#คัดค้านนำเข้าเศษพลาสติก !!!
แบบสั้นๆ
-จีนเลิกนำเข้าขยะ เลยตกมาถึงไทย ซึ่งนำเข้าจำนวนมากติดกันมา 2 ปีแล้ว หลักๆคือเพื่อเอาไปป้อนโรง Recycle และเป็นวัตถุดิบอุตสาหกรรม
- กระบวนการ Recycle ขยะในประเทศ เลยไม่กระเตื้อง เพราะ ขยะimport ราคาถูก และคุณภาพดีกว่า (เพราะเราไม่มีกระบวนการคัดแยกขยะที่ดี) มีผลต่อตลาดขายขยะในประเทศ
-11 ก.ย. จะมีการพิจารณา ให้มีการต่อให้นำเข้าเป็นปีที่ 3 เลยชวนมาค้านดีกว่า เพราะนั่นคือกระบวนการ recycle ขยะในประเทศจะไม่ได้รับการพัฒนาเลย แล้วเราก็ไปกลายเป็นจัดการขยะให้ประเทศอื่นแทน และการจัดการขยะในประเทศควรพัฒนาดีกว่านี้ได้แล้ว
ส่วนแบบยาว ข้อเสนอคืออะไร หน่วยงานไหนรับผิดชอบ เชิญอ่านแบบยาวววววว ข้างล่างเลยจ้า
----------------------
แบบยาวววววววววววว
แถลงการณ์
ข้อเสนอต่อมาตรการห้าม/ควบคุมการนำเข้าเศษพลาสติกและการพัฒนาระบบคัดแยกขยะในประเทศให้ได้คุณภาพดีขึ้น
.
สืบเนื่องจากที่สาธารณรัฐประชาชนจีนประสบปัญหาการลักลอบนำเข้าสารอันตรายที่ปะปนมากับขยะพลาสติกและขยะอื่นหลายชนิดที่นำมาเป็นวัตถุดิบเพื่อรีไซเคิลและผลิตสิ่งของในประเทศ จนก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง รัฐบาลจีนจึงออกประกาศห้ามนำเข้าขยะจากต่างประเทศเป็นการเร่งด่วน 24 รายการ (ต่อมาประกาศเพิ่มเติมรวมทั้งสิ้น 32 รายการ) มาตรการนี้ส่งผลให้ขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมหาศาลไหลทะลักไปสู่ประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย (Interpol, 2020 ) จากข้อมูลการนำเข้าเศษพลาสติกของประเทศไทย พบว่า ในปี 2561 มีการนำเข้าเศษพลาสติกสูงถึง 552,912 ตัน เทียบกับปี 2559 ก่อนประเทศจีนประกาศห้าม มีการนำเข้ามาเพียง 69,500 ตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 8 เท่า นอกจากนี้ ยังพบกรณีการลักลอบนำเข้าขยะพลาสติกปนเปื้อนและขยะอิเล็กทรอนิกส์สูงขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย ดังจะเห็นได้จากข่าวการตรวจจับการนำเข้าอย่างผิดกฎหมายที่ท่าเรือและโรงงานรีไซเคิลหลายแห่ง ปัญหาที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดกระแสการต่อต้านจากประชาชน และนำมาสู่การเร่งผลักดันให้มีมาตรการควบคุมการนำเข้าขยะอย่างจริงจังในเวลาต่อมา
.
คณะอนุกรรมการเพื่อบูรณาการการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และเศษพลาสติกที่นำเข้าจากต่างประเทศอย่างเป็นระบบ ซึ่งรัฐบาลแต่งตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว มีการประชุมเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2561 และได้มีมติให้ยกเลิกการนำเข้าเศษพลาสติกภายใน 2 ปี โดยช่วงผ่อนผันนี้ มีการกำหนดโควตาการนำเข้าคือ ปีที่ 1 นำเข้าได้ไม่เกิน 70,000 ตัน แบ่งเป็นพลาสติก PET 50,000 ตัน และพลาสติกชนิดอื่นรวม 20,000 ตัน และมีเงื่อนไขให้ใช้เศษพลาสติกภายในประเทศร่วมด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ในปีที่ 2 ให้นำเข้าได้ไม่เกิน 40,000 ตัน และให้นำเศษพลาสติกภายในประเทศมาใช้ร่วมด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 และปีที่ 3 ห้ามนำเข้าเศษพลาสติกจากต่างประเทศ โดยใบอนุญาตนำเข้าตามโควตาดังกล่าวจะสิ้นสุดทั้งหมดในวันที่ 30 กันยายน 2563
.
แต่ในช่วงที่ผ่านมา ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมได้พยายามขอนำเข้าเศษพลาสติกต่อไปโดยให้เหตุผลว่า วัตถุดิบที่มีภายในประเทศไม่เพียงพอ คุณภาพต่ำ และมีการปนเปื้อนสูง ซึ่งกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ก็สนับสนุนข้อนี้โดยแสดงเจตจำนงในที่ประชุมคณะอนุกรรมการบริหารจัดการขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์ ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2563 ว่า ผู้นำเข้าต้องการโควตานำเข้าพลาสติกอีก 6.5 แสนตันในปี 2564 อย่างไรก็ดี ที่ประชุมได้ให้ กรอ. ไปสำรวจความต้องการของโรงงานและนำเสนอข้อมูลว่าผู้ประกอบการต้องการใช้จริงเท่าไหร่ ประเภทใดบ้าง และจำเป็นต้องนำเข้าเท่าไหร่ เพื่อประกอบการพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไปที่จะมีขึ้นในวันที่ 11 กันยายนนี้
.
เครือข่ายภาคประชาสังคมมีความห่วงใยต่อประเด็นดังกล่าวที่อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อการแก้ปัญหาขยะภายในประเทศ จึงได้ออกแถลงการณ์เพื่อนำเสนอข้อคิดเห็นและข้อเรียกร้องต่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในฐานะประธานคณะอนุกรรมการบริหารจัดการขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์ ให้ “ยืนยันมติเดิม” ของคณะอนุกรรมการฯ เมื่อปี 2561 ที่ “กำหนดให้ประเทศไทยยกเลิกการนำเข้าขยะหรือเศษพลาสติกและซากอิเล็กทรอนิกส์ 100% ภายในปี 2563” ด้วยเหตุผลและข้อเสนอต่อไปนี้
.
1. รัฐบาลให้ระยะเวลาผู้ประกอบการนำเข้าเศษพลาสติกมาแล้ว 2 ปี และได้แจ้งเป้าหมายที่จะยกเลิกการนำเข้าในปีที่ 3 ล่วงหน้าแล้ว ดังนั้น ผู้นำเข้าควรมีการปรับตัวหรือปรับแผนธุรกิจเพื่อลดการนำเข้าและเพิ่มสัดส่วนการใช้เศษพลาสติกในประเทศให้มากขึ้น หากรัฐบาลเปลี่ยนเป้าหมายที่เคยประกาศไว้จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนและจะกระทบกับเป้าหมายตาม Roadmap การจัดการขยะพลาสติกที่ต้องการส่งเสริมให้ประชาชนคัดแยกขยะและนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ 100% ภายในปี 2570
.
2. คณะอนุกรรมการฯ ไม่ควรให้มีการสำรวจโดยอ้างอิงความต้องการของโรงงานอุตสาหกรรมและความจำเป็นที่จะต้องนำเข้าพลาสติกชนิดใดก็ตาม เพราะผู้ประกอบการสามารถแจ้งความต้องการในปริมาณสูงไว้ก่อนเพื่อจะนำเข้าได้มากและเพื่อลดต้นทุนของตัวเอง การสำรวจควรจะอิงปริมาณที่เคยนำเข้าในอดีต เช่น ข้อมูลสถิติการนำเข้าเศษพลาสติกรวมก่อนปี 2561 ย้อนหลัง 5 ปี คือระหว่าง 2556-2560 อยู่ที่ 74,421 ตันเท่านั้น และควรให้กรมศุลกากรกำหนดรหัสโดยเฉพาะสำหรับเศษพลาสติก PET ในกลุ่มพิกัด 391590 เพื่อการควบคุมอย่างเข้มงวดในการห้ามนำเข้าโดยเด็ดขาดเพราะวัตถุในประเทศไทยมีจำนวนมากจนล้นตลาด
.
3. แม้ในช่วงปีพ.ศ. 2561-2562 จะเป็นช่วงผ่อนผันที่กำหนดโควตาการนำเข้าไม่เกิน 70,000 ตันในปีที่ 1 (2561/2562) และให้นำเข้าได้ไม่เกิน 40,000 ตันในปีที่ 2 (2562/2563) แต่ข้อมูลสถิติการนำเข้าเศษพลาสติก พิกัด 3915 พบว่า ในปี 2562 มีการนำเข้าถึง 323,167 ตัน และในปี 2563 (มกราคม-กรกฎาคม) นำเข้า 96,724 ตัน แสดงให้เห็นถึงจุดอ่อนของมาตรการกำกับการนำเข้าเศษพลาสติกด้วยการกำหนดโควตาของภาครัฐ
.
4. หากมีการอนุญาตนำเข้า ให้อนุญาตเฉพาะการนำเข้า “เม็ดพลาสติกใหม่หรือเม็ดพลาสติกรีไซเคิล” เท่านั้น ซึ่งสามารถใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตได้เลย โดยห้ามการนำเข้าเศษพลาสติกชนิดอัดก้อนโดยเด็ดขาด นอกจากนี้ ผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตนำเข้าจะต้องมีใบรับรองคุณภาพมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 และจะต้องใช้พลาสติกคัดแยกภายในประเทศเป็นวัตถุดิบร่วมในกระบวนการรีไซเคิลด้วย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของกำลังการผลิตที่แท้จริง โดยผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตนำเข้าจะต้องมีหลักฐานในการแสดงเพื่อพิสูจน์ว่าข้อมูลเหล่านี้มีความสอดคล้องกันตามความเป็นจริง ดังนี้ (1) แสดงงบดุลการซื้อ, งบดุลการขาย, งบดุลการเสียภาษีสรรพากร ย้อนหลัง 3 ปีจากปี 2562 และ (2) แสดงตัวเลขการส่งออกและตัวเลขกำลังการผลิตที่แท้จริง ย้อนหลัง 3 ปีจากปี 2562
.
5. กรอ. และผู้นำเข้าไม่ควรอ้างว่า พลาสติกรีไซเคิลในประเทศมีราคาแพงกว่า เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านไปสู่การจัดการขยะให้ได้มาตรฐานมากขึ้น การรวบรวมขยะพลาสติกในประเทศจึงยังขาดระบบที่ดี ทำให้มีต้นทุนการรวบรวมสูง นอกจากนี้ ก็ไม่ควรนำคุณภาพของขยะคัดแยกไทยไปเปรียบเทียบกับเศษพลาสติกจากต่างประเทศ ซึ่งประเทศเหล่านั้นมีกฎหมายที่ใช้หลักการ Extended Producer Responsibility หรือ EPR ที่กำหนดให้ผู้ผลิตต้องรับผิดชอบจัดระบบเรียกคืนขยะบรรจุภัณฑ์ร่วมกับรัฐบาลท้องถิ่น ซึ่งมีการดำเนินการมานานกว่า 20 ปีแล้ว ยิ่งกว่านั้นประเทศผู้ส่งออกไม่ยอมลงทุนการรีไซเคิลพลาสติกในประเทศตัวเองเพราะค่าแรงงานและต้นทุนการดูแลสิ่งแวดล้อมสูง ปัจจุบันเมื่อจีนห้ามนำเข้าขยะพลาสติก ประเทศผู้ส่งออกจึงต้องหาแหล่งรองรับขยะแห่งใหม่ จึงมีการลดราคาขยะพลาสติกหรือแม้แต่ลักลอบนำเข้าไปกำจัดยังประเทศกำลังพัฒนา ทำให้ราคานำเข้าถูกกว่าราคาขยะในประเทศอย่างมาก ดังนั้น ข้ออ้างที่ว่าพลาสติกรีไซเคิลในประเทศมีราคาแพงกว่า จึงเป็นข้ออ้างเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศผู้ส่งและผู้นำเข้าไม่กี่ราย โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย
.
6. เนื่องจากขยะพลาสติกที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาถูกมากจนส่งผลกระทบต่อราคาพลาสติกรีไซเคิลในประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีราคาที่ต่ำอย่างมากแล้ว (ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2563 ราคารับซื้อ PET แบบไม่แกะฉลากอัดก้อน อยู่ที่ 8.48 บาทต่อกิโลกรัม เทียบกับเดือนเดียวกัน ปี 2561 อยู่ที่ 13.05 บาทต่อกิโลกรัม เป็นต้น) ปัญหาดังกล่าวยังส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพและกำลังใจในการทำงานของกลุ่ม “ซาเล้ง” ประมาณ 1.5 ล้านคน และร้านรับซื้อของเก่าทั้งประเทศที่จดทะเบียนกับกระทรวงมหาดไทยอีก 30,000 ร้านค้า ทั้งนี้ ปัญหาราคารับซื้อขยะคัดแยกในประเทศที่ตกต่ำอย่างมาก ทำให้ผู้ประกอบกิจการซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่าจำนวนมากต้องเลิกประกอบอาชีพนี้ ดังนั้นการเปิดให้นำเข้าเศษพลาสติกอีกหลายแสนตันในปีหน้าจะยิ่งเป็นการซ้ำเติมให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก
.
7. จากข้อมูลของสมาคมซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่า พบว่า ปริมาณพลาสติกเพื่อรีไซเคิลที่เก็บรวบรวมได้ในประเทศ รวมทั้งสิ้นประมาณ 1.6 ล้านตันต่อปี ปริมาณนี้จึงเพียงพอต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ในส่วนข้ออ้างเรื่องการปนเปื้อนหรือความไม่สะอาดนั้น ภาครัฐและภาคเอกชนควรร่วมกันเร่งหามาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวมากกว่าการเลี่ยงปัญหาโดยการนำเข้าจากต่างประเทศ การแก้ปัญหาด้วยการนำเข้ายังสวนทางกับนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ยั่งยืนของประเทศไทยเอง
.
8. ที่ประชุมภาคีสมาชิกอนุสัญญาบาเซลฯ เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2562 ได้มีมติกำหนดให้ขยะพลาสติกเป็นของเสียอันตรายที่ต้องมีการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนตามอนุสัญญาฉบับนี้ ดังนั้น รัฐบาลไทยควรเร่งเตรียมความพร้อมในการเพิ่มเติมรายการที่ต้องดำเนินการตามข้อกำหนดของอนุสัญญาบาเซลฯ และควรเร่งการให้สัตยาบันข้อแก้ไขอนุสัญญาบาเซลฯ (Ban Amendment) เพื่อเพิ่มมาตรการป้องกันการนำเข้าส่งออกของเสียอันตราย ซึ่งรวมถึงขยะพลาสติกอย่างเข้มงวดมากขึ้น
.
9. รัฐบาลควรมีมาตรการตรวจสอบ กำกับ ติดตาม และดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น (1) เมื่อวัตถุดิบเข้ามาในประเทศไทย จะต้องมีหน่วยงานที่รับผิดชอบทำการตรวจสอบทุกครั้งโดยทันทีที่วัตถุดิบมาถึงโรงงาน คือ อุตสาหกรรมจังหวัด, สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด, สาธารณสุขจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานในการอนุมัติรับทราบ, (2) กรณีวัตถุดิบนำเข้าสำแดงเท็จ และถูกจับได้ชิพปิ้งและผู้นำเข้า ถูกเพิกถอนใบอนุญาตทันที, (3) กรณีวัตถุดิบนำเข้าสำแดงเท็จและถูกจับได้ และสินค้าอยู่ภายในโรงงาน โรงงานอุตสาหกรรมนั้น ต้องถูกเพิกถอนใบอนุญาตเป็นเวลา 10 ปี, (4) กรณีประชาชนเกิดผลกระทบและเข้าร้องเรียนความเดือดร้อนกับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถสั่งระงับการดำเนินการหรือระงับการต่อใบอนุญาตโรงงานได้
.
ข้อเสนอต่อการเพิ่มอัตราการเก็บรวบรวมพลาสติกรีไซเคิลในประเทศ
1. กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร และ อปท.ในเมืองใหญ่ที่มีประชากรอยู่อย่างหนาแน่นและเป็นแหล่งกำเนิดขยะขนาดใหญ่ต้องร่วมมือกับภาคเอกชนในการจัดระบบเก็บขยะแบบแยกประเภท โดยเริ่มจากพื้นที่ที่มีแหล่งกำเนิดเริ่มแยกขยะอยู่แล้ว จัดระบบทั้ง drop-off และ pick-up หรือ curbside collection รวมทั้งการจัดกิจกรรมตลาดนัดขยะรีไซเคิลอย่างสม่ำเสมอ
.
2. กำหนดให้ อปท. ร่วมกับภาคเอกชนสนับสนุนให้ร้านรับซื้อของเก่ามีการจัดการสภาพร้านหรือแหล่งรับซื้อที่ดี ส่งเสริมให้เข้าระบบ application ที่เชื่อมต่อระหว่างแหล่งกำเนิดกับร้านรับซื้อของเก่าในพื้นที่ (pick-up service) อปท. มีมาตรการส่งเสริมให้ร้านรับซื้อของเก่าให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมจัดกิจกรรมตลาดนัดขยะรีไซเคิลและธนาคารขยะในพื้นที่ร่วมกับ อปท. โดยมีการจัดสรรรายได้ที่เหมาะสม
.
3. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมออกกฎหมายพื้นฐานเพื่อสร้างสังคมรีไซเคิลและระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน กำหนดบทบาทหน้าที่ของกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย เป็นต้น และนำหลักการความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility: EPR) มาใช้เพื่อกำหนดความรับผิดชอบของผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย อปท. และผู้บริโภคต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบเก็บรวบรวมขยะบรรจุภัณฑ์ กำหนดเป้าหมายการเก็บรวบรวมที่ชัดเจนในแต่ละปี เพื่อลดความจำเป็นที่ต้องนำเข้าเศษพลาสติกจากต่างประเทศและแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
.
รายชื่อเครือข่ายภาคประชาสังคมที่สนับสนุนความเห็นและข้อเรียกร้องในแถลงการณ์
1. มูลนิธิบูรณะนิเวศ
2. มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม
3. กรีนพีซ ประเทศไทย
4. สมาคมซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่า
5. แผนงานขับเคลื่อนการปฏิรูประบบการจัดการขยะเพื่อสุขภาวะและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน สสส.
6. สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
7. ดร.เพชร มโนปวิตร เจ้าของเพจ “Rereef”
8. เจ้าของเพจ “ลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป”
9. กลุ่มศึกษาการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC Watch)
10. กลุ่มคนรักษ์ต้นน้ำจังหวัดราชบุรี ต.น้ำพุ อ.เมือง จ.ราชบุรี
11. กลุ่มคนคลองบางป่า ต.บางป่า อ.เมือง จ.ราชบุรี
12. กลุ่มเรารักษ์ท่าถ่าน-บ้านซ่อง ต.ท่าถ่าน และ ต.บ้านซ่อง อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
13. กลุ่มเรารักษ์พนม อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
14. กลุ่มเรารักพุม่วง ตำบลหนองชุมพล อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี
15. เครือข่ายเพื่อนตะวันออก วาระเปลี่ยนตะวันออก
16. เครือข่ายปกป้องผืนป่าตะวันออก
17. เครือข่ายประชาชนศึกษาและติดตามปัญหาขยะ
18. เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) จังหวัดฉะเชิงเทรา /ชลบุรี / ระยอง / ปราจีนบุรี / สระแก้ว / นครนายก / ราชบุรี / เพชรบุรี
19. สมัชชาแปดริ้วเมืองยั่งยืน
20. องค์กรชุมชนตําบลหนองชุมพลเหนือ ต.หนองชุมพลเหนือ อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี
21. มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ (Foundation for AIDS Right)
22. เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก
23. มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน
24. สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
25. มูลนิธิเครือข่ายอนุรักษ์ผืนป่าตะวันตก
26. มูลนิธิสถาบันปฏิปัน
27. มูลนิธิสืบศักดิ์สิน แผ่นดินสี่แคว
28. สมาคมพัฒนาชุมชนยั่งยืน นครสวรรค์
29. ศ. (เกียรติคุณ) สุริชัย หวันแก้ว
30. กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ ว็อทช์)
31. มูลนิธิสุขภาพไทย
32. คณะทำงานติดตามความรับผิดชอบข้ามการลงทุนข้ามพรมแดน (ETOs Watch Coalition)
33. มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน
34. มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร
35. มูลนิธิโลกสีเขียว
36. มูลนิธิชีววิถี
37. แนวร่วมปฏิวัติขยะสุพรรณบุรี
38. Less Plastic Thailand
39. มูลนิธิเพื่อนหญิง
40. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
41. มูลนิธิสระแก้วสีเขียว
42. สำนักข่าวธรรมรัฐจังหวัดสระแก้ว
43. บงกช ภูษาธร ประชาชนกรุงเทพมหานคร
44. วริศรา เมฆานนท์ชัย ประชาชนกรุงเทพมหานคร
45. กลุ่มรวมพลังคนรักบ้านเกิดบางโทรัด
46. Bye Bye Plastic Bags (Thailand)
47. เถื่อน channel
48. เครือข่ายวงษ์พาณิชย์
49. บริษัท ธาอีส อีโคเลทเธอร์ จำกัด
50. กลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก
51. สภาองค์การลูกจ้างแรงงานสัมพัน์แห่งประเทศไทย
52. เครือข่ายอากาศสะอาด
53. วิชชุลดา ปัณฑรานุวงศ์ social activist artist จาก เพจ WISHULADA
54. กลุ่มรักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต.คลองกระแชง อ.เมือง จ.เพชรบุรี
55. กลุ่มคนรักบ้านเกิด ต.ท่าเสน อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี
56. กลุ่มสิ่งแวดล้อมภาคประชาชน ต.เกาะขนุน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
57. กลุ่มคนสองแคว ต.เกาะขนุน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
58. กลุ่มเพื่อนรักจักรยานบ้านพี่โสเพ็ชร์บุรี ต.บ้านหม้อ อ.เมือง จ.เพชรบุรี
59. ภาคีเครือข่ายผู้ติดตามสถานการณ์ปราสาทเขาพระวิหาร (องค์กรเพื่อผู้บริโภค)
60. SOS Earth
61. Refill Station
62. Little Big Green
63. ศูนย์เรียนรู้เฝ้าระวังและปกป้องสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ อ.เมือง จ.ระยอง
64. ดร. อาภา หวังเกียรติ มหาวิทยาลัยรังสิต
65. Greenery
.
#คัดค้านนำเข้าเศษพลาสติก
同時也有11部Youtube影片,追蹤數超過151萬的網紅Skyler TV,也在其Youtube影片中提到,เบื้องหลังคลิปโรงเรียนสอนเวทมนต์ ฝากกด Like ? กด Share ?♀ และ Subscribe ด้วยนะครับ ? ขอบคุณมากนะครับ ? ? ติดตามอัปเดตข้อมูลข่าวสารของสกายเลอร์ได้ที่...
「recycle ขยะ」的推薦目錄:
recycle ขยะ 在 Drama-addict Facebook 的最讚貼文
น่าสนใจคนับ เรื่องการเก็บขยะและแยกขยะที่ ตปท
โพสต์ก่อนหน้านี้เรื่องขยะ ได้รับความเห็นดีๆจากพวกเราจำนวนมาก ขอบพระคุณทุกๆท่านนะครับ ผมและทีมงานได้รวบรวมความเห็นเหล่านี้เพื่อนำไปสรุปเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป
มีเรื่องขยะมาเล่าต่ออีกครับ เมื่อสักสามเดือนก่อน ผมไปส่งลูกชายที่เมือง Seattle สหรัฐอเมริกา มีเวลาว่างเลยลองหาข้อมูลการจัดการขยะของเมืองที่นี่มาเล่าให้พวกเราฟังครับ
การทิ้งขยะที่นี่เขาให้แยกเป็นสามประเภท
1. Garbage หรือ ขยะที่ Recycle ไม่ได้ ย่อยสลายยาก เช่นโฟม, ขยะที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
2. Food&Compost ขยะเปียก เช่น เศษอาหาร, ขยะอินทรีย์, ของที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ
3. Recycle ของที่นำกลับไปใช้ใหม่ได้ เช่น กระดาษ, ขวดแก้ว, ขวดพลาสติก
โดยแยกถังขยะเป็นสามถัง คิดราคาตามขนาดถัง
ขยะประเภท 1 Garbage อัตราแพงที่สุด
ขยะประเภทที่ 2 Food&Compost อัตราถูกลงเหลือแค่ประมาณ 1/4
ขยะประเภทที่ 3 Recycles ไม่คิดค่าเก็บ
ขยะประเภท 1 และ 2 เก็บอาทิตย์ละครั้ง ขยะ Recycle เก็บทุกสองอาทิตย์ โดยแยกเป็นรถเก็บแต่ละประเภท ใช้คนขับคนเก็บคนเดียวกัน มีอุปกรณ์ยกถังเทอัตโนมัติ
แต่ละบ้านต้องทำการคัดแยกขยะโดยทางเมือง Seattle มีคู่มือคำอธิบายในการคัดแยกให้อย่างละเอียดและต้องเลือกขนาดถังให้เหมาะสมกับปริมาณขยะของแต่ละบ้าน ขยะเยอะก็ต้องจ่ายค่าเก็บขยะแพง โดยเฉพาะถ้ามีขยะประเภท 1 ที่ย่อยสลายยาก Recycle ไม่ได้เป็นจำนวนเยอะ ก็ต้องจ่ายค่าเก็บขยะแพงขึ้น แต่ถ้ามีขยะ Recycle เยอะ ก็ไม่เสียค่าใช้จ่าย เพราะเก็บให้ฟรี
การจัดการขยะแบบนี้ มีแนวคิดที่สำคัญสองอันคือ
1. ทุกคนมีส่วนร่วมกันในการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง ตระหนักว่าขยะทุกชิ้นที่เราสร้างขึ้นต้องมีที่ไป
2. ใช้ค่าเก็บขยะเป็นตัวช่วยทำให้พฤติกรรมการสร้างขยะของเราเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ลดปริมาณขยะที่ไม่จำเป็น
ขยะเป็นเรื่องใหญ่มากๆของเมืองในอนาคต มีตัวอย่างดีๆทั่วโลกที่เราสามารถเลือกแนวทางบางอย่างมาปรับใช้กับบ้านเรา การแก้ปัญหาขยะไม่ใช่คิดแต่จะปรับขึ้นค่าเก็บขยะโดยไม่ปรับปรุงแนวคิดและวิธีการให้ดีขึ้นครับ
recycle ขยะ 在 Drama-addict Facebook 的最讚貼文
ไม่มีแฮชแทก ชัชชาติไปไหน มีแต่ของลุงตู่กับธนาธร
แต่คิดว่าประชาชนควรรู้ว่าชัชชาติ ไปไหน ตามนี้คนับ
เมื่อวันจันทร์ผมไปเดินแถวเขตบางซื่อ แวะไปหลายที่ ตั้งแต่ แยกประชานุกูล ศูนย์สาธารณสุข 19 ชุมชนตึกแดง ตลาดเตาปูน ช่วงบ่ายๆแวะไปชุมชนวัดเซิงหวาย ซอยกรุงเทพฯ-นนทบุรี 21 ที่วิถีชีวิตของชุมชนเริ่มเปลี่ยนไปพร้อมๆกับการมาของรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่ปากซอย ขณะที่ผมกำลังคุยกับร้านขายอาหารตามสั่งปากซอย มีพี่ผู้หญิงเข็นรถเก็บขวด กระดาษผ่านไป พี่เขาดูไม่เหมือนคนเก็บของเก่าที่เราเคยเห็น ผมเลยเข้าไปคุยด้วย
พี่โปอายุ 61 เพิ่งออกจากโรงงานเย็บผ้าใกล้ๆเมื่อปีที่แล้ว สามีไม่สบาย เป็นถุงลมโป่งพอง พี่เขาต้องดูแลใกล้ชิดจึงทำงานประจำไม่ได้ ต้องออกไปเก็บขวด กระดาษ พลาสติก ทุกคืนตั้งแต่สามทุ่ม บางคืนเก็บถึงตีสี่ กว่าจะได้กลับบ้าน แล้วบ่ายๆเอาออกไปขายที่ร้านรับขายของเก่าที่ซอย 18 ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามห่างไปสักเกือบกิโลเมตร
ผมสนใจเรื่องขบวนการ recycle ขยะ เลยอาสาพี่โปเข็นรถไปที่ร้านรับซื้อของเก่าให้ ตอนแรกคิดว่าง่ายๆ แต่พอเข็นจริง ไม่ง่ายเพราะรถเยอะ วิ่งเร็ว บางจุดมีรถจอดริมถนน ขนาดผมยังรู้สึกว่ายาก และ อันตราย ไม่ต้องพูดถึงคนอายุ 61 และต้องเข็นหาของทั้งคืน
เข็นไปถึงร้านรับซื้อของเก่า คุยกับพี่เจ้าของร้าน บอกว่าราคารับซื้อของทุกอย่างลดลงมาก เป็นเพราะสินค้าใหม่ราคาถูกจากจีนมาตีตลาด ทำให้ราคารับซื้อวัสดุเพื่อไป recycle ถูกลงด้วย ชั่งน้ำหนักเสร็จ พี่โปได้ตังค์ 205 บาท พี่เขาพูดยิ้มๆว่า ได้ค่ากับข้าวแล้ว
ในอนาคต เราจะเจอคนแบบพี่โปมากขึ้น คนที่ทำงานหนักมาตลอดชีวิต แต่พอเกษียณแล้ว ไม่มีเงินเก็บและไม่มีรายได้มากพอที่จะดำรงชีวิตได้เหมือนตอนที่ยังมีรายได้ พี่โปยังโชคดีที่ยังสามารถพอหารายได้บ้างในตอนนี้ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะทำไปได้อีกนานแค่ไหน
เรื่องนี้อาจดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดาแต่จริงๆแล้วสะท้อนปัญหาหลายอย่างของกรุงเทพ เช่น การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การดูแลผู้ป่วยติดเตียง คุณภาพชีวิตในชุมชน ความเหลื่อมล้ำ การทำมาหากิน การเดินทาง การจัดการขยะ ทุกปัญหานับวันมีแต่จะรุนแรงขึ้น
กรุงเทพพร้อมรับมือกับปัญหาเหล่านี้แล้วหรือยัง?
recycle ขยะ 在 Skyler TV Youtube 的最佳解答
เบื้องหลังคลิปโรงเรียนสอนเวทมนต์
ฝากกด Like ? กด Share ?♀ และ Subscribe ด้วยนะครับ ?
ขอบคุณมากนะครับ ?
? ติดตามอัปเดตข้อมูลข่าวสารของสกายเลอร์ได้ที่ ?
➡️ YouTube : Skyler TV
➡️ Facebook : Skyler TV
ติดต่องานสปอร์นเซอร์ได้ที่ไลน์ jira_skyler_brianna หรืออีเมล skylertvth@gmail.com
ขอบคุณคะ
ครอบครัวสกายเลอร์ -
#SkylerTV #สกายเลอร์ #กิจกรรมครอบครัว
recycle ขยะ 在 Skyler TV Youtube 的最佳貼文
แยกขยะให้ถูกถัง
ฝากกด Like ? กด Share ?♀ และ Subscribe ด้วยนะครับ ?
ขอบคุณมากนะครับ ?
? ติดตามอัปเดตข้อมูลข่าวสารของสกายเลอร์ได้ที่ ?
➡️ YouTube : Skyler TV
➡️ Facebook : Skyler TV
ติดต่องานสปอร์นเซอร์ได้ที่ไลน์ jira_skyler_brianna หรืออีเมล skylertvth@gmail.com
ขอบคุณคะ
ครอบครัวสกายเลอร์ -
#SkylerTV #สกายเลอร์ #กิจกรรมครอบครัว
recycle ขยะ 在 luckytree Youtube 的最佳解答
#luckytree จะทำ #ที่ให้น้ำหมา อัตโนมัติ #จากของเก่าในบ้าน จะออกมาใช้งานได้มั้ย แล้วหมาจะใช้เป็นรึป่าว ไปดูกัน!
❤ อย่าลืม กด like แชร์ และ ติดตาม ให้เราด้วยนะคะ
❤ DON'T FORGET TO LIKE & SHARE & SUBSCRIBE
ขอบคุณทุกคนที่มาดูคลิปนะ // THANK YOU FOR WATCHING
ʕ•́ᴥ•̀ʔ พูดคุยกับพวกเราได้ที่
► facebook : https://www.facebook.com/luckytreeluckytree/
► Instagram : https://www.instagram.com/chengandrock/
ʕ•́ᴥ•̀ʔ ติดต่องาน (เฉพาะงานเท่านั้น)
► [email protected]