發現新品種恐龍是很驚喜,但這名字也太奇怪了 XD
#恐龍 #引發恐懼 #阿根廷 #暴龍 #新品種
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過134萬的網紅Point of View,也在其Youtube影片中提到,อ้างอิง - Bikos, Konstantin และ Hocken, Vigdis. “The Roman Calendar” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.timeanddate.com/calendar/roman-calendar....
earthsky 在 氣象達人彭啟明 Facebook 的精選貼文
不知道家有毛小孩的朋友們,若有狼的血統,看到滿月,或是這幾天的滿狼月,會不會凹嗚一下。
這兩天剛好遇到滿月,美洲的印地安原住民稱為滿狼月(Full Wolf Moon),配合上這幾天很晴朗,建議您可以看看非常皎潔的月亮有什麼不同。
https://earthsky.org/tonight/full-wolf-moon-in-late-january-2021?utm_source=EarthSky+News&utm_campaign=5dd7ce3417-EMAIL_CAMPAIGN_2018_02_02_COPY_01&utm_medium=email&utm_term=0_c643945d79-5dd7ce3417-394787937
Above: Image via Indian Country Today
earthsky 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的精選貼文
"ดาวเคราะห์เรียงตัว ดาวเคราะห์น้อยเคลื่อนผ่าน ไม่ได้ทำให้เกิดภัยพิบัติ"
สัปดาห์ที่แล้ว มีสกู๊ปข่าวใหญ่ลงในไทยรัฐ ว่า ดร. ชื่อดัง ท่านนึง ออกมาทำนายว่า "ปีนี้ เกิดปรากฏการณ์ดาวเรียงตัวกันเป็นแถว ตั้งแต่ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวอังคาร ดาวศุกร์ ดาวพุธ และโลก ทำให้เกิดพลังงานนอกโลก ส่งผลให้เกิดภัยพิบัติ .. ยิ่งมีดาวเคราะห์น้อย “2020ND” เฉียดใกล้โลก จะส่งผลต่อสภาพอากาศให้เปลี่ยนแปลงฉับพลัน เกิดฝนตกหนักและแล้งผิดปกติ รวมถึงอาจมีแผ่นดินไหว .. แถมมีดาวหางโผล่มา ทำให้โลกร้อน มีโอกาสเกิดภัยพิบัติสูงมาก .. ที่ทั่วโลกเกิดความวุ่นวาย จีนและสหรัฐฯ ทะเลาะกัน ประเทศไทยเกิดการชุมนุมประท้วง ล้วนแล้วเกิดจากอิทธิพลของดวงดาว ทำให้คนใจร้อนมากขึ้น ฯลฯ” เรื่องนี้จริงหรือ !?!
ไม่จริงนะครับ !! เรื่องของดาวเคราะห์เรียงตัวกัน (planetary alignment) หรือเรื่องของดาวเคราะห์น้อยเข้าใกล้โลก หรือแม้แต่ดาวหาง ที่อ้างว่ามีผลต่ออิทธิพลของดินฟ้าอากาศของโลกให้แปรปรวน เกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ภัยพิบัติต่างๆ หรือแม้แต่ทำให้คนใจร้อนมากขึ้นนั้น เป็นแค่ความเชื่อส่วนบุคคล ไม่ใช่มาจากองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับกัน แต่อย่างไร
1. องค์การนาซ่า NASA ของสหรัฐอเมริกา ได้อธิบายเรื่องนี้ไว้ ตั้งแต่สมัยที่คนกลัวเรื่อง "ดาวเคราะห์เรียงตัวกัน ปี 2000" (ดู https://nssdc.gsfc.nasa.gov/planetary/alignment.html) ซึ่งเมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2000 ได้มีดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ มาเรียงอยู่ในแนวเดียวกันกับดวงอาทิตย์ แล้วทำให้คนออกมาทำนายกันว่าจะเกิดภัยพิบัติใหญ่ เช่น น้ำแข็งขั้วโลกละลาย น้ำท่วม พายุเฮอร์ริเคน แผ่นดินไหว ฯลฯ
องค์การนาซ่าก็ฟันธงว่า คำทำนายเหล่านั้นไม่ได้อยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อย่างไร ระยะห่างระหว่างดาวเคราะห์นั้น กว้างไกลมหาศาลเกินกว่าที่แรงโน้มถ่วง สนามแม่เหล็ก หรือรังสีจากดาวเคราะห์ จะมีผลกระทบต่อโลกได้
แรงดึงดูดที่ดาวเคราะห์แต่ละดวงจะมีต่อโลกนั้น มีค่าน้อยมากๆ จนแทบเรียกว่า ไม่อาจตรวจจับได้ .. หรือแม้ว่าจะเอาแรงทั้งหมดมารวมกัน ก็ยังน้อยกว่าแรงกระทำจากดวงอาทิตย์หรือจากดวงจันทร์ต่อโลกมากนัก เนื่องจากดาวเคราะห์เหล่านั้นอยู่ห่างไกลจากโลกมากเกินกว่าจะส่งผลใดๆ ต่อโลก
ที่ผ่านมา การเรียงตัวของดาวเคราะห์นั้น เกิดขึ้นเป็นประจำทุกๆ 50 หรือร้อยกว่าปีอยู่แล้ว แต่ก็ไม่ได้ส่งให้เกิดภัยพิบัติต่อโลกให้เราเห็น
2. ตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงการทำนายผิดๆ คือหนังสือชื่อ “The Jupiter Effect (ผลกระทบจากดาวพฤหัสบดี)” โดย John Gribbin และ Stephen Plagemann ตีพิมพ์ตั้งแต่ปี 1974 พูดถึงการเรียงตัวของดาวเคราะห์ในวันที่ 10 มีนาคม 1982 จะทำให้เกิดภัยพิบัติต่อโลก ซึ่งรวมถึงทำนายว่าจะเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ที่รอยเลื่อนซานแอนเดรียสของรัฐแคลิฟอร์เนียด้วย ... แต่ในที่สุด ก็ไม่เกิดเหตุการณ์อย่างที่ว่า แต่อย่างไร
เพจ EarthSky ได้อธิบายเรื่องนี้เอาไว้ โดยยกเรื่องแรงดึงดูดระหว่างเทหวัตถุฟากฟ้า 2 อย่าง เช่น แรงทำให้เกิดน้ำขึ้นน้ำลง (tidal force) จากแรงดึงดูดของดวงจันทร์ (https://earthsky.org/space/planetary-alignment-increase-in-volcanoes-july-2020) ระยะห่างระหว่างดวงจันทร์กับจุดศูนย์กลางของโลกนั้นประมาณ 384,000 กิโลเมตร เส้นรัศมีของโลกประมาณ 6,378 กม. ดังนั้นระยะห่างของโลกกับดวงจันทร์ที่จุดใกล้สุดคือ 384,000-6,378 = 377,622 กม. และที่สุดไกลสุดคือ 384,000+6,378 = 390,378 กม. ซึ่งต่างกันประมาณ 3%
ขณะที่ระยะห่างระหว่างโลกกับดาวพฤหัสบดีนั้นประมาณ 780,000,000 กม. ทำให้ระยะห่างระหว่างจุดใกล้สุดกับไกลสุดของโลกและดาวพฤหัสบดีนั้น แตกต่างกัน 0.0016% ซึ่งจะเห็นได้ว่าไม่ได้มีมากเพียงพอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบนพื้นโลก อย่างเช่นแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟระเบิด ได้
3. เอาเข้าจริงๆ แล้ว ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาลของเรานั้น ไม่เคยเรียงกันเป็นแนวเส้นตรง อย่างที่เห็นในรูปวาดจินตนาการกันในกระดาษ เพราะดาวเคราะห์แต่ละดวงนั้นไม่ได้โคจรรอบดวงอาทิตย์ในระนาบเดียวกัน มีมุมเอียงแตกต่างกันไปเมื่อพิจารณาเป็น 3 มิติ
เวลาที่นักดาราศาสตร์ใช้คำว่า "planetary alignment การเรียงตัวของดาวเคราะห์" นั้น พวกเขาไม่ได้หมายความว่าดาวเคราะห์มาเรียงเป็นเส้นตรงจริงๆ แต่หมายถึงการที่ดาวเคราะห์จำนวน 2-3 ดวง โคจรมาอยู่บริเวณเดียวกันบนท้องฟ้า ให้เราสังเกตได้ในเวลาเดียวกัน (จาก https://wtamu.edu/~cbaird/sq/mobile/2013/08/28/when-do-the-planets-in-our-solar-system-all-line-up/)
4. ดังนั้น ดาวเคราะห์ทั้ง 8 ของระบบสุริยะจักรวาล จึงไม่เคยมาเรียงตัวเป็นเส้นตรงพอดีอย่างที่เข้าใจกัน อย่างดีที่สุด มันก็เคยปรากฏบนท้องฟ้าในพื้นที่เดียวกันเมื่อกว่า 1000 ปีที่แล้ว (AD 949) และกว่าจะเกิดอีกครั้งก็เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ปี ค.ศ 2492
ส่วนกลุ่มดาวเคราะห์ที่ใกล้โลก อย่างดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์ ดาวเสาร์ ดาวอังคาร และดาวพุธ จะมาอยู่บนฟากฟ้าด้านเดียวกันในช่วงเดือนเมษายน ปี 2002 แล้วจะเกิดทีในอีกในวันที่ 8 กันยายน ปี 2040 ... ซึ่งแน่นอนว่า การเรียงตัวของดาวเคราะห์แบบนี้ ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อโลกแต่อย่างไร (จาก https://www.sciencefocus.com/space/do-the-planets-ever-align-with-one-another/)
5. ในส่วนของดาวเคราะห์น้อย Asteroid 2020 ND งั้น ได้เคลื่อนที่ผ่านโลกของเราไปแล้วเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ดาวเคราะห์น้อยนี้มีขนาดประมาณ 160 เมตร และเป็นที่ทราบกันว่ามันไม่ได้จะทำอันตรายอะไรกับโลก เนื่องจากระยะทางที่มันจะเข้ามาใกล้โลกมากที่สุดแล้ว ยังอยู่ห่างถึง 5,570,000 กม. ในขณะที่ระยะห่างระหว่างโลกกับดวงจันทร์นั้น อยู่ที่ 385,000 กม. ซึ่งแปลว่ามันยังอยู่ห่างไกลจากโลกมาก ถึงประมาณ 8 เท่าจากระยะห่างระหว่างโลกกับดวงจันทร์ (จาก https://m.republicworld.com/technology-news/science/asteroid-2020-nd-160-metres-in-diameter-to-approach-earth-on-july-24.html) และแน่นอนว่า ด้วยขนาดของมันที่เล็กมากก็ไม่ได้ส่งอิทธิพลอะไรต่อโลกของเราเช่นกัน
สรุปอีกทีว่า การอ้างเรื่องดาวเคราะห์เรียงตัว หรือดาวเคราะห์น้อยบินผ่านโลก แล้วจะส่งผลให้เกิดภัยพิบัติต่างๆ ต่อโลกนั้น เป็นความเชื่อส่วนบุคคล ไม่ได้เป็นที่ยอมรับของวงการวิทยาศาสตร์แต่อย่างไร
(ยิ่งถ้าอ้างว่า มีผลต่ออิทธิพลของจิตใจมนุษย์แล้ว อันนั้นยิ่งออกไปในแนวของ "โหราศาสตร์" มากกว่า "ดาราศาสตร์" นะครับ)
ภาพข่าวจาก https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1896047
earthsky 在 Point of View Youtube 的最佳解答
อ้างอิง
- Bikos, Konstantin และ Hocken, Vigdis. “The Roman Calendar” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.timeanddate.com/calendar/roman-calendar.html [ม.ป.ป.] สืบค้น 12 ธันวาคม 2562.
- “The Roman calendar”[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.tondering.dk/claus/cal/roman.php [ม.ป.ป.] สืบค้น 12 ธันวาคม 2562.
- Douma, Michael. “Early Roman Calendar” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.webexhibits.org/calendars/calendar-roman.html [ม.ป.ป.] สืบค้น 12 ธันวาคม 2562.
- EarthSky. “Why does the new year begin on January 1?”[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://earthsky.org/earth/why-does-the-new-year-begin-on-january-1 [2559] สืบค้น 12 ธันวาคม 2562.
- Ghose,Tia. “Why Do We Celebrate New Year's on Jan. 1?”[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.livescience.com/57342-why-is-new-years-january-first.html [2559] สืบค้น 12 ธันวาคม 2562.
- History.com “The Julian calendar takes effect for the first time on New Year’s Day”[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.history.com/this-day-in-history/new-years-day [2553] สืบค้น 12 ธันวาคม 2562.
- Hocken, Vigdis. “The Gregorian Calendar”[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.timeanddate.com/calendar/gregorian-calendar.html [ม.ป.ป.] สืบค้น 12 ธันวาคม 2562.
- Ronan, Colin. “The early Roman calendar” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.britannica.com/science/calendar/The-early-Roman-calendar [ม.ป.ป.] สืบค้น 12 ธันวาคม 2562.
- กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) “21 มีนาคม วันวสันตวิษุวัต กลางวันยาวเท่ากับกลางคืน”[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.narit.or.th/index.php/pr-news/1706-vernal-equinox-2015 [2558] สืบค้น 12 ธันวาคม 2562.
- - - - - - - - - - - - - -
ติดต่องาน : chananyatechajaksemar@gmail.com (งานเท่านั้น)
ทางไปซื้อสติกเกอร์ line http://line.me/S/sticker/1193089 และ https://line.me/S/sticker/1530409
ทางไปซื้อ วรรณคดีไทยไดเจสต์ http://godaypoets.com/thaidigest
ติดตามคลิปอื่นๆ ที่ http://www.youtube.com/c/PointofView
ติดตามผลงานอื่นๆได้ที่
https://www.facebook.com/pointoofview/
twitter @pointoofview
หรือ
IG Point_of_view_th
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ฟัง นิทานไทย วรรณคดีไทย สนุกๆ https://www.youtube.com/playlist?list=PLfqt6BlTNYnWUtrSsqOEiTjxVsJH_WBJl
ฟังเรื่องเกี่ยวกับ รามเกียรติ์ รามายณะ https://www.youtube.com/playlist?list=PLfqt6BlTNYnXfrgoQ5GVLgbjpzgOWplHi
Help us caption & translate this video!
https://amara.org/v/C2teW/

earthsky 在 EarthSky (EarthSkyScience) - Profile | Pinterest 的美食出口停車場
EarthSky | The EarthSky team has a blast bringing you updates on your cosmos and world! ... <看更多>
earthsky 在 EarthSky - 首頁 的美食出口停車場
EARTHSKY.ORG. Moon and Venus November 6, 7 and 8. The moon and Venus are near one another in the sky around November 6, 7 and 8, 2021. Look west. ... <看更多>