ผู้วางรากฐาน สกุลเงินยูโร คือใคร ? /โดย ลงทุนแมน
ย้อนกลับไปเมื่อ 24 ปีก่อน ประเทศไทยได้เผชิญกับวิกฤติต้มยำกุ้ง
เนื่องจากการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ 3 นโยบายพร้อมกัน นั่นก็คือ
นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนคงที่
การอนุญาตให้มีเงินทุนเคลื่อนย้ายแบบเสรี
การกำหนดนโยบายการเงินอย่างอิสระ
การดำเนินนโยบายเหล่านี้ ถือเป็นการขัดกับทฤษฎี Impossible Trinity
หรือ สามเป็นไปไม่ได้ ที่ถูกคิดค้นขึ้นโดยนักเศรษฐศาสตร์ที่ชื่อว่า Robert Mundell
ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์คนนี้ก็ยังได้รับการขนานนามว่า บิดาแห่งสกุลเงิน “ยูโร”
แล้วบทบาทของ Mundell ต่อสกุลเงินยูโร เป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Robert Mundell เป็นนักเศรษฐศาสตร์ชาวแคนาดา เจ้าของรางวัลโนเบลในปี 1999
จากผลงาน ทฤษฎี “Optimal Currency Areas” ที่ตีพิมพ์ในปี 1961
และการบุกเบิกทฤษฎีนี้เอง ทำให้เขาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานสกุลเงินยูโร
แล้วการรวมกลุ่มกันของประเทศในยุโรป เริ่มต้นขึ้นเมื่อไร ?
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง ประเทศในยุโรปอยากที่จะปรองดองและลดความขัดแย้งในอดีต
จึงมองหาแนวทางที่เหมาะสม นั่นคือการรวมตัวและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ตั้งแต่ปี 1950 เป็นต้นมา ประเทศในยุโรปได้เริ่มให้มีการค้าและการเคลื่อนย้ายแรงงาน
ระหว่างกันอย่างเสรีและมีการใช้ระบบภาษีแบบเดียวกัน
จนในปี 1992 ก็ได้ตั้งกลุ่มอย่างเป็นทางการว่า สหภาพยุโรป หรือ EU และยังพัฒนาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอีกขั้น ซึ่งต่างจาก ASEAN ที่เป็นเพียงเขตการค้าเสรี
เพราะในปีเดียวกันนั้น สหภาพยุโรปได้เสนอให้ใช้สกุลเงินร่วมกัน
เพื่อลดต้นทุนและความเสี่ยงในด้านอัตราแลกเปลี่ยน
และนี่จึงเป็นจุดกำเนิดของสกุลเงิน “ยูโร”
โดยแนวคิดนี้ ก็มีรากฐานมาจากทฤษฎี Optimal Currency Areas (OCA)
ที่ถูกคิดค้นขึ้นโดย คุณ Robert Mundell
แล้ว OCA คืออะไร ?
OCA หรือ เขตเงินตราที่เหมาะสม อธิบายว่าการรวมกลุ่มของประเทศ ที่มีการใช้สกุลเงินเดียวกันจะเกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจสูงสุดได้เมื่อเหล่าประเทศสมาชิก ทำตามเงื่อนไข 4 ข้อ ซึ่งมีใจความสำคัญ ได้แก่
1. แรงงานและทรัพยากร ต้องเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี
2. การเคลื่อนย้ายของเงินทุน การตั้งราคาสินค้าและค่าจ้าง ต้องปรับตามกันได้ง่าย
3. ประเทศที่เศรษฐกิจดี มีเงินเยอะ ต้องช่วยเหลือประเทศที่เศรษฐกิจไม่ดีและขาดดุล
4. วัฏจักรทางธุรกิจของแต่ละประเทศ ถ้าเป็นขาขึ้นก็ควรขึ้นไปด้วยกัน ขาลงก็ลงด้วยกัน
ทั้งนี้ก็เพื่อปรับให้พื้นฐานทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ไม่แตกต่างกันมากจนเกินไป
และยังช่วยให้การกำหนดทิศทางของนโยบายการเงิน มีประสิทธิภาพมากขึ้น
เพราะเมื่อใช้สกุลเงินเดียวกันแล้ว สิ่งที่ตามมาก็คือ “การใช้นโยบายการเงินร่วมกัน”
ประเด็นนี้มีความสำคัญมาก เพราะมันหมายความว่าประเทศเหล่านั้นต้องยอมขาดอิสระในการกำหนดนโยบายการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนของตัวเอง
และเรื่องดังกล่าวเราก็ยังสามารถใช้ Impossible Trinity อธิบายได้ด้วย
เพราะเมื่อสหภาพยุโรปอนุญาตให้มีเงินทุนเคลื่อนย้ายแบบเสรี และยังใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ โดยมีการผูกสกุลเงินเดิมของแต่ละประเทศไว้กับยูโร ธนาคารกลางของประเทศนั้น ๆ จึงไม่สามารถกำหนดนโยบายการเงินเองได้ และต้องรับนโยบาย ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่อัตราดอกเบี้ย, เงินเฟ้อเป้าหมาย และอัตราแลกเปลี่ยน ที่เหมือนกัน ไม่ว่าสภาพเศรษฐกิจของตัวเองในตอนนั้นจะเป็นอย่างไร
ซึ่งผู้กำหนดนโยบายการเงินของสกุลเงินยูโร ก็คือ ธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB นั่นเอง
ในช่วงเตรียมแผนการเพื่อเริ่มใช้สกุลเงินเดียวกัน
ประเทศสมาชิกได้ร่วมกันร่างสนธิสัญญา “Maastricht” และร่วมลงนามในปี 1992
ซึ่งก็ได้มีรากฐานสำคัญมาจากทฤษฎีของคุณ Robert Mundell
โดยสนธิสัญญาดังกล่าว เป็นการกำหนดข้อปฏิบัติร่วมกันของทุกประเทศ
ที่จะเปลี่ยนมาใช้เงินยูโร หลัก ๆ มีอยู่ 4 ข้อ
1. ต้องมีวินัยทางการคลัง
โดยงบประมาณรายปีห้ามขาดดุลเกิน 3% ของ GDP
ในขณะที่หนี้ภาครัฐต้องไม่เกิน 60% ของ GDP
2. ต้องคุมเงินเฟ้อให้ไม่สูงจนเกินไป
โดยอัตราเงินเฟ้อต้องไม่สูงกว่า 1.5% เหนือค่าเฉลี่ยของ 3 ประเทศในกลุ่มที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำสุด
เช่น ค่าเฉลี่ยคือ 0.5% ดังนั้นอัตราเงินเฟ้อก็ต้องไม่สูงเกิน 2.0%
3. ต้องผ่านการทดสอบความมีเสถียรภาพของสกุลเงินเดิม ก่อนจะเริ่มเปลี่ยนมาใช้เงินยูโร
โดยต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ หรือผูกค่าเงินสกุลเดิมไว้กับค่าเงินยูโร
และควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนนั้น ให้ขยับขึ้นลงอยู่ภายในกรอบที่กำหนด อย่างน้อย 2 ปี
4. ต้องควบคุมดอกเบี้ยระยะยาวให้ไม่สูงจนเกินไป
โดยอัตราดอกเบี้ยระยะยาวต้องไม่เกิน 2% เหนือค่าเฉลี่ยของ 3 ประเทศในกลุ่มที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำสุด
หลังผ่านกระบวนการเตรียมความพร้อมมาแล้ว
ในที่สุด สกุลเงินยูโร ก็ได้เริ่มใช้จริง ในวันที่ 1 มกราคม ปี 1999
โดยมี 11 ประเทศแรกเริ่ม และต่อมาประเทศอื่น ๆ ก็ทยอยเข้าร่วม
จนในปัจจุบันมี 19 จาก 27 ประเทศในสหภาพยุโรป ที่ใช้เงินยูโร เรียกรวมว่ากลุ่ม Eurozone
ปัจจุบัน สหภาพยุโรปถือได้ว่าเป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุด และเชื่อมโยงกันมากที่สุดในโลก โดยมีขนาดเศรษฐกิจรวมกันกว่า 566 ล้านล้านบาท ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก
เป็นรองเพียงสหรัฐอเมริกาที่มีขนาดเศรษฐกิจ 660 ล้านล้านบาท
นอกจากนี้ ยูโรยังเป็นสกุลเงินที่ใช้กันมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในโลกเช่นกัน
คิดเป็น 36.6% ของมูลค่าธุรกรรมการค้าขายทั่วโลก
เป็นรองเพียงดอลลาร์สหรัฐ ที่คิดเป็น 38.3% เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม เหรียญย่อมมี 2 ด้านเสมอ
เพราะการรวมกลุ่มโดยใช้สกุลเงินเดียวกันแบบนี้ ก็มี “จุดอ่อน” ในหลายด้าน
หนึ่งในจุดอ่อนสำคัญ ก็คือการต้องใช้นโยบายการเงินร่วมกันนั่นเอง
ซึ่งปัญหานี้เกิดขึ้นมานานแล้ว และกลับมาเป็นที่ถกเถียงกันเป็นวงกว้างอีกครั้ง ในปี 2010
ที่ผลพวงจากวิกฤติซับไพรม์ในสหรัฐฯ ได้ลามมาเป็นวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรป
ต้นตอของปัญหาก็คือว่า ไม่ใช่ทุกประเทศสมาชิก ที่ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่มีร่วมกันได้
หลายประเทศ โดยเฉพาะกลุ่ม PIIGS ได้แก่ โปรตุเกส อิตาลี ไอร์แลนด์ กรีซ และสเปน
ขาดวินัยทางการคลัง รัฐบาลก่อหนี้จนเกินกว่าข้อกำหนดไปกว่าเท่าตัว
ลุกลามไปเป็นเงินเฟ้อที่สูงกว่าเกณฑ์ และทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว
ผลตอบแทนพันธบัตรฯ นี้ ก็คือต้นทุนการกู้ยืมของตัวรัฐบาลเอง
กลายเป็นว่า ภาระต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น เป็นผลมาจากการก่อหนี้เกินตัว นั่นเอง
หากเป็นกรณีทั่วไป เครื่องมือในการแก้ปัญหา ก็คือนโยบายการคลังและนโยบายการเงิน
โดยปัญหาการก่อหนี้เกินตัวนี้ หมายถึงว่านโยบายการคลังขาดประสิทธิภาพไปแล้ว
นโยบายการเงินจึงเข้ามามีบทบาทหลักในการแก้ปัญหา
ด้วยการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อและผลตอบแทนพันธบัตรฯ ที่กำลังพุ่งขึ้น
แต่ในกรณีของประเทศเหล่านี้ ไม่สามารถใช้นโยบายการเงินเป็นเครื่องมือช่วยแก้ปัญหาได้
และนโยบายการเงินของยูโร ก็ไม่ได้สอดคล้องกับประเทศที่มีปัญหาเสียทีเดียว
เพราะนโยบายถูกกำหนดโดยดูจากภาพรวมเศรษฐกิจของทั้งกลุ่ม
ซึ่งทั้งกลุ่ม ก็มีทั้งประเทศที่ปฏิบัติตามข้อกำหนดได้และไม่ได้
นโยบายการคลัง ก็ใช้การแทบไม่ได้ เพราะขาดดุลไปเยอะแล้ว
นโยบายการเงิน ก็กำหนดเองไม่ได้ เพราะใช้สกุลเงินร่วมกับคนอื่น
ทั้งหมดนี้ถือเป็นจุดอ่อนที่สำคัญ และแนวทางการแก้ไข ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันจนถึงทุกวันนี้..
มาถึงตรงนี้ เราก็น่าจะรู้จักกับต้นกำเนิด “สกุลเงินยูโร” ไม่มากก็น้อย
ซึ่งผู้อยู่เบื้องหลังก็ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่ชื่อว่า Robert Mundell
คนเดียวกับที่คิดค้นทฤษฎี Impossible Trinity
และอีกหลาย ๆ ผลงานที่ถือว่าเป็นรากฐานสำคัญสำหรับเศรษฐศาสตร์และการเงินระหว่างประเทศ
และสาเหตุที่ลงทุนแมนเขียนบทความนี้ขึ้นมาก็เพราะว่า
เมื่อวันที่ 4 เมษายนที่ผ่านมา หรือ 4 วันก่อน
คุณ Robert Mundell เพิ่งเสียชีวิตลงอย่างสงบในวัย 88 ปี
ถึงแม้ว่าตัวเขาจะจากไปแล้ว
แต่ผลงานทั้งหมดที่เขาได้สร้างไว้ ก็น่าจะอยู่กับโลกนี้ และคนรุ่นหลังไปอีกนาน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-04-05/robert-mundell-nobel-prize-winning-economist-dies-at-88
-https://transportgeography.org/contents/chapter7/globalization-international-trade/economic-integration-levels/
-https://www.investopedia.com/terms/o/optimal-currency-area.asp
-https://en.wikipedia.org/wiki/Robert_Mundell
-https://en.wikipedia.org/wiki/European_Union
-https://en.wikipedia.org/wiki/Maastricht_Treaty
-https://en.wikipedia.org/wiki/European_Exchange_Rate_Mechanism
-https://en.wikipedia.org/wiki/History_of_the_euro
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-02-18/yuan-s-popularity-for-cross-border-payments-hits-five-year-high
nobel prize wiki 在 公民聯盟 Facebook 的最讚貼文
FWD from Sin Yau Chan posted
*令人震驚* ⤵️
日本生理學或醫學教授tasuku honjo博士今天在媒體上表示冠狀病毒不是自然的. 如果它是自然的, 它不會像那樣影響整個世界. 因為, 視自然不同國家的溫度不同. 如果這是自然的, 它只會影響到與中國同樣的溫度的國家. 相反, 它傳播到像瑞士這樣的國家, 就像它傳播到沙漠地區一樣. 而如果它是自然的, 它本來會蔓延到寒冷的地方, 但會死在熱的地方. 我做了40年的動物和病毒研究. 這不是自然的. 它是製造的, 病毒完全是人工的. 我在中國武漢實驗室工作了4年. 我很瞭解這個實驗室的所有工作人員. 在corona事故後我都打電話給他們. 但是, 他們所有的手機都死了3個月了. 現在瞭解, 所有這些實驗室技術員都死了.
根據我迄今為止的所有知識和研究, 我可以以100 %的自信來說, corona是不自然的. 它不是來自蝙蝠. 中國成功了. 如果我今天所說的話現在或者甚至在我死後, 政府可以撤回我的諾貝爾獎. 但中國在撒謊, 這個真相有一天會向所有人透露.
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Tasuku_Honjo
請傳送到最大的數量, 以便罪人必須支付我們所有人身上的一切!!!!
Tasuku honjo -維基百科
Tasuku honjo (日本) (1942年一月27日-1)是日本醫生和免疫學家. 他分享了2018年諾貝爾醫學或生理學獎, 以識別程式設計細胞死亡蛋白質1 (pd-1).[2]他也因其分子ide而聞名.
en.wikipedia.org
· 查看原文 ·
為此翻譯評分
Tasuku Honjo (本庶 佑, Honjo Tasuku, born January 27, 1942)[1] is a Japanese physician-scientist and immunologist. He shared the 2018 Nobel Prize in Medicine or Physiology and is best known for his identification of programmed cell death protein 1 (PD-1).[2] He is also known for his molecular ide...EN.WIKIPEDIA.ORG
Tasuku Honjo - Wikipedia
Tasuku Honjo (本庶 佑, Honjo Tasuku, born January 27, 1942)[1] is a Japanese physician-scientist and immunologist. He shared the 2018 Nobel Prize in Medicine or Physiology and is best known for his identification of programmed cell death protein 1 (PD-1).[2] He is also known for his molecular ide...
Tasuku Honjo (本庶 佑, Honjo Tasuku, born January 27, 1942)[1] is a Japanese physician-scientist and immunologist. He shared the 2018 Nobel Prize in Medicine or Physiology and is best known for his identification of programmed cell death protein 1 (PD-1).[2] He is also known for his molecular ide...Tasuku Honjo (本庶 佑, Honjo Tasuku, born January 27, 1942)[1] is a Japanese physician-scientist and immunologist. He shared the 2018 Nobel Prize in Medicine or Physiology and is best known for his identification of programmed cell death protein 1 (PD-1).[2] He is also known for his molecular ide...📷EN.WIKIPEDIA.ORGTasuku Honjo - WikipediaTasuku Honjo (本庶 佑, Honjo Tasuku, born January 27, 1942)[1] is a Japanese physician-scientist and immunologist. He shared the 2018 Nobel Prize in Medicine or Physiology and is best known for his identification of programmed cell death protein 1 (PD-1).[2] He is also known for his molecular ide...Tasuku Honjo (本庶 佑, Honjo Tasuku, born January 27, 1942)[1] is a Japanese physician-scientist and immunologist. He shared the 2018 Nobel Prize in Medicine or Physiology and is best known for his identification of programmed cell death protein 1 (PD-1).[2] He is also known for his molecular ide...Like
nobel prize wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
กรณีศึกษา โมเดลรายได้ของ รางวัลโนเบล / โดย ลงทุนแมน
ถ้าพูดถึงเกียรติยศสูงสุดที่มนุษย์คนหนึ่งจะได้รับ
จากความสำเร็จของงานศึกษาวิจัยค้นคว้า
คงจะเป็นการได้รับ “รางวัลโนเบล”
แต่เคยสงสัยกันหรือไม่ว่า พิธีมอบรางวัลนี้มีที่มาอย่างไร
แล้วผู้รับรางวัล จะได้อะไรไปครอบครองบ้าง
แล้วมูลนิธิโนเบลมีรายได้มาจากอะไร
ถึงมีเงินเพียงพอให้ผู้ได้รับรางวัลมาอย่างยาวนานเป็น 100 ปี
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
┏━━━━━━━━━━━━┓
Blockdit โซเชียลมีเดีย รูปแบบใหม่
Blockdit.com/download
┗━━━━━━━━━━━━┛
ย้อนกลับไปเมื่อ 10 ธันวาคม 1896 หรือ 123 ปีที่แล้ว
นายอัลเฟรด โนเบล ชาวสวีเดน อายุ 63 ปี ได้เสียชีวิตลง
เขาเป็นวิศวกร ที่มีฐานะร่ำรวยจากการคิดค้นและจดสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์มากถึง 355 รายการ
โดยนวัตกรรมที่สร้างชื่อเสียงมากที่สุดคือ ระเบิดไดนาไมต์
แต่ก่อนหน้านั้นไม่นาน โนเบลได้อ่านหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ที่เรียกเขาว่า พ่อค้าแห่งความตาย
มันทำให้เขาเสียใจเป็นอย่างมาก และต้องการให้ผู้คนจดจำตนเองในทางที่ดีกว่านี้
จึงได้กลับไปแก้ไขพินัยกรรมใหม่ ระบุว่า
นายโนเบล ต้องการนำทรัพย์สินมูลค่า 31 ล้านโครนาสวีเดน ไปมอบเป็นรางวัลประจำปี แก่ผู้ที่สร้างประโยชน์ให้มนุษยชาติใน 5 ด้าน ได้แก่ ฟิสิกส์, เคมี, งานประพันธ์, การแพทย์ และสันติภาพ
หากคิดเป็นค่าเงินในปัจจุบัน เงินดังกล่าวจะมีมูลค่าเท่ากับ 1,702 ล้านโครนาสวีเดน หรือ 5,300 ล้านบาท
หลังจากที่เขาเสียชีวิตลง จึงได้มีการตั้งมูลนิธิโนเบลขึ้นมา
เพื่อบริหารจัดการทรัพย์สิน และดำเนินการจัดพิธีมอบรางวัลโนเบล
ทั้งนี้ในปี 1969 ธนาคารกลางสวีเดนได้ขอเพิ่มรางวัลด้านเศรษฐศาสตร์
ทำให้รางวัลโนเบลมีจำนวนทั้งหมด 6 สาขา
ในแต่ละปี คณะกรรมการจะคัดเลือกรายชื่อ จากการเสนอของบุคคลในวงการต่างๆ มาราว 300 คน
ซึ่งถูกกำหนดให้ปิดเป็นความลับไว้ 50 ปี ถึงเปิดเผยได้
จากนั้นก็จะทำการโหวตหาผู้ชนะในแต่ละสาขา
โดยต้องประกาศออกมาทันที และไม่สามารถขออุทธรณ์ผลได้
เมื่อทุกอย่างเสร็จสิ้น มูลนิธิจะจัดพิธีมอบรางวัลประจำปี ที่เมืองสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ในวันที่ 10 ธันวาคม หรือวันครบรอบการเสียชีวิตของ อัลเฟรด โนเบล
ยกเว้นรางวัลสาขาสันติภาพ จะไปจัดกันที่เมืองออสโล ประเทศนอร์เวย์
การมอบรางวัลโนเบล เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1901
โดยตลอด 118 ปีที่ผ่านมา มีผู้ได้รับทั้งหมด 950 คน จาก 527 รางวัล
ซึ่งแบ่งตามประเภทสาขาได้ดังต่อไปนี้
สาขาฟิสิกส์ มี 213 คน จาก 113 รางวัล
สาขาเคมี มี 184 คน จาก 111 รางวัล
สาขาการแพทย์ มี 219 คน จาก 110 รางวัล
สาขางานประพันธ์ มี 116 คน จาก 112 รางวัล
สาขาสันติภาพ มี 134 คน จาก 100 รางวัล
สาขาเศรษฐศาสตร์ มี 84 คน จาก 51 รางวัล
นั่นหมายความว่า แต่ละสาขาอาจมีผู้ได้รับรางวัลมากกว่าหนึ่งคน
หรือในบางปี อาจไม่มีคนที่เหมาะสมกับรางวัลเลยก็เป็นได้
สำหรับประเทศที่มีผู้ได้โนเบลสูงสุด 5 อันดับแรก คือ
สหรัฐอเมริกา 383 คน
สหราชอาณาจักร 132 คน
เยอรมนี 108 คน
ฝรั่งเศส 68 คน
สวีเดน 32 คน
ในขณะที่ประเทศไทย ยังไม่เคยมีผู้ได้รับรางวัลโนเบล
แล้วรางวัลที่พูดถึง มันคืออะไรบ้าง?
สิ่งที่มูลนิธิโนเบลมอบให้แก่ผู้ถูกเลือก จะประกอบไปด้วย 3 อย่าง
1. ใบประกาศนียบัตร
2. เหรียญทองคำ รูปอัลเฟรด โนเบล 18 กะรัต
3. เงินมูลค่า 28 ล้านบาท แบ่งตามจำนวนผู้ได้รับรางวัลในสาขา
ซึ่งต้นทุนของรางวัลทั้งหมด อยู่ที่ราว 160 ล้านบาท
หากนับรวมกับเงินที่ใช้ในการจัดพิธี และค่าดำเนินงานขององค์กร
จะทำให้มูลนิธิโนเบล มีค่าใช้จ่ายประจำปีอยู่ที่ 380 ล้านบาท
หลายคนอาจสงสัยว่า เงินมรดกของนายอัลเฟรด โนเบล ไม่น่าจะมีเพียงพอที่จะอยู่มาถึงร้อยกว่าปีได้
คำตอบที่จะไขข้อสงสัยของคำถามนี้ก็คือ “การลงทุน” นั่นเอง..
ทางมูลนิธินั้น ได้มีการนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ เพื่อสร้างรายได้ระยะยาวที่ยั่งยืน
โดยมีสัดส่วนการลงทุนคือ
50% ในตราสารทุน
20% ในตราสารหนี้
30% ในอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทุนประกันความเสี่ยง
นอกจากนี้ กำไรจากการลงทุน ยังได้รับการยกเว้นภาษีจากรัฐบาลสวีเดนและสหรัฐอเมริกาอีกด้วย
ซึ่งภาวะขาขึ้นของราคาสินทรัพย์ทั่วโลก ส่งผลให้มูลค่าทรัพย์สินปัจจุบันของมูลนิธิโนเบล เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 12,800 ล้านบาท ถ้าคิดว่าตอนนี้มีค่าใช้จ่าย 380 ล้านบาท ก็จะมีสัดส่วนเพียงแค่ 3% เท่านั้น ซึ่งเพียงพอต่อการมอบรางวัลไปอีกอย่างน้อย 33 ปี
และถ้ามูลนิธิสามารถทำให้ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมากกว่า 3% ต่อปีได้ ก็อาจหมายความว่า รางวัลโนเบลจะสามารถมีอยู่ได้ตลอดไป โดยไม่ต้องเพิ่มทุนเข้าไปแต่อย่างใด
แต่ในตลาดการเงินโลกที่บิดเบี้ยวในปัจจุบัน เรื่องนี้ก็ถือเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับผู้บริหารทรัพย์สินของมูลนิธิโนเบล ที่จะทำผลตอบแทนให้ชนะ 3%
ยกตัวอย่างง่ายๆ แม้แต่พันธบัตรสวีเดน ประเทศต้นกำเนิดรางวัลโนเบล ก็ยังให้ดอกเบี้ยที่ติดลบในตอนนี้..
┏━━━━━━━━━━━━┓
Blockdit โซเชียลมีเดีย รูปแบบใหม่
Blockdit.com/download
┗━━━━━━━━━━━━┛
References
-https://www.nobelprize.org/prizes/facts/nobel-prize-facts/
-https://en.m.wikipedia.org/wiki/Nobel_Prize
-https://en.wikipedia.org/wiki/Nobel_Foundation
-https://en.m.wikipedia.org/…/List_of_Nobel_laureates_by_cou…
-https://www.ozy.com/…/the-newspaper-error-that-spark…/40007/