กรณีศึกษา BBIK กับการเป็น IPO คอนซัลต์ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันตัวแรกของไทย
Bluebik x ลงทุนแมน
ถ้าถามว่าปัจจัยที่ 5 ในการดำเนินชีวิตยุคนี้คืออะไร
หนึ่งคำตอบของใครหลายคนก็คือ เทคโนโลยีดิจิทัล
ปัจจุบันคนไทย 70% ของประเทศกำลังใช้งานอินเทอร์เน็ตเฉลี่ยเกือบ 9 ชั่วโมงต่อวัน
สูงเป็นอันดับที่ 9 ของโลก
ผลที่ตามมาคือ ฐานข้อมูลจำนวนมหาศาลที่เรียกว่า Big Data
รวมทั้งพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอยู่บนโลกออนไลน์มากขึ้นเรื่อย ๆ
ทำให้ผู้ประกอบการหลากหลายอุตสาหกรรมต่างต้องปรับตัวครั้งใหญ่ เพื่อตามทันโลกดิจิทัล
เรื่องนี้กำลังเป็นโอกาสทางธุรกิจครั้งใหญ่ของกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีดิจิทัล
หนึ่งในนั้นคือ Bluebik องค์กรเล็ก ๆ ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จขององค์กรขนาดใหญ่ใน SET 100 และ SET 50
เช่น กลุ่มธนาคารพาณิชย์, กลุ่มธุรกิจประกัน, กลุ่มค้าปลีก และกลุ่มสื่อสาร
เพื่อช่วยให้สามารถแข่งขันได้ และผลักดันให้เกิดการเติบโตในระยะยาวได้
โดยล่าสุด Bluebik กำลังจะ IPO ในชื่อ BBIK (อ่านว่า บี-บิก) ในตลาดหลักทรัพย์ MAI
ซึ่งจะกลายเป็น บริษัทที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation ตัวแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อีกด้วย
ความน่าสนใจของธุรกิจนี้ จะเป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
Digital Transformation เป็นอีกหนึ่งคำคุ้นหูในช่วงเวลานี้
ซึ่งก็คือ การเปลี่ยนแปลงองค์กรแบบพลิกโฉมด้วยเทคโนโลยี เพื่อเข้าสู่โลกดิจิทัล
หลายองค์กรมักจะจ้างที่ปรึกษาหรือ Consulting Firm เข้ามาช่วยดูแล
ซึ่งก็แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ คือ
- ที่ปรึกษาด้านการวางกลยุทธ์ในระดับผู้บริหารหรือ C-Level
ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทที่ปรึกษามีชื่อเสียงระดับโลก เช่น McKinsey, BCG
มักจะมีค่าใช้จ่ายสูง เน้นบริการด้านกลยุทธ์ แต่อาจจะขาดการให้คำปรึกษาด้านการดำเนินการ
- ที่ปรึกษาด้านการดำเนินการ ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจสัญชาติไทย
ที่มีความเชี่ยวชาญในงานระบบเฉพาะด้านตามความต้องการของลูกค้า
แต่ปัญหาก็คือ มักจะขาดความเชี่ยวชาญด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์
สังเกตไหมว่าตลาด Consulting Firm กำลังมีช่องว่างที่น่าสนใจเกิดขึ้น
และนั่นจึงเป็นที่มาของ Bluebik หรือก็คือ บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
ธุรกิจที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation ครบวงจร ที่มีบริการ 5 ด้าน ตั้งแต่ต้นน้ำไปยังปลายน้ำเรียกว่า End-to-End Consulting Firm เป็นเจ้าแรกในประเทศไทย
แล้วบริการ 5 ด้านแบบ End-to-End Consulting Firm ของ Bluebik น่าสนใจอย่างไร ?
1. ที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์และการจัดการ หรือ Management Consulting
เช่น กำหนดทิศทางกลยุทธ์ธุรกิจ, ค้นหาปัจจัยความสำเร็จทางธุรกิจ, กลยุทธ์สร้างมูลค่าเพิ่ม
2. ที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการโครงการเชิงยุทธศาสตร์ หรือ Strategic PMO
เช่น บริหารโครงการขนาดใหญ่, วางโครงสร้างระบบไอทีภายในองค์กร
3. ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาระบบดิจิทัลและให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยี หรือ Digital Excellence and Delivery
เช่น การออกแบบประสบการณ์ของผู้ใช้งานและส่วนติดต่อระหว่างผู้ใช้กับระบบ (UX/UI) บนหน้าเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน
4. ที่ปรึกษาด้านการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ และการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงด้วยปัญญาประดิษฐ์ หรือ Big Data & Advanced Analytics เช่น การวางโครงสร้างพื้นฐานข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ด้วย AI
5. ให้บริการทรัพยากรบุคคลชั่วคราวด้านไอที หรือ IT Staff Augmentation เช่น พนักงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านไอทีอย่างโปรแกรมเมอร์ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
พูดง่าย ๆ ว่า Bluebik มีบริการครบถ้วนที่จะเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่โลกดิจิทัลได้ทุกรูปแบบ
สะท้อนถึงความเป็นมืออาชีพตัวจริงในวงการที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation นั่นเอง
ที่สำคัญไม่เพียงจะมี “รูปแบบบริการ” ครบถ้วนทุกขั้นตอนตอบโจทย์ยุค Digital Economy
แต่ Bluebik ยังมี “บุคลากรทำงาน” ที่เป็นตัวจริงในวงการธุรกิจ อีกด้วย
เราจึงเห็น “บอร์ดบริหาร” ล้วนเป็นแนวหน้าหลากหลายธุรกิจชั้นนำของประเทศไทย เช่น
- คุณธนา เธียรอัจฉริยะ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของธนาคารไทยพาณิชย์ และบริษัทในเครือ SCB 10X
- คุณครรชิต บุนะจินดา ซึ่งเป็นกรรมการธุรกิจค้าปลีกชั้นนำ เซ็นทรัล, โรบินสัน
- คุณชลากรณ์ ปัญญาโฉม ซึ่งเป็นกรรมการธุรกิจสายงานดิจิทัลทีวีชั้นนำ เวิร์คพอยท์
- คุณวศิษฐ์ กาญจนหัตถกิจ ซึ่งมีประสบการณ์ด้านธุรกิจสินเชื่อรายย่อย ศรีสวัสดิ์
- คุณพงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจสื่อมากกว่า 20 ปี
รวมทั้ง “ทีมผู้บริหารและพนักงาน” ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรง อายุน้อย แต่มากประสบการณ์
จากธุรกิจที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลกกว่า 100 คนมารวมกัน
ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะสร้างความน่าเชื่อถือ และความมั่นใจให้กับลูกค้าได้
จึงไม่แปลกใจที่กลุ่มลูกค้า Bluebik ล้วนเป็นธุรกิจยักษ์ใหญ่ใน SET 100 และ SET 50
เช่น กลุ่มธนาคารพาณิชย์, กลุ่มธุรกิจประกัน, กลุ่มค้าปลีก และกลุ่มสื่อสาร
โดยล่าสุด Bluebik ยังได้ร่วมทุนกับ OR ในเครือธุรกิจ ปตท.
จัดตั้งธุรกิจ ORBIT Digital ที่มีทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท
โดยมีสัดส่วนหุ้น Bluebik : OR เท่ากับ 60:40
เป้าหมายก็เพื่อก้าวทันโลก ต่อยอดธุรกิจที่จะสร้างรายได้เติบโตในยุค Digital Economy อีกด้วย
มาถึงตรงนี้ จะเห็นได้ว่า Bluebik เป็นอีกหนึ่งดวงดาวจรัสแสง
ที่ครบถ้วนด้วยบริการเต็มรูปแบบ พร้อมด้วยบุคลากรทำงานคุณภาพ
และกำลังเดินเคียงข้างองค์กรธุรกิจชั้นนำของประเทศไทยสู่ Digital Transformation
แล้วผลประกอบการ Bluebik เป็นอย่างไร ?
ปี 2561 รายได้รวม 133 ล้านบาท กำไรสุทธิ 19 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้รวม 185 ล้านบาท กำไรสุทธิ 32 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้รวม 201 ล้านบาท กำไรสุทธิ 44 ล้านบาท
ส่วนในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ มีรายได้จากการขายและบริการ 126.92 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 39.47% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และกำไรสุทธิ 30.06 ล้านบาท คิดเป็นอัตราทำกำไรสุทธิที่ 23.67%
จะเห็นได้ว่า Bluebik มีรายได้และกำไรสุทธิเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ยังมีงานในมือ (Backlog) 161 ล้านบาท ที่จะทยอยรับรู้รายได้ภายใน 1-2 ปีนี้
ทั้งนี้ ยังไม่ได้นับรวมรายได้ที่จะมาจาก ORBIT Digital จากการร่วมมือกับ OR อีกด้วย
มาถึงตรงนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า เรากำลังเดินทางเข้าสู่โลกดิจิทัลมากขึ้นเรื่อย ๆ
รู้หรือไม่ว่า ตลาด Digital Transformation ในประเทศไทยปี 2564
ถูกคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่า 280,000 ล้านบาท และจะขยายตัวเป็น 442,000 ล้านบาทในอีก 4 ปีข้างหน้า
ภายใต้เทรนด์ Digital Transformation ที่กำลังเปลี่ยนโลกนี้เอง
เราจะได้เห็น Bluebik หรือ BBIK หุ้นที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation ตัวแรกของประเทศไทย จะนำพาธุรกิจก้าวเข้าสู่ยุคใหม่นี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
ด้วยจุดเด่นด้านบริการ End-to-End Consulting Firm และทีมบุคลากรคุณภาพระดับผู้บริหาร และระดับบุคลากรทำงาน
ซึ่งโอกาสเติบโตของ Bluebik หรือ BBIK หุ้นที่กำลังจะ IPO ในครั้งนี้ อาจจะกลายมาเป็นธุรกิจยักษ์ใหญ่ ในตลาด Consulting Firm ระดับโลก ด้าน Digital Transformation ก็เป็นได้..
คำเตือน: บทความนี้ไม่ได้เป็นการชี้นำให้ซื้อหรือขายหุ้นนี้แต่อย่างใด การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
Reference
- บทสัมภาษณ์ผู้บริหาร บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
bcg digital transformation 在 BCG in Taiwan Facebook 的最佳解答
#IWD2021 #InternationalWomensDay #ChoosetoChallenge #WomenatBCG
後疫情時代,企業必須建立韌性和重新想像未來的成長模式。確保組織裡的多樣性和包容性(diversity and inclusion),是達成這兩個目標的成功要素。
BCG董事總經理暨全球合夥人陳美融(Mei Jung)擁有電機工程背景,在加入顧問業前,是德州儀器的研發工程師。她一直在協助企業進行端到端的數位轉型,也專長於消費者體驗旅程再造,協助組織將創新能力內化至跨職能單位。
在CAREhER國際婦女節論壇上,BCG很榮幸和各領域發光的領導者及經理人齊聚一堂。美融在疫情時代的領導力座談上分享了組織不斷學習的關鍵:
- Reskilling: 借助數位化動能,推動員工重塑技能
- Agile: 圍繞著卓越中心(Center of Excellence)的敏捷團隊
- Multi-disciplinary: 跨專業的團隊協作
她也提到,女性領導展現了不同面貌的自信:「以傾聽及共創取代說服的影響力、用關懷同理心取代威權的領導力。這也是我努力的目標。」
In this rapidly changing world, building resilience and reimagining new business model for growth are most important. The foundational elements to achieve both is diversity and inclusion.
BCG's Managing Director and Partner Mei-Jung has been supporting companies implement end-to-end digital transformation to adapt to the post-COVID world. At CAREhER's International Women's Summit, Mei-Jung shared keys to building a learning organization for the future: Reskilling, Agile and Multi-disciplinary teamwork. She also points out the strengths of female leadership - "Women leaders show confidence in different ways. They influence by listening, and lead with care and empathy. This is also what I am striving to achieve."
bcg digital transformation 在 Scholarship for Vietnamese students Facebook 的最佳解答
#HannahEdJob NGHỀ TƯ VẤN QUẢN TRỊ (MANAGEMENT CONSULTING) LÀ GÌ?
Schofans ơi các em có nghe tới ngành/nghề Management Consulting (MC) chưa nà? Ở các nước phát triển thì MC là một trong những ngành được sinh viên tốt nghiệp khao khát nhất, bên cạnh Investment Banking. Hiện tại theo chị thấy thì, nền kinh tế Việt Nam càng phát triển, thì nhu cầu MC cũng càng tăng. Và các tập đoàn lớn đang mở rộng mảng MC ở VN rồi đấy! Một điều đặt biệt nữa là MC tuyển sinh viên từ mọi ngành học, không phân biệt là Economics, Business, Marketing, Health, Medicine, Engineering, IT, Law, Arts, ... gì cả. Hôm nay chị giới thiệu sơ về các ngạch nhỏ trong MC nhé. Chị làm PwC ngày xưa cũng được coi là một công ty tư vấn đó. Với chị chơi với rất nhiều bạn, anh chị học ra xong làm ở các firm lớn như BCG, McKinsey nữa.
___________________________________
1. Giới thiệu chung:
Management Consulting [MC], hay Tư vấn Quản trị, là dịch vụ giúp các doanh nghiệp giải những vấn đề ảnh hưởng đến hiệu suất vận hành. Nói chung chung thì giống như là bác sĩ cho doanh nghiệp vậy đó. MC khá rộng và bao gồm nhiều mảng khác nhau.
Nói thì có vẻ khó hiểu, nhưng lấy ví dụ thì các bạn có lẽ dễ hiểu hơn ha. Ví dụ như:
- Một doanh nghiệp A đang bị giảm lợi nhuận (profit margin), và muốn tìm hiểu vì sao.
- Một tập đoàn B đến từ Singapore, và muốn thâm nhập thị trường Việt Nam, và muốn tìm hiểu về thị trường và cách thức vào thị trường VN (market entry, go-to-market).
- Một tập đoàn C muốn phát triển chiến lược 5 10 năm.
- Chính phủ tỉnh D muốn xây dựng 1 chiếc sân vận động, và muốn biết giá trị tạo ra từ sân vận động đó.
2. Strategy Consulting: (Tư vấn chiến lược)
Tư vấn chiến lược chính là mảng lớn nhất và mảng chiếm vai trò quan trọng nhất trong MC. Tư vấn chiến lược tựa như là cơ quan đầu não của mọi hoạt động í. Những Consultants sẽ đưa ra chiến lược phát triển hoặc cải tổ cho một cơ quan/tập đoàn/nhà nước. Nó cũng bao gồm một số mảng nhỏ như:
- Corporate Strategy: chiến lược phát triển doanh nghiệp dài hạn.
- Economic Policy: tư vấn chính sách công cho nhà nước.
- M&A: tư vấn trong những thương vụ mua bán & sáp nhập.
- Digital Transformation, S&O, Business Model Transformation, etc.
Một số tập đoàn nổi tiếng ở lĩnh vực này: McKinsey, Boston Consulting Group, Bain, Accenture, A.T. Kearney, Oliver Wyman, ... Big 4 cũng có team nhỏ làm về mảng này, như Deloitte có Monitor Deloitte, EY có EY-Partheon, PwC có Strategy&, ...
3. Operations Consulting: (Tư vấn vận hành)
Nếu tư vấn chiến lược là về khía cạnh hơi vĩ mô thì Tư vấn vận hành sẽ tập trung sâu vào những khía cạnh cụ thể của một doanh nghiệp, ví dụ như:
- Sales & Marketing
- Supply Chain
- Restructuring
- Sourcing & Procurement
- Business Process
- Technology
- Customer & Operations
- Risk
- etc.
Một số tập đoàn lớn trong lĩnh vực này: Big 4 (KPMG, EY, Deloitte, PwC), Accenture, Capgemini, ...
4. HR Consulting: (Tư vấn Nhân sự)
Ô nô các bạn đừng nhầm lẫn HR Consulting chỉ là đi làm HR cho 1 công ty hay là đi tuyển người nha. HR Consulting sẽ giúp cải tổ và phát triển bộ máy nhân sự cho cả một tập đoàn đó. Ví dụ như làm sao để tuyển người giỏi, làm sao để giữ chân nhân tài, làm sao để thay đổi văn hóa công ty, vân vân mây mây đó.
Ví dụ một số tập đoàn lớn thì có Korn Ferry (có ở VN), Mercer, Hay Group, Accenture, etc.
Mong là qua bài viết này, các bạn hiểu hơn một xíu về nghề tư vấn quản trị. Nếu có bạn nào có kinh nghiệm thêm về mảng này có thể comment cho các bạn khác cùng biết nha.
<3 Like page, tag và share cho bạn bè cả nhà nhé <3
#HannahEd #duhoc #hocbong #sanhocbong #scholarshipforVietnamesestudents