defense, ... ... <看更多>
semiconductor industry pdf 在 Semiconductors and the Semiconductor Industry 的相關結果
pdf. Department of Energy, Semiconductor Supply Chain Report, February 24, 2022, at https://www.energy.gov/sites/default/files ... ... <看更多>
semiconductor industry pdf 在 2022 - Semiconductor Industry Association 的相關結果
This historic legislation provides critical semiconductor manufacturing incentives and research investments that will strengthen the U.S. economy, national ... ... <看更多>