ฝน (ดาว) ตกอีกแล้ว
คืนนี้คงหนาวกว่าคืนไหน ๆ ...
ค่ำคืนวันที่ 21 ตุลาคม เกิดปรากฏการณ์ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ (Orionids meteor shower) มีศูนย์กลางกระจายตัวที่กลุ่มดาวนายพราน มีอัตราการตกสูงสุดอยู่ประมาณ 20 ดวงต่อชั่วโมง
สามารถสังเกตได้ทั่วประเทศไทย โดยมองไปที่ท้องฟ้าทางทิศตะวันออก เหนือดาวบีเทลจุส บริเวณแขนของนายพราน สังเกตได้ตั้งแต่เวลา 23:00 น. ของคืนวันที่ 21 ถึงรุ่งเช้าวันที่ 22 ตุลาคม
ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ เกิดจากโลกเคลื่อนที่ผ่านเส้นทางการโคจรของดาวหางฮัลเลย์ (1P/Halley) ซึ่งในครั้งที่ดาวหางฮัลเลย์เคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ในปี 1986 นิวเคลียสของดาวหาง ซึ่งประกอบด้วย ฝุ่น หิน น้ำแข็ง กระจัดกระจายจำนวนมาก
เมื่อโลกเคลื่อนที่ผ่านในเส้นทางที่ฮัลเลย์เคยเฉียดเข้ามา แรงโน้มถ่วงของโลกจึงได้ดึงดูดองค์ประกอบต่าง ๆ ที่หลงเหลือไว้ให้ตกลงมาเสียดสีผ่านชั้นบรรยากาศโลก ทำให้เห็นเป็นกลุ่มแสงสว่างวาบตกลงมาหลาย ๆ ครั้ง มองดูคล้ายฝนจากดวงดาว เป็นที่มาของการเรียกว่าฝนดาวตก
อย่าลืมมาดูฝนดาวตกด้วยกันนะ : )
แค่อยากจะรู้ว่าตรงที่เธอยืนนั้น
มีฝน (ดาว) ตกไหม
สบายดีไหม...
Website - https://spaceth.co/
Blockdit - https://blockdit.com/spaceth
Facebook - https://facebook.com/spaceth
Twitter - https://twitter.com/spacethnews
IG - https://instagram.com/spaceth.com
1p/halley 在 คุณถั่ว Facebook 的最讚貼文
อยากดูดาวกับทุกคนจังเลยค่ะ 😍
ฤดูกาลของฝนดาวตกก็มาถึงแล้ว ช่วงนี้พีคๆทั้งนั้นเลย ทุกคนเคยเห็นดาวตกหรือยังคะ ☺ เอ๋เคยเห็นดวงเดียวก็รู้สึกตายตาหลับแล้ว ธรรมชาติเป็นอะไรที่สวยงามจริงๆนะคะ
ตอนนั้นก็ดูที่กรุงเทพฯล่ะค่ะ เป็นดาวตก Geminids ตกอยู่บนหัว มุมเงย 90 เลยค่ะ วันนั้นท้องฟ้าเปิดด้วยพอดี เลยปีนขึ้นไปนอนดูบนหลังคาบ้าน... หูยย เต็มเลยค่ะ..ยุง!!
พรุ่งนี้ก็มีเช่นกัน~ มาดูกันไหมคะว่าจะเห็นหรือเปล่า 😚
ทางทิศตะวันออกนะคะ ถ้าเวลา 23.30 น. มุมเงยประมาณ 30 องศา แต่คิดว่าเวลานี้คนกรุงเทพไม่น่าเห็นค่ะ เพราะมุมอยู่ต่ำมาก5555 แต่ถ้าเป็นช่วง 01.30 น. จะขึ้นไปอยู่ตะวันออกมุมเงยประมาณ 60 องศา อาจจะเห็นได้ง่ายขึ้น (ถ้าเมฆฝนไม่บังและท้องฟ้าเปิด 😭😭😭 เค้าเศร้า~)
ถ้างงทิศทางก็ตามหาดาวสามดวงเรียงกันนะคะ [เข็มขัดนายพราน] แล้วศูนย์กลางดาวตกจะอยู่ประมาณเยื้องๆไปทางซ้าย
อยู่ประมาณตรงกลางของกลุ่มดาวนายพราน กลุ่มดาววัว กับกลุ่มดาวคนคู่~ อันนี้ถ้าอธิบายง่ายๆนะคะ ..เป็นยังไงคะ น่าสนใจใช่ไหมล่ะะะ 💖🌌😋 เดี๋ยวเรามาลองดูด้วยกันนะคะ!
แต่ถ้าพลาด Orionids ไป ยังมี Leonids กับ Geminids ในเดือนต่อๆไปอีกค่ะ อันนั้นน่าจะเห็นง่ายขึ้นด้วยล่ะ แล้วเดี๋ยวใกล้ๆจะมาบอกอีกทีนะคะ
ถ้าเห็นล่ะก็จะลองอธิษฐานดูแหละค่ะ 😳 จะลองขอว่า "ขอให้ทุกคนรัก Sweat16! แล้วก็ไม่ทิ้ง Sweat16! ไปไหน อยู่ด้วยกันตลอดไป~" จะได้ไหมนะ? ...แต่ถึงไม่เห็นก็ไม่เป็นไย 😚 เคยบอกไปแล้วว่า Sweat16! จะทำให้ทุกคนรักให้ได้เล้ยยย
#วาสนาเป็นคนโรแมนติก
#AesStory #Sweat16! #AeSweat16!
ลุ้นชม #ฝนดาวตกโอไรโอนิดส์ 21 ตุลาคม นี้
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เผย 21 ตุลาคมนี้ มีปรากฏการณ์ฝนดาวตกโอไรโอนิดส์ อัตราการตกสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 20 ดวงต่อชั่วโมง สังเกตได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 23.00 น. เป็นต้นไป ทางทิศตะวันออก คืนดังกล่าวดวงจันทร์ขึ้น 1 ค่ำ ไม่มีแสงจันทร์รบกวน เหมาะแก่การสังเกตการณ์ฝนดาวตกเป็นอย่างมาก แนะจุดชมให้อยู่ในที่มืดสนิทและห่างจากเมือง หากปลอดฝนชมด้วยตาเปล่าได้ทั่วประเทศ
ฝนดาวตกโอไรโอนิดส์ หรือ ฝนดาวตกกลุ่มดาวนายพราน เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 2 ตุลาคม - 7 พฤศจิกายน ของทุกปี สำหรับปีนี้ มีอัตราการตกสูงสุดในวันที่ 21 ตุลาคม 2560 คาดการณ์ว่าจะมีอัตราการตกสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 20 ดวงต่อชั่วโมง มีศูนย์กลางการกระจายอยู่บริเวณแขนของกลุ่มดาวนายพราน ทางทิศตะวันออก สังเกตได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 23.00 น. เป็นต้นไป ในคืนดังกล่าวตรงกับดวงจันทร์ข้างขึ้น 1 ค่ำ เป็นคืนที่ท้องฟ้ามืดปราศจากแสงจันทร์รบกวน เหมาะแก่การสังเกตฝนดาวตกเป็นอย่างยิ่ง
วิธีการสังเกตฝนดาวตกที่ดีที่สุด คือ มองด้วยตาเปล่า ในทิศทางการกระจายตัวของฝนดาวตก เลือกสถานที่ที่ห่างจากแสงเมืองให้มากที่สุดจะทำให้เห็นดาวตกได้ชัดเจนยิ่งขึ้น หากฟ้าใสไร้ฝนสามารถชมด้วยตาเปล่าได้ทั่วประเทศ และหากพลาดชมฝนดาวตกครั้งนี้ สามารถติดตามชมฝนดาวตกลีโอนิดส์ ในคืนวันที่ 17 พฤศจิกายน 2560 ได้อีกเช่นกัน
ฝนดาวตกโอไรโอนิดส์ เกิดจากโลกเคลื่อนที่ตัดผ่านเส้นทางการโคจรของดาวหางฮัลเลย์ (1P/Halley) ที่หลงเหลือเศษฝุ่นและวัตถุขนาดเล็กจำนวนมากทิ้งไว้ในวงโคจรขณะเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์เมื่อปี 2529 แรงโน้มถ่วงของโลกจึงดึงดูดเศษฝุ่นและวัตถุดังกล่าวเข้ามาเสียดสีกับชั้นบรรยากาศโลก เกิดการลุกไหม้ เห็นเป็นแสงวาบคล้ายลูกไฟพุ่งกระจายตัวออกมาบริเวณกลุ่มดาวนายพราน มีสีเหลืองและเขียว สวยงามพาดผ่านท้องฟ้า
ภาพจำลองศูนย์กลางการกระจายของฝนดาวตกโอไรออนิดส์ และตำแหน่งของกลุ่มดาวนายพราน คืนวันที่ 21 ตุลาคม 2560 เวลา 23:00 น. จากโปรแกรม stellarium
1p/halley 在 香港愛玩生 - iplayhk.com Facebook 的精選貼文
【#約好人未呢 #哈雷彗星來了🌟】
觀測條件:良好😍
#獵戶座流星雨 ☄☄☄ 的活躍期由10月2日至11月7日。
據預測,流星雨將會於10月21日(星期六)晚上10時30分開始,至凌晨達到極大值 (每小時可達20顆)😱😱😱!!!
不過,究竟點先影得到呢?
愛玩小編Foster👦🏻 介紹大家睇睇,由攝影達人 阿零 (快啲Like埋佢個Page 👍🏼),由淺入深,幾分鐘時間,總結一下影星星嘅技巧!好過慢慢網上爬文👀 呀!
獵戶座流星雨☄因為它的母彗星哈雷彗星(1P/Halley)而為人所熟識。哈雷彗星是人類第一個確認周期的彗星。
🔺 睇星影星小技巧:https://www.iplayhk.com/?p=4920
🔺 邊露營。邊觀星地點: https://goo.gl/sWe6Ao
#無錯無睇錯 #影片中嘅唔係Foster