พันธบัตรรัฐบาล สินทรัพย์ที่หลายคน คิดว่าไม่เสี่ยง /โดย ลงทุนแมน
พันธบัตรรัฐบาล เป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำมาก
เมื่อเทียบกับการลงทุนในหุ้นกู้เอกชน หรือการลงในตลาดหุ้น ที่มีความผันผวนสูงกว่า
ในบางครั้งหลายคนจึงมักเรียกพันธบัตรว่า
“สินทรัพย์ปลอดความเสี่ยง” เลยด้วยซ้ำ
แต่ความจริงแล้ว ในโลกนี้ไม่มีสินทรัพย์อะไรที่ไม่มีความเสี่ยง
ความเสี่ยงของพันธบัตรรัฐบาลที่น่ากังวลคืออะไร และในอดีตเคยมีรัฐบาลไหน ที่ออกพันธบัตรรัฐบาลแล้วไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือไม่ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
พันธบัตรรัฐบาล เป็นตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐบาล
ซึ่งเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร จะถูกนำไปใช้ตามแผนของรัฐบาล เช่น
- ชดเชยการขาดดุลงบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายของประเทศสูงกว่ารายได้ของประเทศ
- พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
- ปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ
นักลงทุนที่ซื้อพันธบัตรรัฐบาลมีฐานะเป็นเจ้าหนี้
ขณะที่รัฐบาลมีฐานะเป็นลูกหนี้ โดยผู้ที่ถือพันธบัตรรัฐบาล จะได้รับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ย และจะได้เงินต้นคืนเมื่อถือพันธบัตรครบกำหนดอายุ
ในทางทฤษฎี ผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตรนั้นจะสูงกว่าเงินฝากระยะสั้นในธนาคารพาณิชย์ เมื่อรวมกับการที่รัฐบาลหรือหน่วยงานภาครัฐในฐานะผู้ออกพันธบัตร ซึ่งมีความน่าเชื่อถือมากที่สุดในประเทศ
จึงทำให้พันธบัตรรัฐบาล ถือเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ทางการเงินที่ได้รับความนิยมในการลงทุนอย่างมาก
ข้อมูลจาก Securities Industry and Financial Markets Association ระบุว่า ปัจจุบันมูลค่าตลาดตราสารหนี้ทั่วโลก มีมูลค่ารวมกันกว่า 3,700 ล้านล้านบาท
โดยเป็นตราสารหนี้ที่มาจากภาครัฐและหน่วยงานของรัฐ (พันธบัตรรัฐบาลและพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ) ประมาณ 70% และภาคเอกชนประมาณ 30%
และมูลค่าตลาดตราสารหนี้ทั่วโลกนั้นใหญ่กว่ามูลค่า GDP ของทั้งโลกที่ประมาณ 2,900 ล้านล้านบาท เสียอีก
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าพันธบัตรรัฐบาลจะเหมาะกับคนที่ต้องการความแน่นอนในเรื่องผลตอบแทน และไม่ชอบความเสี่ยง แต่ในโลกของการลงทุนนั้น ไม่มีการลงทุนใดที่ปราศจากความเสี่ยงอย่างแท้จริง ซึ่งรวมถึงการลงทุนในพันธบัตรด้วยเช่นกัน
ความเสี่ยงที่ติดตัวกับพันธบัตรรัฐบาลเสมอมา ไม่ว่ายุคไหน สมัยไหน และเป็นความเสี่ยงที่เราไม่อาจมองข้ามได้นั่นคือ “ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย” (Interest Rate Risk) โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่อัตราดอกเบี้ยกำลังมีแนวโน้มเป็นขาขึ้นแบบในปัจจุบัน
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าวันนี้เรานำเงินไปซื้อพันธบัตรรัฐบาล ที่ให้ดอกเบี้ย 3% ต่อปี เป็นเวลา 5 ปี หมายความว่า เงินก้อนนี้จะถูกผูกอยู่ที่อัตราผลตอบแทน 3% ตลอดระยะเวลา 5 ปี
แต่ในระหว่างนี้ ถ้าอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินมีการปรับขึ้น นั่นหมายความว่า เรากำลังเสียโอกาสที่จะนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงขึ้น หรือแม้แต่ไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลชุดใหม่ ที่ได้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่า 3% ต่อปี
แม้บางคนอาจบอกว่า เราก็สามารถขายพันธบัตรรัฐบาลที่ถืออยู่ได้ในตลาดรองตราสารหนี้ เพื่อไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลชุดใหม่เพื่อรับอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าเดิม
แต่ถ้าทุกคนที่ถือตราสารรุ่นเก่านี้คิดเหมือน ๆ กัน แล้วเทขายพันธบัตรที่ได้ดอกเบี้ยน้อย เพื่อไปซื้อพันธบัตรรุ่นใหม่ที่ได้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่า สุดท้ายราคาตราสารหนี้นั้นจะลดลง จนสุทธิแล้ว เราอาจขาดทุนจากการขายพันธบัตรรัฐบาลได้
ความเสี่ยงอีกประเภทก็คือ ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ (Default Risk)
โดยทั่วไปแล้ว พันธบัตรรัฐบาลจะมีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ที่ต่ำมาก เพราะขึ้นชื่อว่าออกโดยรัฐบาล ก็คงการันตีว่าเป็นองค์กรที่มั่นคง ที่จะหาเงินมาคืนผู้ถือได้ค่อนข้างแน่นอนอยู่แล้ว
แต่ก็ไม่ได้เสมอไป..
ที่ผ่านมาก็เคยมีเหตุการณ์ที่รัฐบาลไม่สามารถชำระหนี้ผู้ถือพันธบัตรของรัฐบาลมาแล้ว
อย่างวิกฤติหนี้ที่อาร์เจนตินาที่ลงทุนแมนเคยเขียนถึง
จนทำให้รัฐบาลอาร์เจนตินาผิดนัดชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ที่ถือพันธบัตรรัฐบาล
รู้ไหมว่า นับตั้งแต่ที่ประเทศได้รับเอกราชจากสเปนในปี 1816 อาร์เจนตินาเคยผิดนัดชำระหนี้ต่างประเทศมาแล้วถึง 9 ครั้ง
ทั้งที่ครั้งหนึ่งในอดีต กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ถึงขนาดเคยยกให้ อาร์เจนตินาเป็นตัวอย่างของประเทศที่เป็นลูกหนี้ที่ดีและเป็นแบบอย่างที่ประเทศอื่น ๆ ควรดำเนินนโยบายตาม
แต่ปัญหาที่สะสมมานานของอาร์เจนตินา การคอร์รัปชันของนักการเมือง การใช้นโยบายประชานิยม การขาดดุลงบประมาณที่เรื้อรังและยาวนาน
ทำให้รัฐบาลจึงเลือกวิธีพิมพ์เงินมาแก้ปัญหา จนนำไปสู่ปัญหาเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น ทำให้ค่าเงินเปโซอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งวงจรเหล่านี้จึงทำให้อาร์เจนตินาประสบปัญหาทางเศรษฐกิจและไม่สามารถชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ได้
เวเนซุเอลา ก็เป็นอีกประเทศ ที่สร้างความช้ำใจ
ให้กับนักลงทุนที่เข้ามาซื้อพันธบัตรรัฐบาลของประเทศ
ในปี 2017 รัฐบาลเวเนซุเอลาและบริษัทน้ำมันแห่งชาติของประเทศที่ชื่อว่า PDVSA ผิดนัดชำระหนี้ ที่มีมูลค่ารวมกันกว่า 2.1 ล้านล้านบาท
ปัญหาใหญ่ของเวเนซุเอลาคือ
การใช้งบประมาณขาดดุลผ่านการกู้ยืมจำนวนมหาศาล ทั้งยังนำรายได้จากการขายน้ำมัน เพื่อมาใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยผ่านการใช้นโยบายประชานิยมหลายอย่าง
ทั้งการอุดหนุนราคาพลังงาน การแจกเงินอย่างไร้ประสิทธิภาพ เพื่อหวังคะแนนเสียงของประชาชน รวมไปถึงการยึดธุรกิจพลังงานของเอกชนกลับมาเป็นของรัฐ แต่กลับไม่ได้พัฒนาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพ
จนเมื่อถึงคราวที่ราคาน้ำมันโลกลดต่ำลง
ก็ทำให้รายได้จากการส่งออกน้ำมัน ซึ่งมีสัดส่วนกว่า 90% ของรายได้การส่งออกทั้งหมดของเวเนซุเอลาลดลงไปมาก ทำให้แหล่งรายได้หลักของรัฐบาลหายไป จนก่อให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่ถือพันธบัตรในที่สุด
อ่านมาถึงตรงนี้ เราน่าจะสรุปได้ว่า
ในโลกนี้ไม่มีการลงทุนไหนที่ปราศจากความเสี่ยงอย่างแท้จริง
แม้แต่การลงทุนในสินทรัพย์ที่ดูจะปลอดภัยที่สุดในโลกแล้ว อย่างพันธบัตรรัฐบาล
มันก็อาจมีความเสี่ยงเมื่ออัตราดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น หรือรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ได้ เช่นกัน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.thaibma.or.th/pdf/publication/ibook/Manual/manual.pdf
-https://www.bot.or.th/Thai/DebtSecurities/IntroToGovtDebtSecurities/Pages/Type.aspx
-https://www.icmagroup.org/Regulatory-Policy-and-Market-Practice/Secondary-Markets/bond-market-size/
-https://www.thaibma.or.th/EN/Investors/Individual/Blog/2017/25052017.aspx
-https://www.investopedia.com/terms/g/government-bond.asp
-https://fas.org/sgp/crs/row/IF10991.pdf
-https://www.statista.com/statistics/316916/argentinas-budget-balance-in-relation-to-gdp/
-https://www.dlacalle.com/en/five-reasons-for-the-weakness-of-the-argentine-economy/
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-03-24/argentina-can-t-pay-45-billion-imf-loan-vice-president-says
-https://www.batimes.com.ar/news/latin-america/trust-for-us-bondholders-sues-venezuela-over-defaulted-debt.phtml
-https://www.statista.com/statistics/372075/national-debt-of-venezuela-in-relation-to-gross-domestic-product-gdp/
-https://tradingeconomics.com/country-list/government-debt-to-gdp
-https://www.worldstopexports.com/venezuelas-top-10-exports/
-https://energypolicy.columbia.edu/sites/default/files/Impact%20of%20the%20Decline%20in%20Oil%20Prices%20on%20Venezuela_September%202015.pdf
同時也有2部Youtube影片,追蹤數超過13萬的網紅Boiz Dorm男生宿舍,也在其Youtube影片中提到,原本是三天兩夜的滑雪行程,結果有三分之一的時間在都在超市買東西… 下載99 Ranch Market的APP: https://www.99ranch.com/news-events/99-ranch-market-official-app 主題曲:I Hold On by Chris Cora...
market america news 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
วิวัฒนาการ NBA จากลีกบาสเกตบอลไม่มีคนดู สู่ธุรกิจ 2 ล้านล้าน /โดย ลงทุนแมน
หากพูดถึงลีกการแข่งขันบาสเกตบอลที่ใหญ่ที่สุดในโลก
คงหนีไม่พ้น “NBA” ลีกบาสเกตบอลของสหรัฐอเมริกา
ที่ก่อตั้งมายาวนานกว่า 72 ปี
รู้หรือไม่ว่าฤดูกาลแข่งขันปี 2019/2020 NBA มีรายได้ 2.4 แสนล้านบาท
เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว เมื่อเทียบกับเมื่อ 9 ปีที่แล้ว แสดงให้เห็นถึงการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ Forbes ยังได้ประเมินว่าทีมบาสเกตบอล
ที่อยู่ในการแข่งขัน NBA ทั้ง 30 ทีม มีมูลค่าตลาดรวมกันเกือบ 2 ล้านล้านบาท
แล้ว NBA มีกลยุทธ์อย่างไร
และปัจจัยใดที่ทำให้ความนิยมของ NBA
เพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
NBA ย่อมาจาก National Basketball Association ก่อตั้งขึ้นในปี 1949
โดยเป็นการรวมตัวกัน ระหว่างลีกบาสเกตบอลของสหรัฐอเมริกา 2 ลีก
คือ Basketball Association of America (BAA) ก่อตั้งในปี 1946
และ National Basketball League (NBL) ก่อตั้งในปี 1937
แม้ในปัจจุบัน NBA จะมีทีมบาสเกตบอลถึง 30 ทีม
แต่ในช่วงเริ่มแรกนั้น NBA มีทีมบาสเกตบอลทั้งหมดเพียง 17 ทีม
แถมในช่วงเริ่มต้น NBA ก็ไม่ได้รับความนิยมมากนัก
เพราะในปี 1955 มีทีมบาสเกตบอลแข่งขันกันเพียง 8 ทีมเท่านั้น
แต่สิ่งที่ทำให้ NBA กลับมาเป็นที่นิยม และกลับมาเติบโตได้
มาจากการปรับโครงสร้างการแข่งขันขึ้นใหม่
เริ่มต้นจากการเปลี่ยนแปลงกฎกติกาการแข่งขัน
ยกตัวอย่างเช่น การเพิ่มเขตทำคะแนน 3 แต้ม
จากเดิมที่มีการทำคะแนนได้เพียง 2 แต้มต่อการชูตลง 1 ลูกเท่านั้น
ซึ่งลูก 3 แต้มนี้ทำให้เกิดความหลากหลายและรูปแบบการเล่นใหม่เข้ามาในเกม
หรืออีกกฎที่เพิ่มเข้ามาคือ การเพิ่มระบบ “Shot Clock”
ที่กำหนดเวลาในการครอบครองบอลของแต่ละฝั่ง
ทำให้แต่ละทีมต้องรีบทำคะแนนภายในเวลาที่กำหนด
การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ทำให้เกมการแข่งขันมีความรวดเร็ว
มีรูปแบบที่กระตุ้นให้นักกีฬาต้องแข่งกันทำแต้มตลอดเวลา
ส่งผลให้เกมดูสนุกและตื่นเต้นมากขึ้น และผู้ชมก็เริ่มให้ความสนใจเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
นอกจากนี้ อีกหนึ่งในโครงสร้างของ NBA ที่แตกต่างจากลีกกีฬาอื่น
คือรูปแบบโมเดลธุรกิจของ NBA ที่สร้างความมั่นคงให้กับทุกทีมที่มีส่วนร่วม
และลดความได้เปรียบหรือเสียเปรียบระหว่างกัน
เช่น การเลือกตัวนักกีฬาหน้าใหม่เข้าทีมหรือการดราฟต์
ด้วยระบบที่เน้นให้โอกาสกับทีมที่ทำผลงานได้ไม่ดี
มีโอกาสในการคว้าตัวนักกีฬาอันดับต้น ๆ ในระบบดราฟต์ มากกว่าทีมที่มีผลงานดี
โดยปัจจุบัน 3 ทีมที่มีผลงานแย่สุด จะมีโอกาสเท่ากันที่ 14% ที่จะคว้าสิทธิ์ดราฟต์อันดับ 1
ซึ่งสิทธิ์ดราฟต์ที่แต่ละทีมได้มา สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการเจรจาแลกเปลี่ยน
ตัวนักกีฬาระหว่างทีมได้อีกด้วย
นอกจากการรักษาสมดุลระหว่างผู้เล่นในแต่ละทีม
NBA ก็ยังได้กำหนดเพดานค่าจ้างนักกีฬาของแต่ละทีม
โดยมีระบบการคำนวณมาจากรายได้รวมของลีก
ทำให้แต่ละทีมมีเพดานสำหรับการจ่ายค่าจ้างเท่ากัน และหากทีมใดจ้างนักกีฬาเกินเพดานที่กำหนด
จะต้องเสียภาษีเพดานค่าจ้างในอัตราที่สูงมาก ระบบนี้จึงกลายมาเป็นการป้องกันการซื้อตัวนักกีฬาดังไม่ให้ไปอยู่รวมกันภายในทีมเดียวมากเกินไป
อีกระบบที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ระบบการคำนวณรายได้มวลรวมของลีก
เป็นระบบที่ช่วยการกระจายรายได้ของแต่ละทีม
โดยทุกทีมจะต้องนำรายได้ส่วนหนึ่งมารวมกันและเฉลี่ยไปยังทีมอื่นเท่า ๆ กัน
เพื่อเป็นการปรับช่องว่างรายได้ ระหว่างทีมที่อยู่ในตลาดขนาดเล็กและใหญ่
เช่น LA Lakers ที่อยู่ในเมืองลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งมีประชากรเกือบ 4.0 ล้านคน
กับทีม Phoenix Suns ที่อยู่ในเมืองฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนา ซึ่งมีประชากรเพียง 1.6 ล้านคน
จะเห็นได้ว่าทั้ง 2 ทีม อยู่ในเมืองที่มีฐานประชากรห่างกันมาก และส่งผลต่อรายได้ของทีม
แต่ระบบของ NBA จะทำให้ทีมที่มีรายได้น้อยกว่าเกณฑ์ ได้รับเงินอุดหนุนจำนวนหนึ่ง
จากทีมที่มีรายได้มากกว่าเกณฑ์
ทั้งนี้ทีมขนาดเล็กก็ต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 70% ของรายได้เฉลี่ยที่แบ่งกันในแต่ละทีม จึงจะสามารถรับส่วนแบ่งได้เต็มอัตรา เพื่อเป็นการจูงใจและผลักดันให้ทีมขนาดเล็กปรับปรุงและพัฒนาทีมอยู่ตลอดเวลา
เมื่อองค์ประกอบทุกอย่างถูกสร้างสรรค์และออกแบบมาอย่างดีแล้ว
ก็ส่งผลให้ความนิยมและรายได้ของ NBA เพิ่มขึ้นตลอดหลายปีที่ผ่านมา
ทีนี้เรามาดูกันว่าการหารายได้ของ NBA เป็นอย่างไร ?
NBA เป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องของความหลากหลายของช่องทางการหารายได้
ซึ่งก็คือการกระจายความเสี่ยงจากการพึ่งพารายได้เพียงไม่กี่ช่องทาง
โดยรายได้หลักของ NBA มาจาก 4 ช่องทางด้วยกันคือ
1. ค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด
รายได้ส่วนนี้ ถือเป็นรายได้หลักของ NBA ซึ่งในปี 2016 NBA ได้มีการเซ็นสัญญากับสื่อกีฬายักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกาอย่าง ESPN และ Turner Sports ด้วยสัญญา 9 ปี มูลค่าราว 720,000 ล้านบาท
หรือเฉลี่ยปีละ 80,000 ล้านบาท สำหรับการถ่ายทอดสดการแข่งขันของ NBA
โดยสัญญานี้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 180% จากสัญญาเดิมที่ได้ 29,000 ล้านบาทต่อปี
และแต่ละทีมสามารถเซ็นสัญญาถ่ายทอดสดกับสื่อท้องถิ่นได้อีกด้วย
นอกจากนี้ NBA ยังมีระบบสตรีมมิง ชื่อว่า NBA League Pass ที่ให้ผู้ชมสามารถเลือกซื้อได้ทั้งแบบ รายสัปดาห์ รายเดือน และรายปี ทำให้ผู้ชมทั่วโลกสามารถรับชมการแข่งขันได้แบบถูกลิขสิทธิ์
2. ลิขสิทธิ์ทางด้านสินค้าและการสนับสนุนจากสปอนเซอร์
ถึงแม้จะไม่ใช่รายได้ที่มีสัดส่วนที่มาก แต่ก็มีสินค้าหลากหลายแบรนด์ที่พร้อมจะร่วมสนับสนุนกับ NBA
อย่างเช่น การซื้อป้ายโฆษณาบนเสื้อนักกีฬา ซึ่งป้ายดังกล่าวมีขนาดประมาณบัตรประชาชนเท่านั้น แต่กลับมีมูลค่าที่สูงมาก
ในปี 2019 ป้ายแบรนด์เหล่านี้ทำรายได้ให้กับ NBA กว่า 4,500 ล้านบาท
อย่างเช่น Rakuten แบรนด์ E-commerce จากญี่ปุ่น ที่ยอมจ่ายถึง 600 ล้านบาทต่อปี
ให้กับทีม Golden State Warriors เพื่อซื้อโฆษณาบนเสื้อดังกล่าว
หรือจะเป็นสัญญากับ Nike แบรนด์เสื้อผ้ากีฬาอันดับหนึ่งของโลก
ที่ยอมจ่าย 30,000 ล้านบาทให้กับ NBA เพื่อแลกกับสิทธิ์ในการผลิตและจัดจำหน่ายชุดบาสเกตบอลของ NBA ทั้ง 30 ทีมเป็นระยะเวลา 8 ปี ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 2.5 เท่าของสัญญาเดิมที่เคยทำร่วมกับ Adidas
และ Nike จะต้องจ่ายค่าเครื่องแต่งกายของนักกีฬาใน NBA เป็นมูลค่ากว่า 3,750 ล้านบาทต่อปี ซึ่งคาดว่ามากกว่าที่ Adidas เคยจ่ายให้ถึงเท่าตัว เช่นกัน
3. รายได้จากการจำหน่ายตั๋วเข้าชมในสนาม
น่าแปลกใจที่รายได้ส่วนนี้กลับไม่ใช่รายได้หลักของแต่ละทีม เนื่องจากปัจจุบัน ผู้ชมสามารถรับชมผ่าน ระบบออนไลน์ได้ทุกที่ แต่มีรายงานว่าในฤดูกาล 2019/2020 ค่าใช้จ่ายในการเข้าชมการแข่งขัน 1 เกมสำหรับครอบครัว 4 คน ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายหลัก ๆ เช่น ค่าตั๋ว ค่าที่จอดรถ และบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตกเฉลี่ยเกมละ 13,000 บาท ซึ่งเพิ่มขึ้น 2.5% จากฤดูกาลก่อนหน้า
4. รายได้จากต่างประเทศ
NBA ได้มีการขยายตลาดไปยังต่างประเทศมาหลายปีแล้ว และได้กลายมาเป็นรายได้สำคัญของลีก โดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่งมีการประเมินว่า NBA มีรายได้จากประเทศจีนปีละกว่า 15,000 ล้านบาท ตัวเลขนี้รวมถึงดีลระหว่าง NBA กับ Tencent บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของจีนด้วยสัญญา 5 ปี 45,000 ล้านบาท
ในการเป็นพาร์ตเนอร์ที่ได้รับสิทธิ์ในการถ่ายทอดสดการแข่งขันจาก NBA เพียงรายเดียวในจีน
และกลยุทธ์สำคัญที่ผลักดันให้ NBA สามารถขยายไปยังต่างประเทศได้
ก็คือการเปิดรับนักกีฬาต่างชาติเข้ามาในลีกมากขึ้น โดยในฤดูกาล 2019/2020 มีจำนวนนักกีฬาที่ไม่ได้ถือสัญชาติอเมริกันกว่า 108 คน จาก 38 ประเทศ ซึ่งคิดเป็น 4 เท่าของฤดูกาล 1994/1995
กลยุทธ์นี้ได้ช่วยเพิ่มฐานคนดูของ NBA ในต่างแดน เพราะสำหรับบางประเทศที่กีฬาบาสเกตบอลยังไม่เป็นที่นิยม และไม่มีทีมที่คุ้นเคยไว้ตามเชียร์ คนดูก็สามารถเริ่มต้นได้ด้วยการเชียร์นักกีฬาของประเทศตัวเอง
ถึงตรงนี้ก็คงบอกได้ว่า NBA คือองค์กรที่มีโมเดลธุรกิจที่หลากหลาย
เป็นตัวอย่างขององค์กรที่พร้อมเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งที่ดีกว่า
และกระตุ้นให้มีการแข่งขันกันเองภายในลีกอยู่ตลอดเวลา
นำมาซึ่งผลงานที่น่าประทับใจแก่คนดูและเจ้าของทีมเอง
ก็เป็นที่น่าติดตาม ว่าถ้าหาก NBA เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
จะมีมูลค่าเท่าไร และในอนาคตจะมีอะไรใหม่ ๆ มาให้เราได้ศึกษา
แต่ดูเหมือนว่าทุกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
นอกจากจะทำให้ผู้ชื่นชอบบาสเกตบอลสนุกขึ้นแล้ว
มันก็ยังได้กลายมาเป็นโครงสร้างที่แข็งแกร่ง จน NBA สามารถเติบโต
จากวันที่เหลือเพียง 8 ทีมในปี 1955 จนกลายมาเป็นธุรกิจ
ที่มีมูลค่าตลาด 2 ล้านล้านบาทไปแล้ว นั่นเอง..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
Joseph Tsai ผู้ร่วมก่อตั้งและรองประธานบริหารของ Alibaba Group
ได้เข้าซื้อทีม Brooklyn Nets ในปี 2019 ด้วยจำนวนเงิน 70,500 ล้านบาท
ซึ่งถือว่าเป็นมูลค่าที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์การซื้อทีมกีฬาของสหรัฐอเมริกา..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.investopedia.com/articles/investing/070715/nbas-business-model.asp
-https://www.investopedia.com/articles/personal-finance/071415/how-nba-makes-money.asp#citation-9
-https://www.forbes.com/sites/kurtbadenhausen/2021/02/10/nba-team-values-2021-knicks-keep-top-spot-at-5-billion-warriors-bump-lakers-for-second-place/?sh=2ea4a89645b7
-https://www.statista.com/statistics/193467/total-league-revenue-of-the-nba-since-2005/
-https://www.nba.com/news/nba-rosters-feature-108-international-players-2019-20
-https://bleacherreport.com/articles/1039092-nba-revenue-sharing-small-market-teams-to-benefit-from-new-sharing-structure
-https://nba.nbcsports.com/2015/06/10/nike-to-replace-adidas-as-official-maker-of-nba-uniforms-apparel/related/
-https://www.netsdaily.com/2019/8/15/20806783/with-joe-tsai-purchase-confirmed-nets-incredible-summer-continues
-https://www.history.com/this-day-in-history/nba-is-born
market america news 在 貓的成長美股異想世界 Facebook 的最佳貼文
去年的崩盤與融斷, 感覺就像才發生過一樣, 沒想到已經一年了. 時間真的過的很快. 希望大家一切都好.
🌻本周做的功課與閱讀
https://makingsenseofusastocks.blogspot.com/2021/03/blog-post_17.html
🌻Docusign (DOCU), Crowdstrike (CRWD)財報結果
當初研究這兩家公司, 是把公司的年報看過一遍, 再把公司上市後所發表的財報結果全部看了一遍(doubt if I will do this again). 這樣的舖天蓋地有好有壞: 壞處當然就是很花時間, 但好處就是徹頭徹尾研究過一遍後, 之後就只要看看財報結果就好了, 也比較知道高層的想法. 而每季財報看下來, 其實會發現很多資訊都是重複的. 以後可能慢慢變成用聽的就好了.
(P.S. 大公司(道瓊股這些)其實不太需要做甚麼研究. 時間跟精力比較值得放在陌生or較小型的公司.)
而研究CRWD的時候, 其實也挺怕, 畢竟資安股不是我熟悉的領域. 但有感於資安越來越重要, 所以覺得一定要有突破. 當時也換了一種分析方式來做研究(不專注在科技上, 而是專注在商業模式, 管理層, 還有競爭環境上), 算是實驗性質. 也有懂資安的股友協助. 結果還算令人滿意.
Anyway. 這兩家公司的護城河都算是起來了, 未來應該不會有甚麼大問題出現. 只是目前正值類股輪動時期, 大家就有耐心點. 供參.
如果會擔心公司股價漲不回來, 可以去注意公司的現金流狀態, 或是換到價值股。供參。
https://news.cnyes.com/news/id/461235
DOCU官方財報結果新聞稿:
https://investor.docusign.com/investors/press-releases/press-release-details/2021/DocuSign-Announces-Fourth-Quarter-and-Fiscal-Year-2021-Financial-Results/default.aspx
CRWD官方財報結果新聞稿:
https://ir.crowdstrike.com/news-releases/news-release-details/crowdstrike-reports-fourth-quarter-and-fiscal-year-2021
🌻了解"文化", 在研究消費性產品, 是很重要的一環. 這也是各地(亞洲, 或是美國)的投資人, 有在那邊的地利之便, 各有其優勢所在.
下面兩段文章, 分別是投資經理人, 對於韓國電商Coupang(CPNG)以及拉丁美洲電商MercadoLibre(MELI), 在當地文化上所做的質化分析:
#CPNG
There’s a pattern here: Homegrown startups in the world’s hottest industry are beating the pants off global giant Amazon.com (AMZN) and Chinese heavyweight Alibaba Group Holding (BABA). Cultural knowledge is prevailing over scale, and Coupang (CPNG) offers some lessons on why. Its next-level delivery network—order before midnight, get it early the next morning—is adapted for a nation of dense population and small refrigerators. “Customers get hooked on ordering a carton of milk or tube of toothpaste,” says Yoojeong Oh, investment director for Korea at Aberdeen Standard Investments.
#MELI
Mercado has distinct advantages over comparable e-commerce players. First, e-commerce penetration in Latin America is a fraction of that in the U.S., roughly around 3%, Gautrey says. Mercado also has built out its warehouse, trucking, and delivery infrastructure—much like Amazon.com (AMZN), but with one key distinction. “Particularly when you go into emerging markets, relying on the nationalized postal infrastructure can mean a delivery takes several days to arrive,” Gautrey says. “Building out your own logistics infrastructure can dramatically improve the consumer experience. And then having that infrastructure also acts as a barrier to entry for [competitors].” The stock is up 178% in the past year, yet Gautrey thinks the market continues to underestimate its potential.
Source: Barron's
圖片: Happy St. Patrick's Day. 美國一年一度的聖派屈克節, 在今天(美國03/17); Barron's去年本周的封面.
圖片來源:
https://www.zazzle.com/happy_st_patricks_day_talking_cat_in_face_mask_holiday_card-256515595609283035?rf
market america news 在 Boiz Dorm男生宿舍 Youtube 的精選貼文
原本是三天兩夜的滑雪行程,結果有三分之一的時間在都在超市買東西…
下載99 Ranch Market的APP:
https://www.99ranch.com/news-events/99-ranch-market-official-app
主題曲:I Hold On by Chris Coral feat. Adam Sjöstrand
追蹤IG: https://www.instagram.com/boiz_dorm/
關注FB: https://www.facebook.com/BoizDormTJAC/
不定期更新,訂閱Youtube頻道時可以開個鈴鐺
#男生宿舍 #滑雪 #年貨
market america news 在 波波星球泡泡哥哥BoboPopo Youtube 的精選貼文
❤️記得👉訂閱 #波波星球
https://www.youtube.com/user/asdfghjkl3252882
特別邀請:#布萊恩 跟大家分享
👉 #美國人 為什麼來台灣?
👉覺得台灣最美的地方竟然是?
【 #泡泡就愛聊 】
https://www.youtube.com/playlist?list=PLfcYl1c8uekbum-eqX_dErs8L9W4xfJNV
想聊什麼主題? 可以在下面留言喔!
❤️追蹤👉 泡泡哥哥
【泡泡來了YT】https://www.youtube.com/user/01210990792212
【FB】 https://www.facebook.com/bubblebrother
【IG】 https://www.instagram.com/popolee520/
❤️追蹤👉波波星球
【FB】https://www.facebook.com/波波星球-160927727391418/
【IG】https://www.instagram.com/bobopo
❤️舞蹈詢問👉波波星球x泫舞蹈教室
https://www.facebook.com/Hsuandancestudio/?tn-str=k*F
❤️追蹤👉 Brian 布萊恩
【YT】https://www.youtube.com/channel/UCL3_Agsz90agmp0HC9C5buA
【FB】https://www.facebook.com/Brian2Taiwan/
【IG】https://www.instagram.com/brian2taiwan/
❤️聯絡方式
👉LineID:abcd614
👉電話:0988208816 (Denny)