piggly wiggly 在 Yahoo!奇摩新聞 Facebook 的最佳解答
讓顧客走在貨架間,自由挑選想要的商品,在105年前是一個完全創新的點子,至今當地還有一座專屬紀念碑
#歷史上的今天 #美國 #小豬商店 #超市 #田納西州 #YNE
piggly wiggly 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
กรณีศึกษา การต่อสู้กับ Short Sell จนเจ้าของกิจการ ล้มละลายเอง /โดย ลงทุนแมน
หนึ่งในเหตุการณ์สุดคลาสสิกของประวัติการ Short Sell ในสหรัฐอเมริกา เกิดขึ้นเมื่อเกือบ 100 ปีที่แล้ว
โดยเป็นเรื่องราวของหุ้นของบริษัทที่ชื่อว่า Piggly Wiggly
จุดเริ่มต้นแห่งความคลาสสิก และจุดจบของเรื่องนี้ เป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Piggly Wiggly เป็นเครือข่ายร้านซูเปอร์มาร์เก็ตของสหรัฐอเมริกา
ซึ่งเปิดสาขาแรกในปี 1916 ที่รัฐเทนเนสซี และก่อตั้งโดยชายที่ชื่อว่า Clarence Saunders พ่อค้าขายของชำชาวอเมริกัน
ที่สหรัฐอเมริกาในสมัยก่อนนั้น เมื่อลูกค้าจะมาซื้อของในร้านขายของ ส่วนมากลูกค้าจะต้องจดรายการสินค้าที่ตนเองต้องการซื้อให้กับพนักงาน แล้วพนักงานจะเดินไปในร้านเพื่อเอาสินค้ามาให้
ซึ่งนี่คือสิ่งที่ทำให้คุณ Saunders มองเห็นโอกาส ว่าร้านค้าที่ทำแบบนี้ จะมีต้นทุนในการบริหารร้านที่สูง เพราะต้องเสียเงินจ้างพนักงานหลายคนถ้าลูกค้ามาใช้บริการมาก
ดังนั้น เมื่อเขามาเปิดร้าน Piggly Wiggly
เขาจึงเปลี่ยนวิธีการขายแบบดั้งเดิมที่ร้านทั่วไปทำกันมานาน โดยการอนุญาตให้ลูกค้าสามารถเดินเข้ามาช็อปปิงและหยิบสินค้าได้ด้วยตัวเองภายในร้าน
วิธีนี้ทำให้ร้านของเขามีต้นทุนในการดำเนินการต่ำกว่าร้านอื่น ๆ ขายสินค้าได้ถูกกว่าร้านอื่น ๆ จนทำให้มีลูกค้ามาใช้บริการกันมาก และส่งผลให้ร้านของเขามีกำไรมากขึ้นไปด้วย
ด้วยแนวทางนี้ ทำให้คุณ Saunders
เปรียบเสมือนผู้บุกเบิกธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ ในสหรัฐอเมริกาเลยทีเดียว
ภายในระยะเวลาแค่ 5 ปี คุณ Saunders มีร้าน Piggly Wiggly ทั้งร้านของบริษัทเองและร้านแฟรนไชส์มากกว่า 600 สาขา กระจายไปทั่ว 40 รัฐ ในสหรัฐอเมริกา
ความสำเร็จของ Piggly Wiggly ถือเป็น “ปรากฏการณ์”
จนทำให้ร้านขายของชำอื่น ๆ ได้เปลี่ยนมาใช้วิธีการเดียวกับ Piggly Wiggly
คือเป็น Self-serving Store หรือร้านค้าที่บริการตนเองตั้งแต่ในช่วงนั้นเป็นต้นมา
Piggly Wiggly ได้เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นนิวยอร์ก ในปี 1922
และหนึ่งในเรื่องราวสุดคลาสสิกในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกากำลังเปิดฉากขึ้น..
แม้ธุรกิจของบริษัทจะไปได้ดีก่อนหน้านี้
แต่ในช่วงเวลานั้น เป็นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่กำลังซื้อของหลายคนเริ่มมีปัญหา
และร้านแฟรนไชส์ของ Piggly Wiggly หลายแห่งก็เริ่มขายไม่ดี
พอเรื่องเป็นแบบนี้ จึงเกิดข่าวแพร่สะพัดว่า กำไรของบริษัทจะลดลง
บรรดานักลงทุนก็คิดว่า มันถึงเวลาแล้วที่คนถือหุ้นตัวนี้อยู่ จำเป็นจะต้องขายหุ้น Piggly Wiggly ออกไป ก่อนที่ผลประกอบการของบริษัทจะแย่ลงในอนาคต
ส่วนคนที่ไม่มีหุ้น วิธีการที่จะทำกำไรจากหุ้น Piggly Wiggly ที่คาดว่าราคาจะลดลงในอนาคต
ก็คือการยืมหุ้นของคนอื่นมาขายก่อน ในตอนที่ราคาหุ้นยังสูงอยู่ แล้วค่อยมาซื้อคืนทีหลังเมื่อราคาปรับตัวลดลงมา ซึ่งทั้งหมดที่ว่านี้คือ กระบวนการ Short Sell..
หุ้นของ Piggly Wiggly เริ่มโดน Short Sell หนักขึ้น และราคาหุ้นก็เริ่มปรับตัวลดลง
คุณ Saunders ในฐานะเจ้าของบริษัท เขาไม่พอใจอย่างมาก กับกลุ่มนักลงทุนที่ทำการ Short Sell หุ้นของบริษัทเขา
เขาจึงหาวิธีต่อสู้ ด้วยการไปกู้ยืมธนาคารเป็นจำนวนเงินกว่า 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 4,700 ล้านบาทในปัจจุบัน เมื่อปรับด้วยเงินเฟ้อ) แล้วเอาเงินไปซื้อหุ้น Piggly Wiggly เพื่อพยุงไม่ให้ราคาหุ้นของบริษัทลดลงไปมากกว่านี้
หุ้น Piggly Wiggly ถูกนักลงทุนทำ Short Sell จนราคาร่วงลงไปถึง 39 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น
คุณ Saunders ใช้เงินที่กู้ยืมมาไล่ซื้อหุ้น จนราคาพุ่งไปถึง 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น ในระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือนหลังจากที่หุ้นถูก Short Sell
เรื่องนี้ทำให้ในช่วงหนึ่ง เขาถือหุ้น Piggly Wiggly เป็นสัดส่วนสูงถึง 99% ของหุ้นทั้งหมดของบริษัท..
วิธีการที่คุณ Saunders ทำนี้ เรียกว่า “Short Squeeze”
ซึ่งเป็นการบีบนักลงทุน ให้เลิก Short Sell หุ้นของบริษัท
เพราะหากราคาพุ่งสูงขึ้นมาก ๆ จนถึงระดับที่การ Short Sell ไม่สามารถทนการขาดทุนได้ พวกเขาก็ต้องปิดสถานะ Short ด้วยการไล่ซื้อหุ้นคืน จนสุดท้ายจะยิ่งดันราคาหุ้นให้พุ่งสูงขึ้นไปอีก
นอกจากนี้ สิ่งที่คุณ Saunders ทำ ยังเปรียบเสมือนการ “Corner หุ้น” หรือก็คือ การไล่เก็บหุ้นจำนวนมากของบริษัทมาเป็นของตัวเอง จนมีอำนาจในการกำหนดราคาหุ้นได้
เมื่อหุ้นเกือบทั้งหมดอยู่ในมือของคุณ Saunders ก็ทำให้นักลงทุนที่ Short Sell ไปก่อนหน้า จำเป็นต้องมาขอซื้อหุ้นคืนจากเขา โดยที่เขาสามารถตั้งราคาขายเท่าไรก็ได้ตามใจชอบ เป็นเหมือนการเอาคืนนักลงทุนที่มา Short Sell บริษัทเขาในตอนแรก
ทำให้นักลงทุนที่ทำการ Short Sell ไปก่อนหน้านี้
ต้องไปประท้วงและเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่กำกับดูแลตลาด เข้ามาตรวจสอบเกี่ยวกับการกระทำของ คุณ Saunders ในครั้งนี้ จนนำไปสู่การสอบสวนพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น Piggly Wiggly ในที่สุด
ส่วนทางฝั่งของคุณ Saunders ในตอนนั้น
ด้วยมูลค่าหุ้นที่มีอยู่ในมือ ณ เวลาดังกล่าว ก็มากกว่าเงินกู้ยืมจากธนาคารแล้ว
แต่เขาก็รู้ดีว่าถ้าเขาขายหุ้นออกมา จะทำให้ราคาหุ้นปรับตัวลดลง
และที่สำคัญคือ จะทำให้นัก Short Sell สามารถกลับเข้ามาซื้อหุ้นได้ในราคาที่ถูกลงอีกด้วย
เขาจึงตัดสินใจบอกบริษัทนายหน้าค้าหลักทรัพย์ว่า
ถ้ามีนักลงทุนมาขอยืมหุ้นไป Short Sell อีก เขาก็จะเต็มใจให้ยืม
ซึ่งแน่นอนว่า มีนัก Short Sell หลายรายติดกับดักนี้
ด้วยการมายืมหุ้น Piggly Wiggly จากเขา
ซึ่งภายใต้กฎของตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กในเวลานั้น
นักลงทุนที่ยืมหุ้นคนอื่นมาทำการ Short Sell มีภาระผูกพันอย่างหนึ่งคือ
หากเจ้าของหุ้นเรียกคืนหุ้นที่ให้ยืมไป ก็จะต้องหาหุ้นมาคืนเจ้าของ ภายในเวลา 24 ชั่วโมง
ซึ่งคุณ Saunders ก็อาศัยกฎเกณฑ์ข้อนี้ ในการตลบหลังนัก Short Sell
ด้วยการขอให้คืนหุ้นกลับมา ภายในเวลาไม่นานหลังจากที่ให้ยืมไป
ทำให้นัก Short Sell จำนวนมาก ต้องรีบไล่ซื้อหุ้นมาคืนเขา
ทำให้ราคาหุ้น Piggly Wiggly ปรับตัวขึ้นอย่างมาก ภายในระยะเวลาไม่นาน จนสร้างความเสียหายอย่างหนักต่อนัก Short Sell ในตลาด
แต่ตอนจบของเรื่องนี้กลับกลายเป็นว่า
คุณ Saunders ก็ขาดทุนหนักในที่สุด
ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก จะระงับการซื้อขายหุ้น Piggly Wiggly
จนทำให้ราคาหุ้นค่อย ๆ ลดลงมาเรื่อย ๆ จนต่ำกว่าราคาที่จ่ายเงินเพื่อกว้านซื้อหุ้นมา
ต่อมาหุ้น Piggly Wiggly ก็ถูกห้ามซื้อขายชั่วคราวจริง
และสุดท้ายก็ต้องถูกห้ามซื้อขายถาวร
เนื่องจากตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กมองว่า การกระทำของคุณ Saunders เป็นการบิดเบือนราคาหุ้น
นอกจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กยังได้ขยายระยะเวลาให้นัก Short Sell สามารถส่งมอบหุ้นคืนให้แก่คุณ Saunders นานกว่าเดิม
จนนัก Short Sell สามารถซื้อหุ้นคืนจากนักลงทุนรายย่อยคนอื่น
แล้วมาส่งมอบแก่คุณ Saunders ได้ครบในที่สุด
แม้ว่าเรื่องนี้จะผ่านมาเกือบ 100 ปี
และวันนี้ Piggly Wiggly ก็ยังเป็นเครือข่ายร้านซูเปอร์มาร์เก็ต ในฐานะบริษัทลูกของ C&S Wholesale Grocers ธุรกิจค้าส่งขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกา
แต่สำหรับคุณ Saunders ในตอนนั้น
เขาก็ได้รับความเสียหายทางการเงินอย่างหนัก
เพราะเขาต้องหาเงินไปคืนธนาคารที่ไปกู้มาก่อนหน้านี้
ด้วยการขายทรัพย์สินส่วนตัวต่าง ๆ มาใช้หนี้
จนสุดท้าย เขากลายเป็นบุคคลล้มละลาย
และไม่เหลืออำนาจในการควบคุมบริษัท ที่เขาตั้งขึ้นมากับมือ..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://memphismuseums.wordpress.com/2014/08/05/clarence-saunders-corners-himself-in/
-https://slate.com/business/2021/02/piggly-wiggly-short-squeeze-gamestop-wall-street-nyse.htm
-https://en.wikipedia.org/wiki/Clarence_Saunders_(grocer)
-https://en.wikipedia.org/wiki/Piggly_Wiggly