70 ปีผ่านไป ประเทศไหน รวยขึ้นสุด? / โดย ลงทุนแมน
ย้อนกลับไปเมื่อ 70 ปีก่อน หรือช่วงปี 1950 หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง
กลุ่มประเทศมหาอำนาจของโลก ก็ได้เปลี่ยนจากยุโรปมาเป็นสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกา
และยังเป็นช่วงเวลาที่ประเทศทั่วโลก อยู่ในช่วงการฟื้นฟูจากความเสียหายหลังสงคราม
จากวันนั้นมาจนถึงตอนนี้
ประเทศไหนที่สามารถฟื้นฟูและเติบโตได้อย่างโดดเด่น
จนทำให้คนในประเทศรวยขึ้นมากที่สุดในโลก ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
รายได้เฉลี่ยต่อคนในแต่ละประเทศ วัดได้จาก GDP per Capita
คำนวณจากมูลค่าของ GDP หรือรายได้รวมของประเทศ หารด้วยจำนวนประชากร
หากตัวเลขนี้เพิ่มขึ้น หมายความว่าคนในประเทศโดยเฉลี่ยแล้วมีรายได้มากขึ้น หรือว่ารวยขึ้นนั่นเอง
หากเราเปรียบเทียบ GDP per Capita ที่เป็นข้อมูลในปัจจุบันกับปี 1950
ซึ่งถูกปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อ และความแตกต่างของราคาในแต่ละประเทศแล้ว
ประเทศที่รายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้นมากที่สุด 5 อันดับแรกก็คือ
อันดับ 1 เกาหลีใต้ เพิ่มขึ้น 38.0 เท่า
อันดับ 2 โอมาน เพิ่มขึ้น 36.7 เท่า
อันดับ 3 อิเควทอเรียลกินี เพิ่มขึ้น 35.8 เท่า
อันดับ 4 บอตสวานา เพิ่มขึ้น 32.4 เท่า
อันดับ 5 ไต้หวัน เพิ่มขึ้น 30.6 เท่า
ส่วนประเทศจีนอยู่ในอันดับ 11 มีรายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้น 16.4 เท่า
ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 14 รายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้น 12.8 เท่า
ขณะที่ค่าเฉลี่ยของคนทั้งโลก มีรายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้น 4.5 เท่า
จะเห็นได้ว่า “ประเทศเกาหลีใต้” เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัว
เพิ่มขึ้นมากที่สุดในโลกในช่วง 70 ปีที่ผ่านมา
ถ้าให้ย้อนกลับไป การเติบโตนี้ มีแรงขับเคลื่อนที่สำคัญจากประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ปัก ชอง-ฮี และกลุ่มแชโบล แล้วทั้ง 2 ปัจจัยนี้ สำคัญอย่างไร ?
ย้อนไปในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ประเทศเกาหลี ได้ถูกแบ่งแยกประเทศและรูปแบบการปกครอง เป็นเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ในปี 1948 หลังจากนั้น 2 ปี ก็เกิดสงครามเกาหลีขึ้น จนสงครามจบลงในปี 1953 จากการเซ็นสัญญาสงบศึก
จากสงครามที่ยาวนาน เกาหลีใต้เลยได้รับความเสียหายอย่างหนัก
ทำให้รายได้ต่อหัวของประชาชนตอนนั้นลดลงไปมาก
ซึ่งเทียบกับประเทศไทยแล้ว ในตอนนั้นคนไทยมีรายได้ต่อหัวที่สูงกว่าเกาหลีใต้เสียอีก
ช่วงนี้จึงเป็นเวลาที่เกาหลีใต้ได้เริ่มฟื้นฟูประเทศ
ซึ่งขณะนั้นเกาหลีใต้ยังเป็นประเทศเกษตรกรรม เหมือนกับประเทศขนาดเล็กอื่น ๆ
โดยเน้นการผลิตเพื่อบริโภคในประเทศ ทดแทนการนำเข้า
แต่ความไม่สงบของประเทศก็กลับมาอีกครั้ง เพราะรัฐบาลในขณะนั้นได้คอร์รัปชันงบประมาณการฟื้นฟูประเทศ จนนำไปสู่การทำรัฐประหารในปี 1961 นำโดยนายพล ปัก ชอง-ฮี
ซึ่งต่อมา เขาคนนี้ก็ได้กลายเป็นประธานาธิบดีจากการเลือกตั้งในปี 1963 และดำรงตำแหน่งมายาวนานถึง 16 ปี
ปัก ชอง-ฮี ได้เริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ที่ออกฉบับแรกมาในปี 1962
ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่ประเทศไทยเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับแรกเช่นกัน
โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมนี้ ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องไปจนถึงฉบับที่ 7 ที่ได้สิ้นสุดลงในปี 1996
การออกแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม คือจุดเริ่มต้นของยุคที่เศรษฐกิจเกาหลีใต้เติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง จนช่วงเวลานี้ถูกเรียกว่า “Miracle on the Han River” หรือปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮัน
ซึ่งคือแม่น้ำที่ไหลผ่านกลางกรุงโซลนั่นเอง
โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดังกล่าว เป็นการวางรากฐานให้เกาหลีใต้
สามารถผลิตสินค้าส่งออกไปแข่งขันในตลาดโลกได้
ซึ่งทางรัฐบาลจะสนับสนุนและให้สิทธิพิเศษกับภาคเอกชนอย่างเต็มที่
เพื่อหวังให้กลุ่มธุรกิจเหล่านี้ เป็นฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ช่วยเพิ่มการจ้างงานและสร้างรายได้ให้กับประเทศ
และกลุ่มธุรกิจที่ว่านี้ มีชื่อเรียกในยุคปัจจุบันว่า “แชโบล”
ซึ่งคือกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ที่ได้ถูกส่งไม้ต่อรุ่นสู่รุ่นจนถึงปัจจุบัน
เช่น Samsung, Hyundai, LG, SK และ Lotte ที่ต่างก็เริ่มก่อตั้งและเติบโตมาจากในช่วงนี้
สำหรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจในฉบับแรก จะเน้นไปที่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเบาต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น
Samsung ก่อตั้งโรงงานทำน้ำตาลและโรงงานผลิตผ้าเส้นใยขนสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ
Hyundai เริ่มจากบริษัทรับเหมาก่อสร้าง ที่เน้นงานโครงสร้างพื้นฐาน
LG เริ่มจากโรงงานพลาสติก ซึ่งเป็นแห่งแรกของประเทศ
SK เริ่มจากโรงงานสิ่งทอ ซึ่งผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์เป็นแห่งแรกของประเทศ
Lotte เริ่มจากเป็นโรงงานผลิตหมากฝรั่ง
และแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 2 ถึง 4 ตั้งแต่ปี 1967 ก็ได้กลายมาเป็นรากฐานสำคัญ
เพราะรัฐบาลเปลี่ยนมาเน้นพัฒนาอุตสาหกรรมหนักอย่างเหล็ก ปิโตรเคมี เครื่องจักร การต่อเรือ และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ยกตัวอย่างเช่น
Samsung ก่อตั้ง Samsung Electronics ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน และเซมิคอนดักเตอร์
Hyundai ก่อตั้ง Hyundai Motor ผลิตรถยนต์ และ Hyundai Heavy Industries ผลิตเรือขนส่ง
LG ก่อตั้ง GoldStar ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ซึ่งต่อมาคือ LG Electronics
SK เริ่มทำธุรกิจปิโตรเลียมและปิโตรเคมี
Hanjin ก่อตั้ง Hanjin Shipping บริษัทเรือขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ใหญ่ที่สุดในประเทศ และซื้อกิจการสายการบิน Korean Air มาจากรัฐบาล
สังเกตได้ว่า ประเภทธุรกิจที่เริ่มก่อตั้งจากช่วงนี้ ได้กลายเป็นธุรกิจหลักของแต่ละบริษัทมาจนถึงปัจจุบัน
ช่วงเวลานี้เอง ที่รายได้ต่อหัวของชาวเกาหลีใต้แซงคนไทยได้ในปี 1969
และก็ได้ทิ้งห่างนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
และถ้าพูดถึง “จุดเปลี่ยนที่สำคัญที่สุด” ก็จะเกิดขึ้นในแผนฉบับที่ 5 ถึง 7
เริ่มตั้งแต่ปี 1982 โดยรัฐบาลหันมาให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี
โดยเน้นพัฒนาสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง อย่างเช่น
Samsung เริ่มผลิตโทรศัพท์มือถือ จนในปัจจุบันมียอดขายสมาร์ตโฟนเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
Hyundai พัฒนารถยนต์ จนในปัจจุบันมียอดขายรถยนต์เป็นอันดับ 4 ของโลก
LG ที่โดดเด่นเรื่องเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ จนมียอดขายตู้เย็นติด 3 อันดับแรกของโลก
SK ก่อตั้ง SK Telecom ทำธุรกิจโทรคมนาคม ที่ปัจจุบันใหญ่สุดในประเทศ
และผลลัพธ์ก็เป็นไปได้อย่างที่หวัง เพราะในปัจจุบัน เกาหลีใต้ถูกจัดอันดับ
ให้เป็นประเทศผู้นำด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมอันดับ 1 ของโลก
ในขณะเดียวกัน เกาหลีใต้ก็มีงบสำหรับการวิจัยและพัฒนา คิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP มากเป็นอันดับ 2 ของโลก จนนำไปสู่การเป็นประเทศส่งออกสินค้าเทคโนโลยีชั้นนำตั้งแต่ เซมิคอนดักเตอร์ ที่ส่งออกมากเป็นอันดับ 2 ของโลก ไปจนถึงผลิตภัณฑ์สมาร์ตโฟนและเครื่องใช้ไฟฟ้า
นั่นจึงทำให้รายได้ของเกาหลีใต้พึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก โดยเกาหลีใต้มีมูลค่าการส่งออกในปี 2020 สูงเป็นอันดับ 5 ของโลก และคิดเป็นกว่า 40% ของ GDP
และเมื่อสิ้นปี 2020 เกาหลีใต้ก็ได้ขึ้นมาเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ครั้งแรกในประวัติศาสตร์
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากการผลักดันนายทุนรายใหญ่เป็นเวลานาน
สิ่งที่ตามมาก็คือ รายได้ของประเทศทั้งหมด กว่า 80% มาจากรายได้ของกลุ่มแชโบล
หรือเพียงแค่บริษัทที่ใหญ่ที่สุดอย่าง Samsung Electronics ก็มีรายได้คิดเป็นกว่า 13% ของประเทศแล้ว
และเมื่อรายได้ของประเทศ เติบโตมาจากคนไม่กี่กลุ่ม แน่นอนว่าย่อมมีปัญหาตามมา
ปัญหาที่สำคัญอย่างแรกก็คือ การกระจายรายได้ที่ไม่ทั่วถึง หรือที่เรียกว่า “รวยกระจุกจนกระจาย”
โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่ 43.8% ยังมีฐานะยากจน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดท่ามกลางกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว
ปัญหาอย่างที่สองคือ เรื่องการผูกขาด เพราะกลุ่มแชโบล ได้ขยายธุรกิจจนครอบคลุมทุกอย่าง ทั้งกลุ่มสถาบันการเงิน โรงพยาบาล โรงแรม ดิวตี้ฟรี ห้างสรรพสินค้า ไปจนถึงร้านกาแฟและร้านอาหาร
ส่งผลให้กลุ่ม SME ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เข้ามาแข่งขันได้ยาก
อีกปัญหาสำคัญก็คือเรื่องธรรมาภิบาล ทั้งเรื่องที่อำนาจบริหารยังวนอยู่ในกลุ่มครอบครัว
รวมไปถึงเรื่องยักยอกเงินและติดสินบนรัฐบาล และแม้ว่าจะถูกจำคุก
แต่หลังพ้นโทษก็กลับมาบริหารงานต่อได้เหมือนเดิม..
จากเรื่องราวทั้งหมดนี้ ทำให้เราสรุปได้ว่าเกาหลีใต้ได้ก้าวขึ้นมาเป็นประเทศ
ที่ประชากรรวยขึ้นมากที่สุดในโลก หากนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง
อย่างไรก็ตาม กลุ่มแชโบลที่รัฐบาลสมัยก่อนเป็นผู้ขับเคลื่อนความสำเร็จของประเทศ
กลับกลายเป็นต้นตอของปัญหาทางสังคมให้กับเกาหลีใต้ และสร้างความไม่พอใจให้กับคนส่วนใหญ่
เพราะความไม่เป็นธรรมและไม่เท่าเทียมกันในหลายด้าน
ซึ่งก็ถือเป็นความท้าทายของรัฐบาลในยุคนี้
ว่าจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร
เพราะยิ่งเวลาผ่านไปนานเท่าไร
รอยร้าวและความแตกแยกทางสังคม ก็ดูเหมือนว่าจะยิ่งขยายใหญ่มากขึ้นเท่านั้น
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
นายพล ปัก ชอง-ฮี เสียชีวิตขณะดำรงตำแหน่งในปีที่ 16 จากการถูกลอบสังหาร
และ 34 ปีต่อมา หรือในปี 2013 เกาหลีใต้ ได้มีประธานาธิบดีหญิงคนแรก ที่ชื่อ ปัก กึน-ฮเย ซึ่งเป็นลูกสาวของนายพล ปัก ชอง-ฮี
แต่เธอดำรงตำแหน่งได้เพียง 4 ปี ก็ถูกศาลถอดถอนให้พ้นจากตำแหน่ง และตัดสินจำคุก 24 ปี
เนื่องจากรับสินบนจากกลุ่มแชโบล..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://ourworldindata.org/grapher/gdp-per-capita-maddison-2020
-https://en.wikipedia.org/wiki/Miracle_on_the_Han_River
-https://data.worldbank.org/indicator/NE.EXP.GNFS.ZS?locations=KR
-https://www.oecd.org/economy/surveys/korea-2020-OECD-economic-survey-overview.pdf
-https://data.oecd.org/inequality/poverty-gap.htm
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-02-03/south-korea-leads-world-in-innovation-u-s-drops-out-of-top-10
-https://exporthub.co/top-exporting-countries-in-the-world-for-2020/
-http://english.hani.co.kr/arti/english_edition/e_business/949236.html
-http://www.koreaherald.com/view.php?ud=20200802000122
innovation wiki 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最佳貼文
มีการแชร์ข้อความข่าวเกี่ยวกับ ยาต้านไวรัสโรคโควิด-19 โดยเฉพาะ ที่ชื่อว่า "โมลนูพิราเวียร์ Molnupiravir" ว่าเหมือนเป็นความหวังใหม่ของมนุษยชาติในการรับมือกับโรคโควิด
คือ ยาตัวนี้มีจริงครับ เป็นของบริษัทยา ริดจ์แบ็ก ไบโอเทราพิวติกส์ ไม่ใช่ข่าวปลอม แต่ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัยพัฒนา คงต้องอีกซักพักกว่าจะเสร็จ
แต่ก็นับว่าเป็นข่าวดีนะ ถ้าเรามียาต้านไวรัสที่ใช้เฉพาะกับเชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 นี้ได้ เพราะที่เราพยายามหามาใช้กันอยู่ (เช่น ฟาวิพิราเวียร์) นั้นจะเป็นยาต้านไวรัสแบบ broad spectrum ซึ่งยังได้ผลไม่สูงมากนัก เทียบกับถ้ามียาเฉพาะตัว
ยาทำนองนี้ (เม็ดใช้กินเพื่อรักษา) มีการแข่งขันกันวิจัยอย่างหนักระหว่างบริษัทยายักษ์ใหญ่ ล่าสุด ทางบริษัทไฟเซอร์เอง ก็ประกาศความคืบหน้าในการพัฒนายาต้านเชื้อโควิด-19 ชนิดเม็ดแล้ว และถ้าสำเร็จ อาจเป็นยาเม็ดต้านโควิด-19 ชนิดแรก ที่จะสามารถใช้รักษาผู้ป่วยโควิด-19 ได้ภายในสิ้นปี 64 นี้ (https://www.thairath.co.th/news/foreign/2078448)
------------
ข้อมูลความคืบหน้า เรื่องการพัฒนา ยาโมลนูพิราเวียร์ Molnupiravir (รหัสการพัฒนา MK-4482 และ EIDD-2801)
เป็นยาต้านไวรัสทดลองซึ่งออกฤทธิ์โดยการให้ทางปาก ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อใช้รักษาโรคไข้หวัดใหญ่ โดยเป็นโปรดรักของอนุพันธ์ของ เอ็น4-ไฮดรอกซีไซติดีน (N4-hydroxycytidine ของนิวคลีโอไซด์สังเคราะห์ และออกฤทธิ์ต้านไวรัสโดยการนำข้อผิดพลาดในการคัดลอกระหว่างการจำลองแบบของไวรัสอาร์เอ็นเอ นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นฤทธิ์ต่อต้านไวรัสโคโรนา เช่น ซาร์ส, เมอร์ส และ SARS-CoV-2
ยาดังกล่าวได้รับการพัฒนาที่มหาวิทยาลัยเอมอรี (Emory University) โดย บริษัทนวัตกรรมยา ไดร์ฟ (Drug Innovation Ventures at Emory; DRIVE) ของทางมหาวิทยาลัย จากนั้นถูกซื้อสิทธิ์โดยบริษัท ริดจ์แบ็ก ไบโอเทราพิวติกส์ (Ridgeback Biotherapeutics) ซึ่งตั้งอยู่ในไมอามี และได้ร่วมมือกับบริษัทเมอร์ค (Merck & Co.) ในการพัฒนายาต่อไป
หลังจากพบว่ามีฤทธิ์ต่อต้านไวรัส SARS-CoV-2 ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 ได้มีการทดสอบโมลนูพิราเวียร์ในการศึกษาเบื้องต้นในมนุษย์เรื่อง "ความปลอดภัย, ความทนทานต่อยา และเภสัชจลนศาสตร์" ในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดีในสหราชอาณาจักรและสหรัฐ
ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 บริษัทริดจ์แบ็ก ไบโอเทราพิวติกส์ ประกาศว่าจะเริ่มต้นทดลองในระยะที่ 2 เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของยาในการรักษาโควิด-19
การทดลองสองครั้งของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและที่ไม่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลในสหรัฐและสหราชอาณาจักรดำเนินการในเดือนกรกฎาคม
ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 โดยที่ยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลทางการแพทย์ใด ๆ บริษัทเมอร์ค ซึ่งเป็นพันธมิตรกับริดจ์แบ็ก ไบโอเทราพิวติกส์ ในการพัฒนายาได้ประกาศความตั้งใจที่จะเริ่มการทดลองขั้นสุดท้ายของยาโมลนูพิราเวียร์ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2563
เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เมอร์คเริ่มการทดลองระยะที่ 2/3 เป็นเวลา 1 ปี โดยมุ่งเน้นไปที่ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ได้มีการเผยแพร่บทความซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเนเจอร์ เกี่ยวกับผลการศึกษาของการรักษาตัวเฟอร์เรตที่ติดเชื้อโควิด-19 ด้วยยาโมลนูพิราเวียร์ จากการศึกษาพบว่ายามีประสิทธิภาพ "เมื่อให้ทางปากกับเฟอร์เรตที่ติดเชื้อ และป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสระหว่างเฟร์ริตหลังจาก 24 ชั่วโมงภายหลังการให้ยา
ข้อมูลจาก https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B9%8C
innovation wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
เนเธอร์แลนด์ ประเทศเล็ก ๆ แต่พัฒนาถึงขีดสุด / โดย ลงทุนแมน
ถ้าพูดถึงเนเธอร์แลนด์ หลายคนคงนึกถึง กังหันลมและดอกทิวลิป
แต่เรื่องที่หลายคนอาจยังไม่รู้ก็คือ เนเธอร์แลนด์ ยังเป็นประเทศที่สร้างนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่หลายอย่างของโลก มาตลอดหลายร้อยปีที่ผ่านมา
นวัตกรรมเด่น ๆ ที่เกิดขึ้นจากประเทศแห่งนี้ มีอะไรบ้าง
และทำไมประเทศเล็ก ๆ อย่างเนเธอร์แลนด์ ถึงสร้างนวัตกรรมระดับโลกได้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เนเธอร์แลนด์ เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรปฝั่งตะวันตก
ซึ่งคำว่า “เนเธอร์” นั้น แปลว่า “ต่ำ”
เนเธอร์แลนด์ จึงแปลได้ตรง ๆ ว่า แผ่นดินที่ต่ำ
โดยสาเหตุที่ได้ชื่อแบบนี้ก็เพราะว่า พื้นที่กว่า 1 ใน 3 ของประเทศนั้น อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล
ข้อมูลจาก World Bank ในปี 2019 ระบุว่า
เนเธอร์แลนด์ มี GDP เท่ากับ 28 ล้านล้านบาท อยู่ในอันดับที่ 17 ของโลก
และมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรเท่ากับ 1.6 ล้านบาทต่อปี สูงเป็นอันดับที่ 11 ของโลก
ขณะที่มีพื้นที่ประเทศ 41,865 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเล็กกว่าพื้นที่ประเทศไทย 12 เท่า
แม้จะเป็นประเทศเล็ก ๆ แต่เนเธอร์แลนด์กลับเป็นประเทศที่สามารถสร้างสิ่งที่สำคัญ ๆ ให้แก่โลก อย่างที่เราอาจไม่รู้มาก่อนว่า เกิดจากประเทศแห่งนี้
หนึ่งในรากฐานที่สำคัญในการพัฒนานวัตกรรมของเนเธอร์แลนด์
มาจากการให้ความสำคัญกับเรื่อง “การศึกษา”
ในช่วงศตวรรษที่ 16 ดินแดนเนเธอร์แลนด์ยังถูกปกครองโดยราชสำนักสเปนซึ่งนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก แตกต่างจากชาวดัตช์ส่วนใหญ่ในเนเธอร์แลนด์ ซึ่งล้วนเป็นพ่อค้าที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์
ด้วยความที่เนเธอร์แลนด์เป็นเมืองท่าที่สำคัญ เหล่าพ่อค้าจึงถูกขูดรีดภาษีจากสเปนจำนวนมาก
เมื่อทนไม่ไหว ท้ายที่สุดชาวดัตช์จึงรวมตัวกันขับไล่ผู้ปกครองชาวสเปน
จนสามารถก่อตั้งสาธารณรัฐดัตช์ที่เป็นอิสระได้สำเร็จ
และมีผู้ปกครองคนแรกคือ วิลเลิมแห่งออเรนจ์
แต่สิ่งที่เหล่าพ่อค้าชาวดัตช์เรียกร้องจากผู้ปกครองหลังแยกตัวออกจากสเปน
ไม่ใช่การยกเลิกภาษีเพื่อเพิ่มรายได้ แต่กลับเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อสร้างองค์ความรู้..
Leiden University มหาวิทยาลัยแห่งแรกของเนเธอร์แลนด์จึงได้ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1575
โดยเป็นจุดเริ่มต้นขององค์ความรู้ต่าง ๆ ทั้งด้านการแพทย์ พฤกษศาสตร์ และเกษตรกรรม
ซึ่งปัจจุบันมหาวิทยาลัยแห่งนี้ก็ได้กลายมาเป็น มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในเรื่องนวัตกรรมและการสร้างผลงานวิจัยระดับแถวหน้าของยุโรป
แล้วนวัตกรรมสำคัญ ๆ ที่ถูกคิดค้นโดยชาวดัตซ์ มีอะไรบ้าง
เรามาเริ่มต้นด้วยเรื่องนวัตกรรมทางด้านการเงิน การลงทุนกันก่อน..
รู้ไหมว่า ชาวดัตช์เป็นชนชาติแรก ๆ ที่ได้คิดค้นนวัตกรรม "หุ้น" ขึ้นมา
โดยตลาดหุ้นที่ดำเนินกิจการมายาวนานที่สุดในโลก คือตลาดหุ้นอัมสเตอร์ดัม
ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของเนเธอร์แลนด์มาตั้งแต่ปี 1601 หรือ 420 ปีที่แล้ว
1 ปีหลังจากจัดตั้งตลาดหุ้น รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ได้มีการจัดตั้งบริษัท The Dutch East India Company หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า VOC (ซึ่งมาจากชื่อบริษัทในภาษาด้ตช์ Vereenigde Oostindische Compagnie) เพื่อทำธุรกิจค้าขายกับต่างประเทศ
VOC ยังถือเป็นบริษัทข้ามชาติแห่งแรกของโลกอีกด้วย บริษัทนี้ผูกขาดการค้ากับเอเชียเป็นเวลาเกือบสองศตวรรษ และเป็นหนึ่งในบริษัทที่มีอิทธิพลต่อการค้าของโลกในยุคต่อมา
ไม่เพียงเท่านั้น การระดมทุนของ VOC เพื่อเข้าตลาดหุ้นในปี 1602 ยังเป็นการเสนอขายหุ้นครั้งแรกต่อประชาชน หรือที่เรียกว่า Initial Public Offering หรือ IPO เป็นครั้งแรก ในประวัติศาสตร์โลกการเงินอีกด้วย
ชาวดัตซ์ยังเป็นชนชาติแรกที่ริเริ่มแนวคิด การวิเคราะห์หลักทรัพย์ทางเทคนิค หรือ การใช้กราฟเพื่อคาดการณ์ราคาหลักทรัพย์ ในปี 1688
และเป็นชนชาติแรกที่ริเริ่มการลงทุนในกองทุนรวม ซึ่งเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 1774
พูดง่าย ๆ ว่า ความยิ่งใหญ่ของตลาดการเงิน การลงทุน และตลาดหุ้นในวันนี้
มีจุดเริ่มต้นมาจากเนเธอร์แลนด์นั่นเอง..
ต่อมา คือการสร้างนวัตกรรมเกี่ยวกับภาคเกษตรกรรม
การที่มีพื้นที่กว่า 1 ใน 3 อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ทำให้ชาวดัตช์มีความเชี่ยวชาญเรื่องการจัดการน้ำและการชลประทานมาอย่างยาวนาน ซึ่งต่อยอดมาเป็นเกษตรกรรมล้ำสมัยในปัจจุบัน
รู้ไหมว่าเนเธอร์แลนด์ ชาติที่มีพื้นที่เพียง 41,865 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเล็กกว่าประเทศไทย 12 เท่า แต่กลับสามารถส่งออกสินค้าเกษตรโดยมีมูลค่ามากสุดเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา
โดยในปี 2019
มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรของเนเธอร์แลนด์นั้นมีมูลค่ากว่า 3.5 ล้านล้านบาท
ทุกวันนี้ 1 ใน 3 ของการส่งออกพริก มะเขือเทศ และแตงกวาทั่วโลกนั้น ล้วนมาจากเนเธอร์แลนด์ และยังเป็นประเทศที่ส่งออกดอกไม้มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโลก
โดยมีมูลค่ามากกว่า 138,000 ล้านบาท
ทั้งรัฐบาล สถาบันการศึกษา และบริษัทในภาคเอกชน ต่างร่วมกันทำวิจัยและพัฒนาด้านนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้านการเกษตรและอาหาร
โดยใช้ทรัพยากรและปัจจัยการผลิตให้น้อยที่สุด
เกษตรกรชาวดัตช์ นำแนวคิดเรื่อง การทำเกษตรด้วยความแม่นยำสูง (Precision Farming)
ที่มีการใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมทั้งควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยวิเคราะห์ค่าเคมีของดิน ปริมาณน้ำ สารอาหาร สำหรับใช้ในการเจริญเติบโตของพืชอย่างละเอียด
นอกจากนวัตกรรมทางด้านการเงินและด้านเกษตรกรรมแล้ว
เนเธอร์แลนด์ยังคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมอีกหลายอย่าง
ที่มีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคนบนโลกใบนี้ตั้งแต่อดีตเรื่อยมา
ไม่ว่าจะเป็น
- กล้องไมโครสโคป ถูกผลิตโดย Hans และ Zacharias Jansen 2 พ่อลูกชาวดัตช์ ในปี 1590
- เทปคาสเซตต์ ถูกพัฒนาขึ้นโดย Philips ผู้ผลิตเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์สัญชาติดัตช์ ในปี 1960
- สัญญาณ Bluetooth มีผู้ร่วมพัฒนาเป็นวิศวกรชาวดัตช์ที่ชื่อว่า Jaap Haartsen ในปี 1990
- สัญญาณ Wi-Fi ถูกพัฒนาและใช้งานอย่างเป็นทางการครั้งแรกในปี 1998 ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์
เนเธอร์แลนด์ก่อตั้งประเทศจากผู้คนที่เลือกใฝ่หาความรู้ มีความพยายามต่อสู้กับทั้งธรรมชาติและผู้รุกราน แต่ความสำเร็จต่าง ๆ จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าขาดความร่วมมือร่วมใจกันระหว่างภาครัฐบาล ภาคการศึกษา สถาบันวิจัย และภาคเอกชน ซึ่งล้วนให้ความสำคัญกับการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ไปพร้อมกัน
ในวันนี้ เนเธอร์แลนด์มีมหาวิทยาลัย Wageningen University & Research
เป็นมหาวิทยาลัยด้านเกษตรกรรมอันดับ 1 ของโลก ที่ได้ให้ความช่วยเหลือในการจัดตั้งบริษัทเทคโนโลยีด้านเกษตรกรรมชั้นนำมากมาย
มีบริษัท Philips ที่ได้ต่อยอดจากบริษัทเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์กลายมาเป็นบริษัทเครื่องมือแพทย์ชั้นนำของโลก
และบริษัท ASML บริษัทผลิตเครื่องจักรที่ใช้สำหรับการพิมพ์ลายลงบนชิป
ซึ่งถือเป็นกระดูกสันหลังของอุตสาหกรรมชิปทั่วโลก
ความมุ่งมั่นและทุ่มเททางด้านนวัตกรรมของเนเธอร์แลนด์ที่มีมาอย่างต่อเนื่องยาวนานทำให้ ประเทศเล็ก ๆแห่งนี้ กลายมาเป็นประเทศที่มีศักยภาพทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสูงที่สุดประเทศหนึ่งของโลก
หากย้อนกลับไปในศตวรรษที่ 16
คงต้องขอบคุณเหล่าพ่อค้าชาวดัตช์ ถึงแม้จะถูกขูดรีดภาษีมานาน แต่กลับเลือกไม่ขอยกเลิกภาษีจากผู้ปกครอง แล้วเลือกขอสร้างมหาวิทยาลัยเพื่อต่อยอดองค์ความรู้
พ่อค้าเหล่านี้อาจมองการณ์ไกลมาถึง 400 ปีข้างหน้า
ว่าการลงทุนที่ดีที่สุด คงจะเป็นอะไรไม่ได้ นอกจาก “การลงทุนในความรู้”..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.stock2morrow.com/article-detail.php?id=2175&read_meta=%7B%22label%22%3A%22articlepage_number1%22%2C%22group%22%3A%22NA%22%7D
-https://en.wikipedia.org/wiki/Netherlands
-https://investinholland.com/news/10-inventions-didnt-know-dutch/
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_Dutch_inventions_and_innovations
-https://humboldt.global/top-agricultural-exporters/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Euronext_Amsterdam
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.PCAP.CD?locations=NL
-Measuring-Innovation-in-Education-Netherlands.pdf (oecd.org)