กรณีศึกษา การเข้าซื้อร้านส้มตำนัว ของกลุ่มเซ็นทรัล / โดย ลงทุนแมน
เมื่อเร็ว ๆ นี้ CENTEL เจ้าของธุรกิจโรงแรมและร้านอาหารในกลุ่มเซ็นทรัล
ได้ให้บริษัทลูกอย่าง CRG ที่ทำกลุ่มธุรกิจด้านอาหารและเครื่องดื่ม เข้าไปลงทุนซื้อหุ้นในธุรกิจร้านอาหาร ที่ชื่อว่า “ส้มตำนัว”
คำถามคือ ทำไม กลุ่มเซ็นทรัล จึงอยากลงทุนในธุรกิจร้านส้มตำ
แล้วร้านส้มตำนัว มีเรื่องราวความเป็นมาอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ร้านส้มตำนัวมีจุดเริ่มต้นมาจากคุณสุธาชล วัฒนะสิมากร
ชาวอุดรธานี ที่ตอนแรกเข้ามาทำงานในบริษัทเอเจนซีโฆษณาในกรุงเทพมหานคร
วันหนึ่ง คุณสุธาชล อยากกินส้มตำปลาร้า
เขาพยายามมองหาร้านส้มตำรสชาติอีสานแท้ ๆ ในกรุงเทพมหานคร
แต่พบว่าหายากมาก และร้านที่เข้าไปรับประทานก็ยังมีรสชาติไม่ถูกปากเท่าไรนัก
สุดท้าย เขาจึงกลับมาต้มปลาร้าและตำส้มตำกินเอง
และก็คิดขึ้นมาว่า “ทำไมเราไม่เปิดร้านส้มตำขายเองเสียเลย”
ไม่นานเขาจึงตัดสินใจชวนเพื่อนอีกคน
คือ คุณประพันธ์ กลั่นบิดา ซึ่งเป็นคนกาฬสินธุ์ มาลงทุนทำร้านส้มตำด้วยกัน
โดยช่วงแรกก่อนที่ทั้งคู่จะตั้งร้านนั้น พวกเขาลงทุนตระเวนชิมส้มตำตามร้านต่าง ๆ เพื่อนำมาทำเป็นสูตรเด็ดของร้านตนเอง
ที่สำคัญคือ ต้องคงเอกลักษณ์ความเป็นลูกอีสานเอาไว้ ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของทั้งคู่ด้วย
เมื่อตัดสินใจว่าจะทำร้านส้มตำ และได้เมนูเรียบร้อยแล้ว
เรื่องต่อมาที่ทั้งคู่ต้องทำคือ การหาทำเล
ทั้งสองคนมองว่า ทำเลของร้านต้องมีผู้คนเดินทางผ่านไปผ่านมาหนาแน่น และทั้งคู่ก็มาเลือกที่สยามสแควร์ ซึ่งเป็นแหล่งที่มีผู้คนจำนวนมาก
ซึ่งแม้ว่าจะมีความเสี่ยงในเรื่องต้นทุนค่าเช่าที่สูง
แต่ทั้งคู่มองว่าเมื่อหักลบความเสี่ยงและโอกาสที่ร้านจะขายได้ดีแล้วน่าจะคุ้มค่า
ทั้งคู่จึงตัดสินใจมาเปิดร้านส้มตำนัวสาขาแรกที่สยามสแควร์ ในปี 2546
โดยสาขาแรกของร้านส้มตำนัวที่สาขาสยามสแควร์ ถือเป็นร้านส้มตำติดแอร์ร้านแรก ๆ แถวนั้นด้วย
เปิดร้านไปสักระยะ ทั้งคู่ก็สังเกตว่า ลูกค้าที่นั่งทานในร้านหลายโต๊ะบางครั้งต้องรีบสั่ง รีบกิน และรีบไป
ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะ มีคนรอคิวหน้าร้านจำนวนมาก
ดังนั้น ทั้งคู่มองว่า พวกเขาจำเป็นต้องขยายร้านให้มากขึ้น
ร้านส้มตำนัว จึงเริ่มขยายสาขามากขึ้นเรื่อย ๆ จนในปัจจุบัน มีแล้วทั้งหมด 6 สาขา
ได้แก่ สยามสแควร์, สยามเซ็นเตอร์, เซ็นทรัล เอ็มบาสซี, เซ็นทรัลเวิลด์, เมกาบางนา และเซ็นทรัล ลาดพร้าว
ซึ่งนอกจากรสชาติความนัวของส้มตำนัวจะเป็นที่ถูกปากลูกค้าชาวไทยแล้ว ยังเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นชาวจีน ชาวเกาหลี ที่เดินทางมาท่องเที่ยวอีกด้วย
จนสุดท้าย รสชาติและชื่อเสียงของร้านส้มตำนัว ก็ไปเข้าตาบริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) หรือ CENTEL บริษัทในกลุ่มเซ็นทรัล
โดย CENTEL นั้น คือบริษัทในกลุ่มเซ็นทรัล ที่ทำธุรกิจโรงแรมและร้านอาหาร
ในปี 2563 รายได้หลักของ CENTEL นั้นมาจากธุรกิจหลัก 2 กลุ่มคือ
-ธุรกิจอาหาร 76%
-ธุรกิจโรงแรมและอื่น ๆ 24%
ในส่วนของธุรกิจอาหารนั้น CENTEL จะให้บริษัทลูกที่ชื่อว่า บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ CRG เป็นผู้ดูแล
โดย CRG นั้นมีฐานะที่เป็นผู้รับสิทธิ์ (Franchisee) และเจ้าของลิขสิทธิ์ (Company Owned) แบรนด์ร้านอาหารชื่อดังต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบัน CRG มีแบรนด์ร้านอาหารภายใต้การบริหารทั้งสิ้น 15 แบรนด์
ยกตัวอย่างเช่น Mister Donut, KFC, Auntie Anne’s, Pepper Lunch, Yoshinoya
ลองมาดูผลประกอบการของ บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ CRG ในปีที่ผ่านมา
ปี 2560 รายได้ 10,081 ล้านบาท กำไร 690 ล้านบาท
ปี 2561 รายได้ 11,007 ล้านบาท กำไร 680 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 11,288 ล้านบาท กำไร 570 ล้านบาท
ซึ่งต้องบอกว่าแม้ CRG จะมีแบรนด์ร้านอาหารที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ร้านอาหารจานด่วน ร้านขนม ร้านอาหารญี่ปุ่น ร้านอาหารไทย แต่ CRG ยังไม่มีแบรนด์ร้านส้มตำและร้านอาหารอีสาน ที่เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นทั้งในหมู่ชาวไทยและชาวต่างชาติ
พอเรื่องเป็นแบบนี้ CRG จึงตัดสินใจเข้าไปเป็นผู้ถือหุ้น 85% ในบริษัท เอสทีเอ็น เรสเตอรองต์ จำกัด เจ้าของแบรนด์ “ส้มตำนัว” ซึ่งมูลค่าการลงทุนของ CRG ในครั้งนี้คิดเป็นเงินลงทุน 200 ล้านบาท
นั่นหมายความว่า มูลค่าแบรนด์ร้านส้มตำนัวในตอนนี้ ถูกให้มูลค่าสูงถึงประมาณ 235 ล้านบาท
และด้วยจำนวนสาขา 6 สาขาในปัจจุบัน หมายความว่า CRG กำลังให้มูลค่ากับร้านส้มตำนัว โดยเฉลี่ยแล้ว สาขาละ 39 ล้านบาท เลยทีเดียว..
โดย CRG มีแผนที่จะขยายสาขาร้านส้มตำนัว ให้ได้ถึงประมาณ 130 สาขา ภายใน 5 ปีหลังจากนี้
การที่ CRG ได้แบรนด์ร้านอาหารส้มตำและอาหารอีสาน อย่างร้านส้มตำนัวมาอยู่ในมือ ทำให้ต้องบอกว่า ณ ตอนนี้ ธุรกิจร้านอาหารของ CRG มีความหลากหลายมากขึ้นกว่าเดิม
ซึ่งก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า ร้านส้มตำนัว หลังจากกลุ่มเซ็นทรัลเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
แต่หลังจากนี้ ร้านส้มตำนัว ก็คงขยับเข้ามาใกล้บ้านใครหลาย ๆ คนแน่นอน..
หมายเหตุ: บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาชี้นำให้ซื้อหรือขายหุ้นตัวนี้ การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนโปรดศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.set.or.th/set/pdfnews.do?newsId=16171468344951&sequence=2021037375
-https://www.prachachat.net/marketing/news-641179
-แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/รายงานประจำปี 2563, บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน)
-https://www.siammakro.co.th/horeca_article_detail/
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「franchisee คือ」的推薦目錄:
- 關於franchisee คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於franchisee คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於franchisee คือ 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最讚貼文
- 關於franchisee คือ 在 大象中醫 Youtube 的精選貼文
- 關於franchisee คือ 在 大象中醫 Youtube 的精選貼文
- 關於franchisee คือ 在 Top Business Consultant พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ ที่ปรึกษาธุรกิจ's post 的評價
- 關於franchisee คือ 在 ทำอย่างไรให้ธุรกิจตัวเองเป็นระบบแฟรนไชส์ - YouTube 的評價
franchisee คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
ใครคือ บริษัทผู้ลงทุนแฟรนไชส์ร้านอาหาร รายใหญ่สุดในสหรัฐฯ /โดย ลงทุนแมน
ถ้าพูดถึงชื่อบริษัท “Flynn Restaurant Group”
หลายคนน่าจะไม่เคยได้ยินชื่อนี้มาก่อน
แต่รู้ไหมว่า แบรนด์ร้านอาหารดัง ๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกา
ไม่ว่าจะเป็น Taco Bell, Pizza Hut, Wendy’s หรือ Panera Bread
ต่างมีผู้ลงทุนแฟรนไชส์รายใหญ่คนเดียวกัน
นั่นก็คือ Flynn Restaurant Group
เรื่องราวของบริษัทนี้น่าสนใจอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Flynn Restaurant Group หรือ FRG
เป็นบริษัทแฟรนไชส์ร้านอาหาร สัญชาติอเมริกัน
ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1999 โดยคุณ Greg Flynn
ในวัยเด็ก คุณ Flynn เห็นพ่อของเขาประสบความสำเร็จจนมีฐานะร่ำรวย จากการได้รับสิทธิ์แฟรนไชส์ร้าน Burger King ที่เมืองซานฟรานซิสโก เพียงแค่ 2 สาขาเท่านั้น
ด้วยเหตุนี้ พอโตเป็นผู้ใหญ่ เขาจึงอยากทำธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหารของตัวเองบ้าง
ซึ่งสิ่งที่คุณ Flynn คิดไว้ ไม่ใช่แค่การสมัครรับสิทธิ์บริหารไม่กี่สาขา เหมือนที่คุณพ่อเขาทำ
แต่เขาตั้งเป้าหมายที่จะเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ของแฟรนไชส์เลย
และเขาก็ได้ก่อตั้งบริษัท Flynn Restaurant Group ขึ้นมา เพื่อลงทุนในแฟรนไชส์ร้านอาหารโดยเฉพาะ
แบรนด์แรกที่บริษัท FRG เลือกลงทุนด้วย คือ Applebee’s เชนร้านอาหารสไตล์ Casual Dining ที่เน้นเมนูหลากหลาย แต่ราคาไม่แพง
โดยซื้อร้าน Applebee’s จากผู้รับสิทธิ์รายเดิม 8 สาขา
แต่ต่อมาได้ตัดสินใจขอซื้อเพิ่มอีกรวดเดียว 62 สาขา
ซึ่งดีลนั้น คิดเป็นมูลค่าราว 5,200 ล้านบาท
โดยในขณะนั้น FRG ใช้วิธีกู้เงินมาลงทุนสูงถึง 3,700 ล้านบาท ทำให้หลายฝ่ายกังวลว่า บริษัทอาจเผชิญความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ในอนาคต
แต่ก็ปรากฏว่า ในช่วงดังกล่าวเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง ส่งผลให้ยอดขายร้าน Applebee’s และรายได้ของ FRG เติบโตขึ้นตามไปด้วย จนไม่ต้องเจอปัญหาเรื่องหนี้สินตามที่หลายคนกังวล
ในปี 2008 สหรัฐอเมริกาเกิดวิกฤติซับไพรม์ ทำให้บริษัทแม่ของ Applebee’s ประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนัก และได้ประกาศขายร้านที่บริหารเองหลายสาขาเพื่อลดต้นทุน
ซึ่ง FRG ก็ใช้จังหวะนี้ เจรจาขอซื้อร้านส่วนใหญ่ไปบริหารต่อ
เนื่องจากราคาที่ตั้งขายนั้น ถูกกว่ามูลค่าการสร้างร้านใหม่เองถึง 3 เท่า
ทำให้บริษัท FRG กลายเป็นบริษัทผู้ลงทุน
ที่เป็นเจ้าของสาขาร้าน Applebee’s มากที่สุดในตอนนั้น
ต่อมา FRG เริ่มมองหาโอกาสลงทุนในร้านอาหารประเภทอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจ
โดยบริษัทยังคงเน้นใช้กลยุทธ์การซื้อร้านแฟรนไชส์จากผู้ได้รับสิทธิ์รายเดิม ที่อาจประสบปัญหาการเงิน หรือไม่ต้องการทำธุรกิจแล้ว
ปี 2013 เข้าลงทุนใน Taco Bell เชนฟาสต์ฟูดอาหารเม็กซิกัน
ปี 2015 เข้าลงทุนใน Panera Bread เชนร้านเบเกอรีและกาแฟ
ปี 2018 เข้าลงทุนใน Arby’s เชนร้านแซนด์วิช
และล่าสุด เมื่อเดือนมีนาคม ปี 2021
FRG ได้ตกลงซื้อสาขาแฟรนไชส์ Pizza Hut เชนร้านพิซซา และ Wendy’s เชนฟาสต์ฟูดแฮมเบอร์เกอร์ มาจากบริษัท NPC International
โดย NPC International ประกอบธุรกิจลงทุนแฟรนไชส์ร้านอาหาร และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ในสหรัฐอเมริกา
แต่ปีที่ผ่านมา NPC International ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด 19 และมีภาระหนี้สินสูง จนต้องยื่นขอล้มละลาย FRG จึงถือโอกาสนี้ เข้าไปซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์ต่อจาก NPC International อีกเช่นเคย
ทำให้ปัจจุบัน FRG มีแฟรนไชส์ร้านอาหารในสหรัฐอเมริกา อยู่ภายใต้การบริหารทั้งหมด 2,355 สาขา โดยแบ่งเป็น
- ร้าน Applebee’s มี 444 สาขา มากเป็นอันดับ 1 ของเชน
- ร้าน Taco Bell มี 280 สาขา มากเป็นอันดับ 3 ของเชน
- ร้าน Panera Bread มี 133 สาขา มากเป็นอันดับ 2 ของเชน
- ร้าน Arby’s มี 367 สาขา มากเป็นอันดับ 1 ของเชน
- ร้าน Pizza Hut มี 937 สาขา มากเป็นอันดับ 1 ของเชน
- ร้าน Wendy’s มี 194 สาขา มากเป็นอันดับ 5 ของเชน
โดยในปีนี้ คาดว่า FRG จะมีรายได้อยู่ที่ประมาณ 109,000 ล้านบาท
ซึ่งถือเป็นบริษัทผู้ลงทุนแฟรนไชส์ร้านอาหารรายใหญ่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา
และสิ่งที่น่าสนใจ คือ เมื่อมีจำนวนสาขาในมือเยอะ ทำให้บริษัทมีความสำคัญต่อเจ้าของแบรนด์ตัวจริงมาก
เช่น กรณีของร้าน Applebee’s ที่เคยวางแผนปรับปรุงรูปแบบร้านและคิดค้นเมนูใหม่ ๆ เพื่อกระตุ้นยอดขาย หลังเผชิญภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
ซึ่งก็ได้ทาง FRG ที่ให้ความร่วมมือ ช่วยลงทุนนำร่องในสาขาตัวเอง ทำให้ Applebee’s สามารถทดลองพัฒนาไอเดียธุรกิจได้ง่ายขึ้น
นอกจากนั้นบริษัทเจ้าของแฟรนไชส์ต่าง ๆ ก็ค่อนข้างให้การยอมรับและเชื่อฝีมือการบริหารของคุณ Flynn เป็นอย่างมาก เนื่องจากเขามีความเข้าใจในธุรกิจและตั้งใจลงทุนกับแฟรนไชส์จริง ๆ
จากเรื่องราวนี้จะเห็นได้ว่า
ในบางครั้ง แม้เราไม่ได้เป็นผู้คิดค้นสินค้าขึ้นมาเอง
แต่ก็สามารถสร้างธุรกิจให้มีขนาดใหญ่ได้ ด้วยการลงทุนในร้านแฟรนไชส์
ซึ่งสิ่งสำคัญในการประกอบธุรกิจลักษณะนี้ คือ
การวางตัวเป็นพาร์ตเนอร์ ที่ช่วยสนับสนุนธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการขยายสาขาหรือทดลองผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ
ซึ่งหากทำได้ดี เราก็จะสามารถเติบโตไปพร้อม ๆ กับเจ้าของแบรนด์ได้
หรืออาจกลายเป็นคู่หูคนสำคัญ ที่แฟรนไชส์จะขาดไปไม่ได้
เหมือนกรณีของ Flynn Restaurant Group...
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.forbes.com/sites/amyfeldman/2016/08/24/the-super-sizer-how-greg-flynn-became-americas-largest-restaurant-franchisee-with-1-9b-revenues/?sh=fd192f824b92
-https://www.flynnrestaurantgroup.com/
-https://www.restaurantbusinessonline.com/financing/flynn-restaurant-group-completes-its-purchase-pizza-hut-wendys-restaurants
franchisee คือ 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最讚貼文
franchisee คือ 在 大象中醫 Youtube 的精選貼文
franchisee คือ 在 大象中醫 Youtube 的精選貼文
franchisee คือ 在 ทำอย่างไรให้ธุรกิจตัวเองเป็นระบบแฟรนไชส์ - YouTube 的美食出口停車場
... 16:14 Franchise Trend in 2022 21:23 Conclusion 24:26 แฟรนไชส์ คือ อะไร 59:32 องค์ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ 1:02:45 โอกาสธุรกิจแฟรนไชส์ 1:04:32 ... ... <看更多>
franchisee คือ 在 Top Business Consultant พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ ที่ปรึกษาธุรกิจ's post 的美食出口停車場
Licensing & Franchising แตกต่างกันอย่างไร หลายคนอาจสับสน ระหว่างสองคำนี้ แยกได้ง่ายๆ คือ Licensing คือสิทธิ์ในการใช้ตราสินค้า... ... <看更多>