เคยไหม... เขียนโค้ดแล้วติด Bug แต่ไม่รู้จะแก้ไงดี แล้วก็วนลูปอยู่ตรงนั้นเป็นวัน? 🤔 ไม่ก็รู้สึกว่า เราเขียนโค้ดนานกว่าคนอื่น ทั้ง ๆ ที่เจอโจทย์หรือปัญหาเดียวกัน? 😔
.
👉 ปัญหาพวกนี้จะลดลง ถ้าเรา “ฝึกอ่านโค้ด”
.
เพราะในยุคที่สื่อการสอนออนไลน์เฟื่องฟูแบบนี้ ไม่ว่าใครก็เขียนโค้ดได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้หรือประสบการณ์มาก่อน แต่ “การอ่านโค้ด” นี่ตรงข้ามกับการเขียนเลย เพราะจะอ่านเข้าใจหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความรู้และประสบการณ์ของคนอ่านเป็นหลัก
.
เอาล่ะ วันนี้ก็เลยจะพาทุกคนไปดู 5 ข้อดีของการอ่านโค้ด ที่ได้อะไรมากกว่าเขียนอย่างเดียว ถ้าพร้อมก็ไปกัน ! 🔥
.
.
📍 1) ออกจากกรอบแนวคิดเดิม ๆ
.
ทุกคนมีความคิดที่ต่างกัน รวมถึงโปรแกรมเมอร์ด้วย ถึงเจอโจทย์เดียวกัน ก็ไม่ได้แปลว่าทุกคนจะเขียนโค้ดออกมาเหมือนกัน ดังนั้น การอ่านโค้ดจึงเป็นวิธีที่ดีมากในการศึกษา ทำความเข้าใจความคิดของโปรแกรมเมอร์คนอื่น รวมถึงได้วิธีเขียนโค้ด/แก้ปัญหาเด็ด ๆ ที่เราอาจคาดไม่ถึง !
.
ยิ่งเราอ่านเยอะแค่ไหน กรอบความคิดเราก็จะยิ่งขยายมากขึ้น นอกจากจะได้แนวคิดใหม่ ๆ ไปปรับใช้กับการเขียนโค้ดแล้ว เราอาจจะคิดอะไรที่เจ๋ง ๆ ออกอีกด้วย แถมพอรู้เทคนิคเยอะ ๆ เราก็จะประหยัดเวลาเขียนโค้ดขึ้นไปอีก ถ้าปัญหานั้นเราเคยอ่านวิธีแก้มา 😂
.
.
📍 2) เราจะเขียนโค้ดได้ Clean มากขึ้น
.
บางคนอาจจะรู้สึกว่า “เขียนโค้ดไม่ดีแล้วไง แค่ใช้ได้ก็พอไหม?” ซึ่งคำตอบของเรื่องนี้ ก็ขึ้นอยู่กับโปรเจกต์ที่เราทำ ถ้าโค้ดชุดนั้นเป็น Prototype ที่ทำขึ้นมาเพื่อให้รู้ว่าโปรเจกต์นั้นจะเป็นประมาณไหน มันก็อาจไม่ได้เป็นไรมากนัก เพราะไม่ได้หยิบโค้ดชุดนี้ไปใช้ใน Product จริง
.
แต่สมมติว่าโค้ดชุดนั้น อยู่ในโปรเจกต์ที่มีคนอื่นทำกับเราด้วย แถมต้อง Maintain ในอนาคตล่ะ? 🤔 การเขียนโค้ดที่ทำความเข้าใจได้ง่าย ๆ ก็ย่อมดีกว่ากับเคสแบบนี้
.
แล้วถ้าเราเป็นคนนึงที่รู้สึกว่า การเขียนโค้ดให้อ่านง่าย ไม่ซับซ้อน ราวกับถูกวางไว้มาเป็นอย่างดีนั้นมันช่างยากซะเหลือเกิน... การอ่านโค้ดเนี่ยแหละ คือจุดเริ่มต้นที่จะทำให้เราเขียนโค้ดอ่านง่ายได้ !
.
การอ่านโค้ดของคนอื่น (ที่เขียนโค้ดได้ดี) จะทำให้เราได้เสพโค้ดที่มีคุณภาพ และถ้าเราอ่านบ่อยจนเป็นนิสัย ก็เหมือนเราได้ศึกษาโค้ดคุณภาพแบบซ้ำ ๆ จนถึงจุดที่เราอ่านมากพอประมาณนึง ถ้าเจอโค้ดที่รันไม่ผ่าน เราก็จะรู้ว่าทำไมโค้ดนั้นรันไม่ผ่าน กลับกันถ้าเจอโค้ดที่รันผ่าน เราก็จะเข้าใจเหมือนกันว่าทำไมโค้ดนี้จึงรันผ่าน 👏
.
สรุปแล้ว การอ่านโค้ดจะทำให้เราเข้าใจว่า เราควรทำยังไงกับโค้ดตัวเอง ถ้าอยากให้โค้ดนั้นมัน Clean และมีคุณภาพนั่นเอง
.
.
📍 3) เพิ่มสกิล Analytical Intelligence
.
“Analytical Intelligence” หรือแปลไทยตรง ๆ ว่า ความฉลาดด้านการวิเคราะห์ 😎 คือความสามารถในการวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ รอบตัว โดยโฟกัสที่การย่อยข้อมูลเหล่านั้น เช่น ถ้าเจอปัญหา ทักษะนี้จะช่วยหาจุดเริ่มต้น ขุดไปจนถึงสาเหตุของปัญหา แล้วคิดวิธีแก้ พร้อมประเมินผลที่คาดหวังจะได้รับ เพื่อหาความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหานี้
.
และนี่เป็นสิ่งที่โปรแกรมเมอร์ควรจะมี และจำเป็นยิ่งขึ้น ถ้างานที่ทำมีความซับซ้อน ซึ่งหนึ่งในวิธีที่ช่วยเพิ่มทักษะนี้ได้ ก็คือ “การอ่านโค้ด” นั่นเอง เพราะตอนที่เราต้องอ่านและพยายามทำความเข้าใจโค้ดตรงหน้า คือช่วงเวลาแห่งการฝึกใช้ Analytical Intelligence กว่าจะเข้าใจโค้ดเขา ก็ต้องวิเคราะห์ทั้งปัญหาที่เขาจะแก้ ตามด้วยการวิเคราะห์โค้ดที่เขาใช้ แล้วไปเทียบกับผลลัพธ์ตอนรันได้อีก โอ้โห นี่แหละ ! เวลาทองแห่งการอัปความฉลาด !! 📈
.
.
📍 4) ฝึกสกิล Debug ไปในตัว
.
ชาว BorntoDev เคยเจอ Error หรือ Bug ตอนเขียนโปรแกรมกันไหม? …เชื่อแหละว่าต้องเคยกันสักครั้ง แล้วเพื่อน ๆ คิดว่าคนที่โปรแกรมเมอร์ที่แก้ Error หรือ Bug กันเก่ง ๆ เขามีอะไรที่คนอื่นไม่มี? 🤔
คำตอบก็คือ ทักษะการ Debug นั่นเอง (ก็ใช่สิแอด จะแก้ Bug ก็ต้องมีทักษะแก้ Bug ไม่ใช่เหรอ !)
.
ทุกคนอย่าเพิ่งเลื่อนโพสต์หนีแอด ;-; ! ที่แอดบอกมันฟังดูเบสิกใช่ไหม? แต่ความจริงทักษะการ Debug เป็นทักษะที่ต้องใช้ประสบการณ์เยอะ แถมยังต้องฝึกเป็นประจำอีกต่างหาก ซึ่ง “การอ่านโค้ด” ช่วยเราได้อีกแล้ว
.
Debugging ทักษะนี้สร้างได้ด้วยมือเรา 🙌 เพราะประสบการณ์ไม่ได้มาจากในห้องเรียนหรือการทำโปรเจกต์จริงเท่านั้น แต่เราสามารถอ่านโค้ดของคนอื่น แล้วสวมบทเป็นนัก Debug 🧑💻 เพื่อลองปรับและแก้ Error ของโค้ดนั้นได้ ในทางกลับกัน ถ้าไปเจอโค้ดที่คนเขียน Debug เก่งมาก เราก็สามารถใช้การอ่านเพื่อศึกษาแนวคิดของเขาได้เช่นกัน
.
.
📍 5) อ่าน Source Code เร็วขึ้น
.
การอ่าน Source Code ได้ไว เป็นสิ่งที่โปรแกรมเมอร์ควรจะมี และยิ่งอ่านได้ไวแค่ไหน ก็ยิ่งเข้าใจโปรเจกต์ที่ต้องรับผิดชอบไวมากขึ้น ถ้าเพื่อน ๆ รู้สึกว่าตัวเองยังอ่าน Source Code ไม่เร็ว หรืออยากพัฒนาสกิลนี้ ก็ต้องฝึกอ่านโค้ดให้เป็นนิสัย เพราะโปรแกรมเมอร์ที่มีประสบการณ์จะอ่านโค้ดได้เร็วขึ้นนั่นเอง~ และทักษะนี้จะเป็นประโยชน์กับชีวิตโปรแกรมเมอร์ของคุณแน่นอน 😊
.
.
👉 แอดอยากบอกทุกคนว่า อย่ากลัวที่ต้องเริ่มฝึกอ่านโค้ด แอดรู้ว่ามันยากและต้องใช้เวลา แต่ถ้าเราอยากให้เรื่องไหนง่ายขึ้น เราก็ฝึกฝน ทำมันบ่อย ๆ จนเข้าใจใช่ไหมล่ะ? เพราะมืออาชีพคือคนที่รอบรู้ในอาชีพนั้นทั้งมุมที่สำเร็จและผิดพลาด แล้วเพื่อน ๆ จะกลายเป็นโปรแกรมเมอร์มืออาชีพในอนาคตได้แน่นอน แอดจะเป็นกำลังใจให้ตรงนี้นะคะ
.
🔖 ขอบคุณข้อมูลจาก
https://betterprogramming.pub/6-reasons-why-reading-code-is-more-important-than-writing-21e7b0b62203
.
borntoDev - 🦖 สร้างการเรียนรู้ที่ดีสำหรับสายไอทีในทุกวัน
#การเขียนโปรแกรม #การเขียนโค้ด #Coding #BorntoDev
debug error 在 THÉM Facebook 的精選貼文
官網異常公告
• 團隊預計於 2 小時內完成修復
#技術團隊搶救中
【 緊急公告 】
官方網站目前出現異常情形,此部分經確認為系統問題導致使用異常,我們的技術團隊已經著手進行緊急維修,預計 2 小時內便能恢復正常,維修期間不會影響已經結帳之預定、現貨商品貨運情形,近日使用上若造成不佳的使用體驗敬請見諒,有任何下單、購買上的問題都可以先至Facebook粉絲專頁私訊小編進行詢問哦!
-
#Emergencyannouncement #Sorryforyourinconvenience #Debug #Error
debug error 在 โปรแกรมเมอร์ไทย Thai programmer Facebook 的最讚貼文
💥 โปรแกรมยิ่งเขียน ยิ่งมีบั๊ก (Bug)
แล้วที่นี้เราจะค้นหามัน ประดุจหนึ่งจับกิ๊กแฟนได้อย่างไร
มาม่ะ เดี่ยวบทความนี้จะบอกว่าวิธี How to กัน
.
👀 1) ง่ายสุด คือจับโกหกแฟน
เวลาเราอยู่กับแฟน ก็ต้องหมั่นสังเกตแฟนให้ดีๆ
เมื่ออีกฝ่ายโกหก ภาษากายจะออกมาทางใบหน้า หรือกิริยาท่าทาง
.
การเขียนโปรแกรมก็เช่นเดียวกันครับผม
โดยเฉพาะบั๊ก ที่ทำให้โปรแกรมมันตาย
เพื่อนๆ เชื่อดิ ตัวแปลภาษา หรือตอนโปรแกรมกำลัง Run
มันแทบจะแจ้ง error บอกสาเหตุของโปรแกรมที่พัง
รวมทั้งชี้เป้าบรรทัดที่เกิดเหตุว่าอยู่ส่วนไหนของโค้ด
.
ถ้าเราใส่ใจเหมือนจับโกหกแฟน
โปรดอ่านสักนิดหนึ่ง ก็จะค้นหาบั๊กได้ไม่ยาก
แต่ถ้า error ที่แทบจะทิ่มตาอยู่แล้ว เราละเลยไม่ยอมอ่าน
ก็จะหาบั๊กไม่ได้ครับผม เหมือนแฟนโกหกอะไรมา
เราก็โลกสวยเกิ๊น แล้วอยากนี้จะจับผิดได้ยังไง
.
🏃♂ 2) ถ้าวิธี 1 จับโกหกแล้วแฟนตีเนียน ไม่มีพิรุธ
ก็ลองมาตามติดแฟนทุกฝีเก้าแทนซิ
.
ชีวิตสมัยนี้การตามติด ไล่เช็กแฟนได้ง่ายมาก และหลายวิธีด้วย
เช่น โทรถามหามันอยู่ไหน ลองวีดีโอคอลหามันดู
แอบส่งว่ามันเช็คอินที่ไหน แอบดูในมือถือ ดูสลิปกดเงิน วิธีโน่นนี้นั่นเยอะมากมาย
.
ในการเขียนโปรแกรมก็เช่นกัน บางทีอ่าน error ก็ยังหาบั๊กไม่ได้เนอะ
อาจต้องลงทุนตามติดการทำงานโปรแกรม
ด้วยการปริ๊น log ไฟล์ออกมา
ไม่ว่าจะเป็น log ของเราที่เขียนเอง
หรือ log ของเซิร์ฟเวอร์ก็ตามทีเถอะ
.
พยายามปริ๊นเท่าที่จะทำได้
แล้วอ่านวิเคราะห์จาก log ก็จะช่วยหาบั๊กได้อีกแรง
แน่นอนวิธีนี้เราอาจต้องเขียน log จนเหมื่อยมือ
ไม่ต่างกับการตามติดแฟนทุกฝีก้าว
บางทีก็เหนื่อย แต่ทำไงได้ ถ้ามันช่วยจับผิดได้
.
🧐 3) ถ้าเจอแฟนระดับเทพเกิน ข้อ 1 กับ 2 ยังไงก็จับไม่ได้
งั้นเปลี่ยนไปพึ่งนักสืบหากิ๊กแล้วกัน
ให้เขาตามติดแฟนเราทุกฝีก้าว
แล้วรายงานข้อมูลแฟนอย่างละเอียด ว่าอยู่ที่ไหน ทำอะไร กินข้าวกับใคร เป็นต้น
.
การเขียนโปรแกรมก็เช่นเดียวกันครับ
เมื่อเจอบั๊กขั้นเทพ หลบซ่อนเก่งจัง
ก็คงต้องใช้ debug เปรียบเสมือนนักสืบหากิ๊ก
มันเป็นเครื่องมือของทุกภาษา ที่จะตามติดการทำงานของโปรแกรมทุกฝีก้าว
สามารถหยุดดูโปรแกรมทำงานเมื่อไรก็ได้ แล้วดูข้อมูลของตัวแปรในเวลานั้นเลย
คิดอะไรไม่ออก debug คือท่าไม้ตายช่วยหาบั๊กที่น่าทึ่ง
ที่สำคัญไม่ต้องเสียเงินจ้างนักสืบตามจับกิ๊กแฟนด้วย
.
👫 4) สำหรับข้อ 1, 2, 3 บางคนก็ขี้เกียจทำ
งั้นก็ลองใช้วิธีง่ายสุดนี้ดู ...ก็คือการเปรียบเทียบ
.
ลองเปรียบเทียบแฟนเราเมื่อก่อนกับปัจุบันดูดิ
เช่น เมื่อก่อนตัวเองโทรหาเค้าทุกวัน ทำไมเดี่ยวนี้ตัวเองเปลี่ยนไป
เมื่อก่อนชอบชวนเค้าไปกินข้าวบ่อยๆ แต่เดี่ยวนี้ตัวเองอ้างว่าทำแต่งาน
อันนี้เขาเรียกว่า comparative thinking
เป็นการใช้ความคิดเชิงเปรียบเทียบ ในการจับผิดแฟน
.
การเขียนโปรแกรมก็เช่นเดียว เราสามารถหาบั๊ก
โดยไม่ต้องลงมืองมหาในโค้ดก็ได้ แค่ใช้ "ความคิดเชิงเปรียบเทียบ"
เช่น สมมติวันนี้โปรแกรมเรา error ใช้การไม่ได้ ทั้งที่เมื่อวานยังทำงานได้เลย
เราก็อาจลองเปรียบเทียบเมื่อวานนี้กับวันนี้ มันต่างกันอย่างไร
.
เช่น เราเพิ่งเปลี่ยนคอนฟิค หรือเพิ่งแก้โค้ดบรรทัดนี้ไป หรือเราเพิ่งแก้ฐานข้อมูล เป็นต้น
ลองเปรียบเทียบดูว่ามันมีเหตุการณ์อะไรต่างกัน อย่างไร
วิธีนี้จะช่วยลดขั้นตอนหาบั๊ก โดยไม่ต้องงมโค้ดให้เยอะแบบหวานแห
เพราะบางทีสาเหตุที่เกิด อาจไม่ใช่ที่โค้ดเราก็เป็นได้
.
💓 5) จับกิ๊กแฟนมันเหนื่อยนะ
การอยู่เฉยๆ นี้แหละ ไม่ต้องไปตามสืบ ตามจับผิดหรอก
เดี่ยวเราก็จะรู้แจ้งว่าแฟนมีกิ๊กซะงั้น
เช่น ฝันเห็นเอง หมอดูมาบอก มีคนมาบอก แฟนอยู่ดีๆ มาสารภาพเอง กิ๊กมาบอกเอง เป็นต้น
.
การเขียนโปรแกรม มันจะมีห้วงเวลาหาบั๊ก หาเท่าไรไม่เจอสักที
งมทั้งวัน จนคุณรู้สึกท้อ งั้นก็หยุดหาซะทีเถอะ พอกันที...
ไปผ่อนคลาย นั่งดูทีวี เดินเล่น อาบน้ำ นั่งถ่ายปลดทุกข์ นอนหลับซะงีบ เป็นต้น
เพราะความคิดดีๆ มักจะปิ๊งแว็บ ในห้วงเวลาสมองเราผ่อนคลายที่สุด
ทำให้รู้ว่าโปรแกรมเรามันผิดตรงไหน ค้นหาบั๊กได้ชนิดคาดไม่ถึง เชื่อผมดิ
.
😍 สุดท้ายก็หวังว่า 5 ข้อจะเป็นวิธี How to หาบั๊กได้อีกแรงนะครับ
แต่ลืมบอกไปมีกิ๊กในชีวิตจริงไม่ดีหรอกครับ 🙅♂🙅♂🙅♂
มันผิดศีลธรรม ทำให้คนรักเสียใจ
ทว่าการมีบั๊กในซอฟต์แวร์ เป็นเรื่องปกติ
อย่าไปกลัวมัน ยิ่งมีมัน เรายิ่งมีงานให้ทำครับผม
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านนะครับ
.
เขียนโดย โปรแกรมเมอร์ไทย thai programmer
++++ขอฝากประชาสัมพันธ์++++++
คอร์สเขียนโปรแกรมให้กับคนที่มีพื้นฐานติดลบ แบบตัวต่อตัว
👉 เน้นสอนคนที่มาจากสายนอกนอกคอม
👉 เช่น แพทย์ อักษร นิติ นิเทศ ศิลปะ รัฐศาสตร์ บัญชี เป็นต้น
👉 ขอแบบที่ไม่คิดว่า ชาตินี้ตัวเองจะเรียนเขียนโปรแกรมรู้เรื่องนะ
👉 โดยจะขอเลือกภาษาที่มันมีงูออกมาอย่าง Python มาสอนเนอะ
แล้วจะพยายามอิงเนื้อหา Python
ที่อยู่ในวิชา "วิทยาการคำนวณ" ของเด็กม.ต้น ทั่วประเทศ
เดี่ยวรายละเอียดแจ้งให้ทราบอีกที